เตือน!! แฮ็กเกอร์ใช้ AI สร้างวิดีโอน่าเชื่อถือ หลอกล่อเหยื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พ่วงมัลแวร์

Loading

  แฮ็กเกอร์ใช้วิธีการใหม่ในการหลอกล่อเหยื่อ ด้วยการใช้ AI สร้างวิดีโอเพิ่มความน่าเชื่อถือ   ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างคอนเทนต์ให้เราได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบทความ, การสร้างภาพงานศิลป์ กระทั่งการสร้างวิดีโอให้ดูสมจริง ทว่า นี่กลับกลายเป็นช่องทางให้แฮ็กเกอร์สามารถหลอกลวงเหยื่อได้แนบเนียนขึ้นกว่าเดิม!!   การโจมตีบนยูทูบเพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน   CloudSEK บริษัทด้าน AI คาดการณ์ว่า ในแต่ละเดือนจะพบการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ (YouTube) เพิ่มขึ้น 200-300% ซึ่งการโจมตีจะอยู่ในรูปแบบการฝังโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ลงในลิงก์ที่มากับวิดีโอ โดยมัลแวร์เหล่านี้จะมีความสามารถในการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเหยื่อได้ เช่น ไวดาร์ (Vidar), เรดไลน์ (RedLine) และแรคคูน (Raccoon)     หลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลด “มัลแวร์”   สำหรับวิธีการที่แฮ็กเกอร์ใช้หลอกล่อเหยื่อ ให้เข้ามาดาวน์โหลดมัลแวร์จากลิงก์ที่อยู่ในส่วนขยายความ (Description) ของยูทูบ คือ การสร้างวิดีโอที่น่าเชื่อถือโดยมีผู้บรรยายประกอบ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะอาศัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสร้างวิดีโอเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ แพลตฟอร์มซินธิเซีย (Synthesia) และ ดี-ไอดี…

ช็อก!! ชาวซิกข์ประท้วงเดือดบุกดึง “ธงชาติอินเดีย” ลงจากเฉลียงสถานทูตอินเดียในลอนดอน “โมดี” ตัดอินเทอร์เน็ต 27 ล้านคนวันที่ 4 ไล่ล่าแบ่งแยกดินแดนปัญจาบ

Loading

  เอเจนซีส์/เอพี/MGRออนไลน์ – กลุ่มประท้วงชาวซิกข์ในขบวนการ Khalistan (Khalistan) เปิดฉากประท้วงคู่ขนานทั้งที่สถานทูตอินเดียประจำกรุงลอนดอน และสถานกงสุลใหญ่อินเดียในเมืองซานฟรานซิสโก วันอาทิตย์ (19 มี.ค.) ภาพเผยแพร่ว่อนธงเหลืองขบวนการคาลิสถานแบ่งแยกดินแดนเผยแพร่ไปทั่ว ก่อนผู้ประท้วงใจกล้าบุกขึ้นเฉลียงชั้น 1 สถานทูตในอังกฤษ ก่อนปลดธงชาติ 3 สีอินเดียออก ระหว่างที่รัฐบาลนิวเดลีสั่งตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 27 ล้านคน เพื่อให้ตำรวจปัญจาบตามไล่ล่าบุคคลสำคัญกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวซิกข์   เอพีรายงานวานนี้ (20 มี.ค.) ว่า ตำรวจอังกฤษและตำรวจเมืองซานฟรานซิสโก แถลงตรงกันในวันจันทร์ (20) ว่า หน้าต่างของสถานทูตอินเดียประจำกรุงลอนดอน และหน้าต่างของสถานกงสุลใหญ่อินเดียประจำเมืองซานฟรานซิสโก ได้รับความเสียหายจากการประท้วงกลุ่มผู้สนับสนุนขบวนการคาลิสถาน (Khalistan) ซึ่งแบ่งแยกดินแดนชาวชาวซิกข์   ภาพที่เผยแพร่ไปทั่วโลกโซเชียลมีเดียอย่างสุดระทึกที่ด้านหน้าสถานทูตอินเดีย ในกรุงลอนดอน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ (19) แสดงให้เห็นผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งมาพร้อมธงสีเหลืองอันเป็นธงสัญลักษณ์ของขบวนการ พร้อมกับมีชายคนหนึ่งโพกผ้าสีเหลืองปีนขึ้นเฉลียงชั้น 1 ของอาคารสถานทูตกำลังปลดธงชาติ 3 สีของอินเดียลงท่ามกลางเสียงตะโกนเชียร์อย่างกึกก้อง อ้างอิงจากสื่อดิอินดีเพนเดนต์ของอังกฤษ   ตำรวจนครบาลอังกฤษ MET แถลงว่า มีชายคนหนึ่งถูกจับกุมในบ่ายวันอาทิตย์ (19) หลังก่อความไม่สงบอย่างรุนแรงด้านนอกสถานทูตอินเดีย…

ไทยผลักดันเร่งด่วน ต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ 1 ใน 9 วาระสำคัญ ประชุม รมต.อาเซียนด้านดิจิทัล ชูผลดี สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ร่วมมือ

Loading

    รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เผยผลประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 ไทยผลักดันเร่งด่วน ต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ ชู สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ร่วมมือสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เศรษฐกิจดิจิทัล และพัฒนาเมืองอัจฉริยะ   วันนี้ (21 มี.ค.) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Digital Ministers’ Meeting : ADGMIN ครั้งที่ 3) และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เกาะโบราไคย์ ฟิลิปปินส์ โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีและผู้ที่ได้รับมอบหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ร่วมกับประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้…

เตือนภัย! ทิ้งรอยเท้าไว้ในโลกดิจิทัล

Loading

    วันที่ 21 มี.ค.66 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | Anti-Fake News Center Thailand แจ้งว่า ระวังให้ดี! สื่อออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว   สิ่งที่เราทำลงไปในโลกดิจิทัล เช่น การโพสต์ การแชร์ การแสดงความคิดเห็น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในประวัติข้อมูลของเรา เปรียบเสมือนเป็นการฝากรอยเท้าไว้ในโลกดิจิทัล เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่าไม่ใช่คนดัง ไม่ใช่ดาราแล้วจะไม่มีใครสนใจ อาจเดือดร้อนได้จากสื่อออนไลน์   รอยเท้าดิจิทัล คือ การโพสต์ แชร์ แสดงความคิดเห็น เช็คอิน ข้อมูลส่วนตัว เลขบัตรต่างๆ เบอร์โทร, ภาพถ่าย ความสัมพันธ์กับผู้คน   อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากรอยเท้าดิจิทัล ถูกปลอมสำเนาการเงิน เอกสารราชการ บัตรประชาชน เสียภาพพจน์ ถูกปลอมบัญชีโซเชียลมีเดียต่างๆ   วิธีจัดการ ลบประวัติการค้นหาและการเข้าถึง ตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา อย่าคลิกลิงก์ที่ไม่น่าไว้ใจ ไม่แชร์ข้อมูลที่ไม่จำเป็น ตรวจสอบบัญชีเชื่อมโยง      …

เรียกร้องตรวจผลกระทบจากซีเซียมให้ชัด

Loading

    กรุงเทพฯ 21 มี.ค. – องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ออกแถลงการณ์กรณีซีเซียม-137 สูญหาย ซัดเจ้าของโรงไฟฟ้าไม่รัดกุม ปกปิดข้อมูล ละเมิดกฎหมาย จี้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ตรวจการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมให้ชัด แนะสรุปบทเรียนป้องกันเหตุซ้ำรอย   มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand) ออกแถลงการณ์กรณีซีเซียม-137 สูญหายว่า จากกรณีที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีได้รับแจ้งเหตุกรณีวัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” สูญหายจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 304 อ.ศรีมหาโพธิ จ. ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 และต่อมาอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมประเมินว่า วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ดังกล่าวถูกหลอมไปหมดแล้ว หลังตรวจพบระดับรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นเหล็ก (หรือมักเรียกกันว่าฝุ่นแดง) ซึ่งเป็นของเหลือใช้ (by-product) จากกระบวนการหลอมโลหะของโรงงานเค พี พี…

9 สัญญาณการเมืองไทย…อันตรายบนโลกไซเบอร์!

Loading

  ใกล้ยุบสภาและใกล้เลือกตั้งเข้ามาทุกที นับจากนี้ไปก็เหลืออีกไม่ถึง 60 วันก็จะต้องไปเข้าคูหาหย่อนบัตรกันแล้ว   “ทีมข่าวอิศรา” พาคุณผู้อ่านไปดูสถานการณ์การหาเสียงโดยใช้ “โซเชียลมีเดีย” ซึ่งปัจจุบันนักการเมืองและพรรคการเมืองใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการหาคะแนน   แต่โซเชียลมีเดีย หรือสื่อสังคมออนไลน์ หลายคนคงทราบดีว่าแม้จะมี “คุณอนันต์” แต่ก็มี “โทษมหันต์” ด้วยเช่นกัน จึงมีหลายเรื่องที่ประชาชนอย่างเราๆ ต้องรู้เท่าทัน   ที่สำคัญโลกโซเชียลฯ มีทั้งเรื่องจริง เรื่องเท็จ เรื่องสร้างภาพ สร้างกระแส ปะปนกันจนเละตุ้มเป๊ะ   และต้องไม่ลืมว่าโลกไซเบอร์นั้น ข่าวจริงเดินทางช้ากว่าข่าวเท็จถึง 6 เท่า จึงมีคนตกเป็นเหยื่อ เสียท่า มากกว่าคนที่รู้เท่ากัน   พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร เขียนบทความวิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ   @@ “จับสัญญาณแปลกๆ ในโลกโซเชียลฯ ก่อนเลือกตั้ง 2566”   ประเด็นแรก ผลจากการเสพข่าวการเมือง โดยเฉพาะผ่านทางโซเชียลฯ   -ผลการศึกษาของนักการสื่อสารพบว่า การเสพข่าวการเมืองมากเกินไป จะทำให้ความเชื่อว่ามนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง และไม่มีความจริงใจ…