Y2K คืออะไร มีอะไรเกิดขึ้นในวงการไอที

Loading

  แฟชั่น Y2K ย้อนกลับมาฮิตอีกครั้ง แต่ Y2K ไม่ใช่แค่ แฟชั่น แต่เป็นปัญหาที่ทำให้โลกเกือบแตกมาแล้ว    Y2K คืออะไร มีอะไรเกิดขึ้นในวงการไอที   Y2K คืออะไร Y2K ย่อมาจาก Year 2000 เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับจุดบกพร่องของการเก็บข้อมูลปีในคอมพิวเตอร์ เมื่อคอมพิวเตอร์ เก็บข้อมูลของปีด้วยเลข 2 หลักท้าย ทำให้เมื่อถึงเที่ยงคืนเข้าปีค.ศ. 2000 คอมพิวเตอร์ก็จะเก็บข้อมูลแค่ 00 จนไปซํ้ากับปีค.ศ. 1900 ผลที่ตามมาคือการประมวลผลผิดพลาดไปหมดตั้งแต่อุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ไปจนถึงระบบขนาดใหญ่อย่างธนาคาร องค์กร หน่วยราชการต่างๆ ดอกเบิ้ยคำนวณผิดพลาดเป็น 100ปี โรงไฟฟ้า เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เกิดความเสียหาย คอมพิวเตอร์หยุดทำงาน โลกกลายเป็นอัมพาต หรือที่แย่กว่านั้นคือ ระบบอาวุธผิดพลาดยิงออกไปจนทำให้โลกแตก   จุดเริ่มต้นของปัญหา Y2K ที่ยุในยุคนั้นเก็บข้อมูลปีเพียงแค่สองหลักก็เพราะว่าราคาของหน่วยความจำแพงมาก เลยปล่อยให้ปัญหานี้เป็นเรื่องของอนาคต แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ คอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่เก็บข้อมูลปีแค่สองหลักเหล่านี้ ยังใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรใหญ่ๆ และโปรแกรมที่ใช้เขียนก็เป็นโปรแกรมเก่าเช่น…

อินเดียอาจออกข้อบังคับใหม่ สมาร์ทโฟนต้องลบแอป Pre-installed ได้ทั้งหมด ป้องกันการสอดแนม

Loading

    สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวและเอกสารที่ตรวจสอบพบ เผยว่าทางการอินเดียมีแผนออกข้อบังคับกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ขายในประเทศ โดยต้องอนุญาตให้ผู้ใช้งานลบแอปพื้นฐานที่ติดตั้งมาได้ทุกแอป รวมทั้งระบบปฎิบัติการรุ่นใหม่ที่ออกอัปเดต ต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากทางการก่อน   รายงานบอกว่าเหตุผลที่ทางการอินเดียเตรียมออกข้อบังคับใหม่นี้ เพื่อป้องกันการสอดแนมข้อมูลผู้ใช้งาน ซึ่งมองว่าเป็นความมั่นคงระดับชาติ ทั้งนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อินเดียได้สั่งแบนแอปจากจีนเป็นจำนวนมาก โดยให้เหตุผลเรื่องความมั่นคง   ข้อกำหนดเรื่องการอนุญาตให้ลบแอปพื้นฐานได้ ย่อมกระทบกับผู้ผลิตหลายรายที่นิยมลงแอป pre-installed มาให้ก่อน เช่น Xiaomi, ซัมซุง และแอปเปิล ซึ่งในรายของแอปเปิลนั้น แอปบางตัวสามารถซ่อนแต่ไม่สามารถลบได้   ส่วนข้อกำหนดเรื่องการตรวจสอบระบบปฏิบัติการนั้น รายละเอียดเบื้องต้นจะมีหน่วยงานตัวแทนของรัฐบาลในการตรวจสอบ เมื่อมีการออกอัปเดตใหญ่แต่ละครั้ง ทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้งาน   ปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนในอินเดีย มี Xiaomi, vivo และ OPPO ครองส่วนแบ่งรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซัมซุงมีส่วนแบ่ง 20% และแอปเปิล 3%         ที่มา  Reuters         ——————————————————————————————————————————————…

ส่องอันดับ 10 ประเทศที่ใช้งบประมาณด้านอวกาศมากที่สุด

Loading

    ส่องงบอวกาศจาก 10 ประเทศ รัฐบาลของแต่ละประเทศใช้งบประมาณต่อปีเท่าไหร่ในการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการสำรวจอวกาศ   ในปี 2022 จำนวนเงินที่รัฐบาลจากทั่วโลกใช้จ่ายไปกับโครงการอวกาศสูงถึง 103 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท โดย 10 อันดับ ประเทศที่ใช้งบประมาณสำหรับพัฒนาโครงการด้านอวกาศมีดังนี้     1. ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณไป 61.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาท โดย 1 ในองค์กรที่ได้รับงบประมาณก้อนนี้ไปก็คือ องค์การนาซา (NASA)   2. ประเทศจีนใช้งบประมาณไป 11.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4 แสนล้านบาท โดย 1 ในองค์กรที่ได้รับงบประมาณก้อนนี้ไปก็คือ องค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CNSA)   3. ประเทศญี่ปุ่นใช้งบประมาณไป 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 แสน 7…

แรนซัมแวร์ ‘HardBit’ แฮ็กข้อมูลประกันเรียกเงินค่าไถ่

Loading

    วันนี้ผมขอพูดถึงแรนซัมแวร์ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า HardBit ซึ่งตอนนี้ได้รับการพัฒนาเป็นเวอร์ชัน 2.0 และเวอร์ชันนี้เองที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ใช้โน้มน้าวเหยื่อให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันทั้งหมด   เพื่อให้แฮ็กเกอร์สามารถจัดการกับข้อมูลและการกำหนดเงินค่าไถ่เพื่อช่วยให้บริษัทประกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามคำกล่าวอ้างของแฮ็กเกอร์   HardBit Ransomware เวอร์ชันแรกมีการเปิดตัวช่วงเดือนต.ค. 2565 ขณะที่เวอร์ชัน 2.0 ออกตามมาโดยใช้เวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้น โดยหลักการทำงานของ HardBit Ransomware จะมีความแตกต่างการแรนซัมแวร์ส่วนใหญ่ตรงที่จะไม่ใช่ฟีเจอร์ที่ทำให้ข้อมูลในไซต์รั่วไหล   ถึงแม้ว่าแฮ็กเกอร์จะขโมยข้อมูลของเหยื่อและขู่ว่าจะปล่อยข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีการจ่ายเงินค่าไถ่ก็ตาม นอกจากนี้ HardBit 2.0 ยังสามารถปรับเปลี่ยนการลงทะเบียนเพื่อปิดใช้งานการตรวจสอบพฤติกรรมแบบเรียลไทม์ของ Windows Defender กระบวนการในการสแกน และการป้องกันการเข้าถึงไฟล์ เป็นต้น   มัลแวร์ยังมีการกำหนดเป้าหมายทั้งหมด 86 กระบวนการที่จะทำให้ไฟล์ที่มีความละเอียดอ่อนนั้นมีความพร้อมและสามารถรองรับการเข้ารหัส โดยการเพิ่มโฟลเดอร์ “Startup” และลบสำเนา Volume Shadow เพื่อทำให้การกู้คืนข้อมูลยากขึ้น   โดยองค์ประกอบที่น่าสนใจเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารหัสคือ แทนที่จะเขียนข้อมูลที่เข้ารหัสเพื่อคัดลอกไฟล์และลบต้นฉบับเหมือนที่แรนซัมแวร์ตัวอื่นๆ แต่ HardBit 2.0 เลือกที่จะเปิดไฟล์และเขียนทับเนื้อหาด้วยข้อมูลที่เข้ารหัส วิธีการนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญกู้คืนไฟล์ต้นฉบับได้ยากมากขึ้น และทำให้การเข้ารหัสเร็วขึ้น   HardBit…

ท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 หายจากโรงไฟฟ้าไอน้ำ ชี้อันตรายต่อผู้สัมผัสถึงขั้นเนื้อเน่าใน 3 วัน

Loading

    ปราจีนบุรี – ผวจ.ปราจีนบุรี เตรียมแถลงกรณีท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 หายจากโรงไฟฟ้าไอน้ำ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด คาดถูกนำไปขายเป็นของเก่า ชี้อันตรายรุนแรงถึงขั้นผู้สัมผัสเนื้อเน่าภายใน 3 วัน ขณะบริษัทเจ้าของโรงงานตั้งรางวัล 5 หมื่นบาท ผู้แจ้งเบาะแสนำสู่การตามกลับคืน   จากกรณีที่มีกระแสข่าวท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ ซึ่งเป็นของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 1 ม.2 ถนนทางหลวง 3079 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งประกอบธุรกิจประเภทไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบการปรับอากาศ โดยให้บริการด้านการจ่ายไฟฟ้า ติดตั้งวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 (Cesium-137, Cs-137) ซึ่งวัสดุดังกล่าวมีลักษณะเป็นท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว…

ไต้หวันเปิดตัว “โดรนโจมตี” รุ่นใหม่ ถอดบทเรียนสงครามยูเครน

Loading

    ไต้หวันเปิดตัวโดรนโจมตี แบบติดระเบิดพลีชีพรุ่นแรกของพวกเขา เพื่อสร้างกำลังป้องกันตนเอง ท่ามกลางความตึงเครียดกับจีน   เมื่อวันอังคารที่ 14 มี.ค. 2566 สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จง-ซาน (NCSIST) เปิดตัวโดรนติดระเบิดพลีชีพ (loitering munition drone) รุ่นแรก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโดรน ‘Switchblade 300’ ของสหรัฐฯ ที่ยูเครนกำลังใช้ต่อต้านการรุกรานจากรัสเซีย ในขณะที่จีนพยายามสร้างแรงกดดันทางทหารต่อไต้หวันมากขึ้นเรื่อยๆ   NCSIST ระบุว่า โดรนของพวกเขาออกแบบมาให้มีขนาดเล็กพอที่จะสามารถบรรทุกระเบิดได้ และสามารถบินอยู่บนอากาศได้ 15 นาที “ด้วยความที่มันมีน้ำหนักเบาและเคลื่อนย้ายสะดวก มันจึงเหมือนกับลูกระเบิดที่บินได้” นาย ฉี หลี่-ปิน หัวหน้าแผนกวิจัยระบบการบินของ NCSIST กล่าว   “มันมีประสิทธิภาพในการโจมตีเป้าหมายที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของเรา” นายฉีกล่าวเสริม โดยย้ำว่าระยะบินสูงสุดของโดรนรุ่นนี้อยู่ที่ 10 กม. และว่าไต้หวันกำลังพัฒนาโดรนพลีชีพรุ่นถัดไป กับโดรนรุ่นที่สามารถโจมตีในระยะทางที่ไกลขึ้น   ทั้งนี้ ไต้หวันเป็นดินแดนปกครองตนเองที่จีนอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ และจะกลับมารวมเป็นหนึ่งอีกครั้งในสักวันหนึ่ง ซึ่งผู้นำจีนเคยลั่นวาจาว่า อาจใช้กำลังหากจำเป็น ทำให้ชาวไต้หวันกว่า…