ไม่ใช่แค่ขู่! รัสเซียประกาศแผนติดตั้ง “อาวุธนิวเคลียร์” ในเบลารุส

Loading

    ปูตินแถลง บรรลุข้อตกลงติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของเบลารุส เป็นการนำอาวุธนิวเคลียร์ไปใกล้ชาติยุโรปมากขึ้น   หนึ่งในสิ่งที่ทั่วโลกมีความกังวลที่สุดเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน คือเรื่องของ “การใช้อาวุธนิวเคลียร์” ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้สงครามครั้งนี้รุนแรงขึ้นจนอาจยกระดับกลายเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 3”   ตลอดปีที่ผ่านมา คำขู่เรื่องอาวุธนิวเคลียร์ของฝ่ายรัสเซียดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ทีเล่นทีจริง ไม่มีใครเดาใจผู้นำรัสเซียอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน ออกว่า ท้ายที่สุดแล้วเขาจะตัดสินใจใช้อาวุธร้ายแรงนี้ในการทำศึกหรือไม่     อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวานนี้ (25 มี.ค.) ปูตินได้ออกมาแถลงผ่านช่องโทรทัศน์ของรัฐว่า “รัสเซียได้บรรลุข้อตกลงในการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของเบลารุส”   ความเคลื่อนไหวนี้เท่ากับว่า รัสเซียได้นำคลังแสงนิวเคลียร์บางส่วนไปไว้ใกล้กับยูเครน และยุโรป   ปูตินอ้างว่า การตัดสินใจนี้ไม่นับเป็นการละเมิดข้อตกลงไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยมีลักษณะเหมือนกับข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับพันธมิตรหลายชาติในยุโรปที่อนุญาตให้สหรัฐฯ ไปตั้งฐานอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศเหล่านั้นได้   “เรื่องนี้ไม่มีอะไรผิดปกติ ประการแรก สหรัฐฯ ทำสิ่งนี้มานานหลายทศวรรษแล้ว พวกเขาติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของประเทศพันธมิตรมานานแล้ว” ปูตินกล่าว   มีการประเมินโดยศูนย์ควบคุมอาวุธและการไม่แพร่ขยายอาวุธว่า สหรัฐฯ มีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 100 ชิ้นจัดเก็บอยู่ในฐานทัพยุโรป 6 แห่งใน 5 ประเทศ…

หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์ หากพบแนบลิงก์ ระวังอาจเป็นมิจฉาชีพ

Loading

ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย   หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ธนาคารสามารถแยกได้ระหว่าง SMS ธนาคาร กับ SMS มิจฉาชีพแอบอ้างธนาคารได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการให้ธนาคารยกเลิกแนบลิงก์ทาง SMS และอีเมล ป้องกันสับสนระหว่างข้อความของธนาคาร และข้อความที่ส่งโดยมิจฉาชีพ   หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์   ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย ธ.กสิกรไทย         0-2888-8888   กด 001 ธ.กรุงไทย         0-2111-1111   กด 108 ธ.กรุงศรีอยุธยา        1572   กด 5 ธ.กรุงเทพ          1333 หรือ…

ตุลาการสหรัฐตัดสิน “อินเทอร์เน็ต อาร์ไคฟ์” ละเมิดลิขสิทธิ์

Loading

    เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผู้พิพากษาสหรัฐมีคำตัดสินว่า ห้องสมุดออนไลน์ที่ดำเนินการโดย “อินเทอร์เน็ต อาร์ไคฟ์” (ไอเอ) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ละเมิดลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์สหรัฐรายใหญ่ 4 ราย ด้วยการให้ยืมสำเนาหนังสือแบบดิจิทัลที่มาจากการสแกน   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ว่า คำตัดสินของนายจอห์น โคเอลต์ ผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางเขตแมนฮัตตัน มีต่อคดีที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นการตรวจสอบความสามารถของไอเอ ในการให้ยืมผลงานของนักเขียน และสำนักพิมพ์ที่ยังคงได้รับการคุ้มครอง จากกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ   ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไอเอทำการสแกนหนังสือหลายล้านเล่ม และให้ยืมสำเนาในรูปแบบดิจิทัลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งแม้หนังสือหลายเล่มจะเป็นสมบัติสาธารณะ แต่หนังสือราว 3.6 ล้านเล่ม ได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง     สำนักพิมพ์ของสหรัฐ 4 แห่ง ฟ้องร้องไอเอ เกี่ยวกับหนังสือ 127 เล่ม เมื่อปี 2563 หลังจากองค์การขยายการให้ยืมหนังสือในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 โดยยกเลิกการจำกัดจำนวนคนที่สามารถยืมหนังสือเล่มหนึ่งได้ในแต่ละครั้ง   ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา…

OpenAI ยอมรับบั๊กของ ChatGPT มีโอกาสเผยข้อมูลอีเมลและประวัติการชำระเงินของผู้ใช้งาน

Loading

    โอเพนเอไอ ผู้พัฒนา ChatGPT ออกมาเปิดเผยว่าบั๊กที่เกิดขึ้นบนแชตบอตยอดนิยมในช่วงต้นสัปดาห์ อาจมีการรั่วไหลของข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน ทั้งในส่วนบัตรเครดิต และอีเมล   ChatGPT เป็นแชตบอตที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวลานี้ โดยเป็นผลงานการพัฒนาของโอเพนเอไอ ก่อนที่จะออกโมเดลธุรกิจเพื่อหากำไรมากขึ้นด้วยการออกระบบสมาชิกที่มีชื่อว่า ChatGPT Plus เพียงแต่ในช่วงวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้ใช้งาน ChatGPT พบบั๊กระหว่างการใช้งาน โดยเป็นการแสดงรายการแชตของผู้ใช้งานรายอื่น   ด้วยเหตุดังนั้นจึงทำให้โอเพนเอไอ สั่งปิด ChatGPT ชั่วคราวเป็นเวลากว่า 10 ชั่วโมง จนกระทั่งในเช้าวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา โอเพนเอไอ ได้ออกมาชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น   จากการตรวจสอบ โอเพนเอไอ พบว่าบั๊กที่แสดงรายการแชตของผู้ใช้งานรายอื่น มีโอกาสที่จะเปิดเผยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิก ChatGPT Plus ราว 1.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประกอบไปด้วยชื่อ นามสกุล อีเมล และข้อมูลการชำระเงิน   แต่ในส่วนเลขบัตรเครดิต โอเพนเอไอ ยืนยันว่า เห็นเฉพาะเลข 4 หลักสุดท้ายเท่านั้น ไม่ได้เห็นเลขบัตรเครดิตทั้งหมด   ในเวลาเดียวกัน…

แท็กทีมแบน! ‘ฝรั่งเศส’ สั่งห้าม จนท.รัฐใช้ TikTok บนมือถือทำงาน

Loading

    รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศห้ามข้าราชการใช้แอปพลิเคชัน TikTok บนโทรศัพท์มือถือสำหรับทำงาน โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงทางไซเบอร์   สตานิสลาส เกรินี รัฐมนตรีกระทรวงข้าราชการของฝรั่งเศส ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า “เพื่อรับรองความมั่นคงทางไซเบอร์ของหน่วยงานรัฐและข้าราชการ รัฐบาลจึงตัดสินใจห้ามการใช้แอปพลิเคชันเพื่อสันทนาการต่างๆ เช่น TikTok บนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการทำงานของข้าราชการ”   เกรินี ย้ำว่า ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศหุ้นส่วนทั้งในยุโรปและนานาชาติต่างก็ใช้มาตรการจำกัด/แบนการดาวน์โหลดและติดตั้ง TikTok เนื่องจากแอปพลิเคชันเพื่อสันทนาการเหล่านี้มีระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลผู้ใช้ไม่มากพอที่จะใช้งานบนอุปกรณ์ของรัฐ   คำสั่งแบนนี้มีผลบังคับใช้ทันที และทางการฝรั่งเศสจะติดตามผลการปฏิบัติตามคำสั่งของข้าราชการด้วย   รัฐบาล และสถาบันต่างๆ ของตะวันตกเริ่มทยอยสั่งแบน TikTok กันในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น รัฐสภาอังกฤษ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเบลเยียม และรัฐสภานิวซีแลนด์ เป็นต้น   เมื่อปลายเดือน ก.พ. คณะกรรมาธิการยุโรปและคณะมนตรียุโรปซึ่งเป็น 2 องค์กรบริหารใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป (อียู) ก็ได้ประกาศห้ามเจ้าหน้าที่ใช้แอป TikTok โดยอ้างเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์เช่นกัน   หลายประเทศต่างแสดงความวิตกกังวลว่ารัฐบาลจีนอาจจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ TikTok เช่น สถานที่อยู่ หรือรายชื่อผู้ติดต่อผ่านทางฐานข้อมูลของ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่สัญชาติจีน…

ติ๊กต๊อก : ทำไมโลกตะวันตกมองว่าบริษัทไอทีจีนเป็นภัยต่อความมั่นคง

Loading

    สภาคองเกรสของสหรัฐฯ เพิ่งเสร็จสิ้นการไต่สวนอย่างเคร่งเครียดกับนายโชว ซื่อ ชิว ซีอีโอของติ๊กต๊อก (Tik Tok) แอปพลิเคชันดูวิดีโอยอดนิยม หลังเกิดความระแวงสงสัยเรื่องความปลอดภัยของสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มนี้ ซึ่งหลายประเทศกังวลว่าติ๊กต๊อกอาจมีสายสัมพันธ์ลับกับรัฐบาลจีน   ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯขู่ว่า หากติ๊กต๊อกไม่ยอมขายกิจการในสหรัฐฯ ให้กับทางการ หรือยังคงยืนกรานจะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัทแม่ที่จีนต่อไป รัฐบาลสหรัฐฯ จะออกคำสั่งแบนติ๊กต๊อก โดยห้ามชาวอเมริกันใช้งานแอปพลิเคชันนี้อย่างเด็ดขาด   ชาติตะวันตกหลายประเทศได้ดำเนินมาตรการสกัดกั้นบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน โดยนอกจากติ๊กต๊อกแล้วยังมีแอปพลิเคชันและสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจีนถูกสั่งแบนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเกรงว่าการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้ความลับสำคัญรั่วไหล จนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ   มีมาตรการอะไรบ้างที่จำกัดการใช้งานติ๊กต๊อก   ติ๊กต๊อกเป็นสื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและเผยแพร่คลิปวิดีโอสั้น ๆ โดยบริษัทแม่ของติ๊กต๊อกคือ “ไบต์แดนซ์” (ByteDance) บริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน   ติ๊กต๊อกเริ่มดำเนินกิจการในปี 2016 และได้กลายมาเป็นหนึ่งในสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมสามอันดับแรกของโลก โดยมีผู้ใช้งานถึงกว่า 1,000 ล้านคนต่อเดือน   อย่างไรก็ตาม ชาติตะวันตกและพันธมิตรหลายประเทศได้เริ่มจำกัดการใช้งานติ๊กต๊อกเมื่อไม่นานมานี้ โดยแคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ไต้หวัน สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ออกคำสั่งให้ลบแอปพลิเคชันดังกล่าวออกจากสมาร์ทโฟนของหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ…