“ราชกิจจาฯ” เผยแพร่ระเบียบ “สตช.” ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไป “รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ” ฉบับใหม่ กำหนดคุณสมบัติขรก.ตำรวจที่ไป”รักษาความปลอดภัย” ห้ามเบื้องบนล็อกสเปกตัวบุคคล
24 เมษายน 2566 “ราชกิจจาฯ” เผยแพร่ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ พ.ศ. ๒๕๖๖
ด้วยพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ มาตรา ๙๒ วรรคสอง บัญญัติการสั่งให้ ข้าราชการตำรวจไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญตามตำแหน่งที่ ก.ตร. กำหนด ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงต้องปรับปรุงมาตรการว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจ ไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ พ.ศ. ๒๕๖๖”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๖๐/๒๕๔๕ เรื่อง มาตรการว่าด้วย การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๕ บรรดาระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ หรือแนวทางปฏิบัติที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด เกี่ยวกับกำรสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติในส่วนที่กำหนดไว้แล้ว ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ” หมายถึง การกำหนดแนวทาง แผน และมาตรการต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักการและวิธีการรักษำความปลอดภัยบุคคลสำคัญของประเทศให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง การลดโอกาสในการเข้าทำร้ายของบุคคลต่างๆ และให้สามารถแก้ปัญหา ระงับเหตุ บรรเทาผลร้าย และอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเรื่องการถวายความปลอดภัยต่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งมีกฎหมายและระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว “บุคคลสำคัญ” หมายถึง บุคคลตามตำแหน่งที่ ก.ตร. กำหนด
ข้อ ๕ การร้องขอจะต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งบุคคลสำคัญผู้ร้องขอเป็นผู้ลงนามร้องขอมายัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติผ่านกองบัญชาการตำรวจสันติบาลตามแบบคำร้องขอท้ายระเบียบนี้ โดยคำร้องขอดังกล่าวจะระบุตัวข้าราชการตำรวจที่จะไปรักษาความปลอดภัยมิได้
ข้อ ๖ กรณีบุคคลสำคัญที่ดำรงตำแหน่งเกินกว่าหนึ่งตำแหน่งตามที่ ก.ตร. กำหนด สามารถร้องขอข้าราชการตำรวจไปรักษาความปลอดภัยได้เพียงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเท่านั้น
ข้อ ๗ ให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาลเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาจัดข้าราชการตำรวจ ที่จะไปปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ โดยคำนึงถึงความเหมำะสมในตำแหน่ง ความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติของข้าราชการตำรวจที่จะไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
โดยหาก คำร้องขอเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาลสอบถามไปยังหน่วยงานต้นสังกัด ของข้าราชการตำรวจที่ได้รับการพิจารณาให้ไปปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ว่ามีเหตุขัดข้องหรือไม่ อย่างไร พร้อมด้วยเหตุผล และข้าราชการตำรวจที่จะไปรักษาความปลอดภัย สมัครใจหรือไม่ แล้วให้หน่วยงำนต้นสังกัดแจ้งผลมายังกองบัญชาการตำรวจสันติบาลภายในสิบห้าวัน นับแต่ได้รับเรื่อง เพื่อประมวลเรื่องเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ ๘ ให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาลแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอให้แก่บุคคลสำคัญ ผู้ร้องขอทราบโดยเร็ว
ข้อ ๙ การพิจารณาจัดข้าราชการตำรวจไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) คุณสมบัติของข้าราชการตำรวจที่จะไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
(ก) ดำรงตำแหน่งไม่เกินรองสารวัตรหรือตำแหน่งเทียบเท่า
(ข) มีอายุยี่สิบห้าปีขึ้นไป แต่ไม่เกินสี่สิบห้าปี
(ค) เป็นผู้ที่สมัครใจจะไปปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
(ง) ไม่เป็นข้าราชการตำรวจที่สังกัดสถานีตำรวจ เว้นแต่จะมีข้าราชการตำรวจอื่น มาปฏิบัติหน้าที่แทนในสถานีตำรวจนั้น
(จ) ไม่เป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งครั้งแรกยังไม่ครบ สองปี
(ฉ) ไม่เป็นผู้ที่ปฏิบัติราชการในตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งยังไม่ครบกำหนดเวลา ตามเงื่อนไขท้ายคำสั่งบรรจุและแต่งตั้ง หรืออยู่ระหว่างการบรรจุให้ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ
(ช) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่ม – ลดในตัวเอง
(ซ) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในกลุ่มสายงานวิชาชีพเฉพาะ
(ฌ) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งห้ามไปปฏิบัติราชการในหน้าที่อื่นตามระเบียบหรือคำสั่ง ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด
(ญ) ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวน และไม่อยู่ระหว่างต้องหาคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๒) ข้าราชการตำรวจที่จะไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับ การรักษาความปลอดภัยบุคคลของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล หรือผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับ การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม หรือมีประสบการณ์ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม หรือผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการสืบสวน หรือมีประสบการณ์ในการสืบสวนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ในการรักษาความปลอดภัย
(๓) การสั่งให้ข้าราชการตำรวจที่ไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญนั้น ให้สั่งได้ครั้งละ ไม่เกินสองคน และระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี
ข้อ ๑๐ การสิ้นสุดระยะเวลาของข้าราชการตำรวจที่ไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ให้สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อบุคคลสำคัญผู้ร้องขอเสียชีวิต
(๒) ครบระยะเวลาในการอนุมัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๓) ถูกส่งตัวกลับ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรียกตัวกลับ
(๔) สถานภาพตำแหน่งของบุคคลสำคัญที่ร้องขอเปลี่ยนแปลงไปและไม่เป็นไปตำมระเบียบนี้
(๕) เมื่อสถานภาพตำแหน่งหรือสังกัดของข้าราชการตำรวจที่ไปปฏิบัติหน้าที่รักษำควำมปลอดภัย เปลี่ยนแปลงไป
(๖) ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๑๑ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญใกล้สิ้นสุดตามระยะเวลาที่กำหนดและผู้ร้องขอยังมีความจำเป็นต้องการให้มีการรักษาความปลอดภัยต่อ ให้ผู้ร้องขอนั้นเสนอเรื่อง ถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติผ่านกองบัญชาการรตำรวจสันติบำลก่อนครบกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า สามสิบวัน
ข้อ ๑๒ การสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ให้มีกำหนดระยะเวลา ตามข้อ ๙ (๓) ห้ามสั่งให้ไปรักษำความปลอดภัยเป็นครั้งคราวโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาแต่ละครั้ง อย่างชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการบังคับบัญชาของหน่วยงานต้นสังกัด และห้ามสั่งให้ข้าราชการตำรวจ ไปรักษาความปลอดภัยย้อนหลัง
ข้อ ๑๓ การปฏิบัติของข้าราชการตำรวจที่ไปรักษำความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ก่อนเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ให้หน่วยงานต้นสังกัด ส่งตัวข้าราชการตำรวจผู้นั้นเข้ารับการอบรมชี้แจงจากกองบัญชาการตำรวจสันติบำล เพื่อให้เข้าใจถึง หลักการและแนวทางการประสานงานด้านการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
(๒) ให้ประสานงานด้านการข่าวและรายงานความเคลื่อนไหวที่อาจเป็นภัยต่อบุคคลสำคัญ ที่ไปรักษาความปลอดภัยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ โดยผ่านกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
(๓) เมื่อการรักษาควสมปลอดภัยสิ้นสุดลงตามข้อ ๑๐ ให้ข้าราชการตำรวจที่ไปรักษำความปลอดภัย บุคคลสำคัญรายงานเหตุดังกล่าวไปยังหน่วยงานต้นสังกัดของตนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุสิ้นสุด เมื่อหน่วยงานต้นสังกัดได้รับรายงานเหตุแล้วให้มีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจนั้นกลับมาปฏิบัติหน้าที่ใน สำนักงานตำรวจแห่งชำติภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุสิ้นสุด
ทั้งนี้ กรณีตามข้อ ๑๐ (๒) ถึง (๖) ให้ข้าราชการตำรวจนั้นแจ้งเหตุดังกล่าวต่อบุคคลสำคัญทราบด้วย เมื่อหน่วยงานต้นสังกัดรับตัวไว้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ให้รายงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผ่านกองบัญชาการตำรวจสันติบาลทราบโดยเร็ว
ข้อ ๑๔ การปกครองบังคับบัญชาข้าราชการตำรวจที่ไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามระเบียบของทางราชการให้อยู่ในควำมรับผิดชอบของหน่วยงานต้นสังกัด
ข้อ ๑๕ กรณีข้าราชการตำรวจที่ไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ซึ่งคุณสมบัติหรือหลักเกณฑ์ ไม่เป็นไปตามระเบียบนี้และไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณำสั่งการเฉพาะราย
ข้อ ๑๖ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
คลิกอ่านฉบับเต็ม >>> ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ พ.ศ. ๒๕๖๖
——————————————————————————————————————————————
ที่มา : Nation Online / วันที่เผยแพร่ 24 เม.ย. 2566
Link : https://www.nationtv.tv/politic/378913025