เอกสารลับรั่ว: เมื่อมิตรและศัตรูของสหรัฐฯ ถูกสอดแนมกันถ้วนหน้า

Loading

  •  ทางการสหรัฐฯ เร่งดำเนินการสืบสวน กรณีการรั่วไหลของเอกสารลับระดับสูงด้านข่าวกรองและการทหาร ซึ่งถูกเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต โดยมีรายละเอียดในหลายประเด็น เช่น สงครามยูเครน, จีน, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งรวมถึงข้อมูลการป้องกันทางอากาศของยูเครน และข้อมูลหน่วยสืบราชการลับของอิสราเอล •  ทางการสหรัฐฯ พยายามตรวจสอบแหล่งที่มาในการรั่วไหลของเอกสารลับระดับสูงดังกล่าว โดยผู้เชี่ยวชาญแสดงความสงสัยว่า อาจเป็นฝีมือคนในสหรัฐฯ •  ขณะที่การสืบสวนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งผู้ดำเนินการตรวจสอบไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ที่กลุ่มสนับสนุนรัสเซีย อาจอยู่เบื้องหลังการรั่วไหล ซึ่งถูกมองว่า เป็นหนึ่งในการละเมิดความมั่นคงที่ร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่เอกสาร วิดีโอ และข้อมูลทางการทูตมากกว่า 700,000 รายการ ปรากฏบนเว็บไซต์วิกิลีกส์ ในปี 2556 เอกสารลับสุดยอดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่รั่วไหลทางออนไลน์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เปิดช่องให้เห็นว่า สหรัฐฯ สอดแนมพันธมิตรและศัตรูอย่างไร สร้างความเดือดดาลให้กับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่กลัวว่า การเปิดเผยดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อแหล่งข่าวที่มีความอ่อนไหว และกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สำคัญ   เอกสารบางฉบับที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระบุว่า เป็นของจริง เผยให้เห็นขอบเขตที่สหรัฐฯ สอดแนมชาติพันธมิตรสำคัญ ซึ่งรวมถึงเกาหลีใต้ อิสราเอล และยูเครน   คนอื่น ๆ เปิดเผยถึงระดับที่สหรัฐฯ…

บริษัทการเงินออสเตรเลียไม่จ่ายค่าไถ่ตามที่แฮ็กเกอร์ขู่

Loading

  ซิดนีย์ 11 เม.ย.- บริษัทการเงินในออสเตรเลียตัดสินใจไม่จ่ายค่าไถ่ให้แก่ผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์ หรือแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย   ละติจูด ไฟแนนเชียล (Latitude Financial) ซึ่งเป็นบริษัทปล่อยสินเชื่อและบัตรเครดิต เผยเมื่อเดือนมีนาคมว่า แฮ็กเกอร์ได้ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ประมาณ 14 ล้านราย และเมื่อไม่นานมานี้บริษัทได้รับคำขู่เรียกค่าไถ่จากกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีไซเบอร์ดังกล่าว แต่ไม่ให้ความสนใจตามที่รัฐบาลแนะนำ   บริษัทชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียในวันนี้ว่า จะไม่ให้รางวัลแก่พฤติกรรมของอาชญากร และไม่เชื่อว่าแฮ็กเกอร์จะคืนหรือทำลายข้อมูลที่ขโมยไปหากได้เงินค่าไถ่ การจ่ายค่าไถ่มีแต่จะส่งเสริมให้มีความพยายามขู่กรรโชกมากยิ่งขึ้น   ละติจูด ไฟแนนเชียลไม่ได้เปิดเผยข้อเรียกร้องของแฮ็กเกอร์ โดยเผยเพียงว่าข้อมูลที่ถูกขโมยประกอบด้วยใบขับขี่ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จำนวน 7 ล้าน 9 แสนราย หมายเลขหนังสือเดินทางจำนวน 53,000 เลขหมาย ข้อมูลย้อนไปถึงปี 2548 จำนวน 6 ล้าน 1 แสนรายซึ่งประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และวันเดือนปีเกิด   ด้านรัฐมนตรีมหาดไทยออสเตรเลียที่เคยประณามแฮ็กเกอร์ว่าเป็นอาชญากรชั้นต่ำกล่าวว่า การจ่ายค่าไถ่มีแต่จะส่งเสริมรูปแบบการทำธุรกิจด้วยการเรียกค่าไถ่ เพราะอาชญากรเหล่านี้มักกลับมาเรียกค่าไถ่เหยื่อซ้ำอีก ทั้งที่รับปากว่าจะยุติหลังจากได้เงินค่าไถ่แล้ว.       ————————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : …

FBI เตือนไม่ชาร์จโทรศัพท์มือถือของบริการฟรีสาธารณะสามารถทำให้ติดมัลแวร์

Loading

  ไม่กี่วันที่ผ่านมา FBI สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ ได้ออกมาเตือนผู้บริโภคไม่ให้ใช้บริการชาร์จโทรศัพท์มือถือฟรีสาธารณะ   ได้แก่ จุดให้บริการฟรีในสนามบิน โรงแรม หรือศูนย์การค้า เพราะมีผู้ไม่หวังดีสามารถจารกรรมข้อมูลผ่านพอร์ต USB ของที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือสาธารณะ หรือที่เรียกว่า Juice jacking ซึ่งจะนำมัลแวร์และซอฟต์แวร์เข้าไปฝังอยู่ในอุปกรณ์ของเราเพื่อส่องดูข้อมูลได้ พร้อมแนะนำให้พกพาที่ชาร์จและสาย USB ของตัวเองมาเสียบใช้งานกับเต้าเสียบไฟฟ้าแทน   Avoid using free charging stations in airports, hotels or shopping centers. Bad actors have figured out ways to use public USB ports to introduce malware and monitoring software onto devices. Carry your own charger…

รักษาความปลอดภัยอย่าวางใจ แฮ็กเกอร์ก็ชอบวันหยุด

Loading

  เมื่อถึงวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน มักเป็นช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้กับคนทำงาน เพราะจะได้พักผ่อนและวางภาระหน้าที่จากการงานลง มีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ   แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก “พวกเรา” ที่ตั้งตารอวันหยุดอยางมีความสุขกันแล้ว “มิจฉาชีพ” ก็ชอบวันหยุดเช่นกัน เห็นได้จากข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ในช่วงวันหยุดยาวที่เราหลายคนพักผ่อน มิจฉาชีพจะออกทำงาน เช่น โจรกรรมทรัพย์สิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีโครงการ “ฝากบ้านไว้กับตำรวจ” เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดเหตุ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน   ในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ก็เป็นเวลาทองของ “แฮ็กเกอร์” เช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) และ Federal Bureau of Investigation (FBI) ระบุตรงกันว่า ในอดีตแฮ็กเกอร์มักจะโจมตีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์และวันเสาร์ แต่ในปัจจุบันแฮกเกอร์จะเลือกโจมตีในช่วงวันหยุดยาวของเหยื่อในแต่ละประเทศ เช่น โจมตีเหยื่อในประเทศจีน ช่วงเทศกาลตรุษจีน โจมตีเหยื่อในประเทศญี่ปุ่น ช่วงเทศกาลโอบง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน…

‘หนองคาย’ เปิดศูนย์สมาร์ทเซฟตี้โซน ให้ความมั่นใจนักท่องเที่ยว

Loading

  ตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย จับมือ อบจ. และเทศบาลเมืองหนองคาย ผลักดันโครงการหนองคายสมาร์ท เซฟตี้โซน 4.0 นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ใช้ยกระดับการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว   เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ด้านหน้า สภ.เมืองหนองคาย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย พล.ต.ต.พุฒิพงศ์ มุสิกูล รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 พร้อมด้วย นายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย, นายยุทธนา ศรีตะบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย และนายวัชโร นวธาตรี รองนายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย ร่วมกันเปิดโครงการหนองคาย สมาร์ท เซฟตี้โซน 4.0 ซึ่งตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย สภ.เมืองหนองคาย ร่วมกับ อบจ.หนองคาย เทศบาลเมืองหนองคาย และภาคเอกชน ขับเคลื่อนโครงการนี้   โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เนื่องจากจังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดชายแดนที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก และเป็นเมืองท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ     สำหรับโครงการหนองคาย สมาร์ท เซฟตี้โซน 4.0…

“สกมช.” แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ก.ม. ไซเบอร์ฯ รับมือภัยคุกคามรุนแรงขึ้น

Loading

  แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 จำนวน 65 คน เตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า  สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) มีภารกิจที่สำคัญที่ต้องดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์   รวมทั้งปฏิบัติการ ประสานงาน สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือหน่วยงาน เพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเชิงปริมาณและความรุนแรง เหตุการณ์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้น และรูปแบบการโจมตียังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป   ซึ่งภัยคุกคามดังกล่าวอาจส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้ ดังนั้น การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในวันนี้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคาม ป้องกัน และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ อันจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนในวงกว้างได้   ด้าน พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า สกมช. ได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 จำนวน 65…