กลุ่ม G7 เรียกร้องให้มีมาตรฐานควบคุมความน่าเชื่อถือของ AI

Loading

    ผู้นำกลุ่มประเทศ (G7) เรียกร้องให้มีการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือของปัญญาประดิษฐ์ โดยชี้ว่ากติกาที่มีอยู่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน   เหล่าผู้นำจากแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เดินทางไปร่วมประชุมกันที่เมืองฮิโระชิมา ประเทศญี่ปุ่น   ในแถลงการณ์ร่วมของ G7 ชี้ว่ากฎเกณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลต้องสอดคล้องกับคุณค่าประชาธิปไตยที่ทุกประเทศมีร่วมกัน และชี้ว่าต้องมีการทำความเข้าใจโอกาสและความท้าทายของปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ (เช่น ChatGPT)   โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันให้มีการจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีในชื่อ Hiroshima AI Process เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ เช่น ประเด็นลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่ข่าวปลอม ภายในสิ้นปีนี้   นอกจากนี้ ผู้นำ G7 ยังเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศอย่าง องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย   เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน (Ursula von der Leyen) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปชี้ว่าต้องการให้ปัญญาประดิษฐ์มีความแม่นยำ ชื่อถือได้ ปลอดภัย…

ผู้พัฒนา ChatGPT เห็นด้วยกับวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่จะให้มีการกำกับดูแล AI

Loading

    แซม อัลต์แมน (Sam Altman) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI (ผู้พัฒนา ChatGPT) กล่าวกับสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาว่าเขาเห็นด้วยที่จะมีระบบใหม่เพื่อจัดการกับปัญญาประดิษฐ์   คำกล่าวนี้เคยขึ้นระหว่างที่อัลต์แมนเข้าให้การกับคณะอนุกรรมาธิการยุติธรรมด้านความเป็นส่วนตัวและเทคโนโลยีของวุฒิสภา ถือเป็นครั้งแรกที่เขาให้การในลักษณะนี้   เขาชี้ว่าจำเป็นต้องมีกรอบควบคุมเทคโนโลยีใหม่ทุกชนิด รวมทั้งบริษัทของเขาและภาคธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้   วุฒิสมาชิกจากทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันต่างเน้นย่ำว่าควรต้องมีมาตรการควบคุมปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันผลร้ายที่อาจเกิดขึ้นจากการนำไปใช้ในเชิงลบ เห็นตรงกันว่าปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพสูงและพัฒนาเร็วกว่าเทคโนโลยีอื่นมาก   ริชาร์ด บลูเมนทัล (Richard Blumenthal) ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรคเดโมแครตให้ความเห็นว่าต้องมีการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือสร้างข้อมูลเท็จ อย่างกรณีของการปลอมข่าวการยอมแพ้ของยูเครน   ที่ประชุมยอมรับความล้มเหลวในการกำกับดูแลโซเชียลมีเดีย จึงอยากจะแก้ตัวใหม่กับปัญญาประดิษฐ์ในครั้งนี้ก่อนจะสายเกินไป   ด้านจอช ฮาวลีย์ (Josh Hawley) อนุกรรมาธิการ ส.ว. จากพรรครีพับลิกันเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงบวกได้อย่างการพัฒนาสื่อ ผ่านการส่งเสริมการกระจายข้อมูล ในทางตรงกันข้ามก็สามารถนำไปใช้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งส่งผลร้ายตามมาได้เช่นกัน   บลูเมนทัลชมว่าคำพูดอัลต์แมนฟังดูจริงใจมากกว่าผู้บริหารของบริษัทอื่น ๆ “ราวฟ้ากับเหว” สะท้อนผ่านการพูดจริงทำจริง และการแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   ขณะที่ ดิก…

ผวาทั้งวงการ! รัสเซียจับกุม 3 นักวิจัยด้านขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ตั้งข้อหา ‘ทรยศชาติ’

Loading

    นักวิทยาศาสตร์รัสเซีย 3 คน ซึ่งมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกถูกตั้งข้อหาร้ายแรง และกำลังถูกสอบสวนข้อหาเป็นกบฏ (treason) ในความเคลื่อนไหวที่สร้างความตื่นตระหนกต่อประชาคมนักวิทยาศาสตร์แดนหมีขาว   ในจดหมายที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (15 พ.ค.) บรรดาเพื่อนร่วมงานของ อนาโตลี มัสลอฟ (Anatoly Maslov) อเล็กซานเดอร์ ชิเพิลยุค (Alexander Shiplyuk) และวาเลอรี ซเวกินเซฟ (Zveginstev) ต่างยืนยันในความบริสุทธิ์ของคนทั้งสาม และเตือนว่าการจับกุมพวกเขาอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อแวดวงวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย   “เรารู้จักพวกเขาดีว่าเป็นคนที่รักชาติบ้านเมือง และเป็นคนดีที่ไม่มีทางทำในสิ่งที่ทางการสงสัยพวกเขา” เนื้อความในจดหมายระบุ   ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ออกมาคุยโวว่ารัสเซียเป็นผู้นำโลกในด้านขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ซึ่งสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วเหนือเสียง 10 เท่า หรือ Mach 10 เพื่อหลบหลีกระบบป้องกันของฝ่ายศัตรู ทว่าเมื่อวันอังคาร (16) ยูเครนประกาศว่าพวกเขาสามารถยิงทำลายขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกของรัสเซียได้ถึง 6 ลูกภายในค่ำคืนเดียว แม้ว่าฝ่ายรัสเซียจะปฏิเสธก็ตาม   นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 คนนี้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติเป็นประจำตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเมื่อปี 2012…

นักวิจัยเตือน…แฮ็กเกอร์ใช้วิธีใหม่ GhostTouch เข้าควบคุมมือถือเหยื่อ พร้อมเผยรายชื่อรุ่นที่มีความเสี่ยงสูง

Loading

    นักวิจัยจากบริษัท NordVPN ออกมาเผยวิธีใหม่ที่เหล่าแฮ็กเกอร์จะเอามาใช้แฮ็กมือถือเหยื่อได้แบบเนียน ๆ เรียกว่า GhostTouch โดยวิธีการดังกล่าวเมื่อแฮ็กเกอร์เจาะระบบเข้าเครื่องไปแล้ว จะสามารถควบคุมมือถือเหยื่อได้จากระยะไกลโดยไม่ต้องแอบติดตั้ง Malware เข้าเครื่องก่อนเลย   ก่อนนี้เคยมีข่าวออกมาเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะโดนแฮ็กมือถือ หากไปเสียบสาย USB มั่ว ๆ หรือโดนสาย USB แบบพิเศษที่ดูดข้อมูลจากระยะไกลได้ แต่ล่าสุดทาง NordVPN ได้ออกมาแจ้งเตือนว่าตอนนี้แฮ็กเกอร์มีวิธีใหม่ที่จะเข้าควบคุมมือถือเหยื่อได้โดยไม่ต้องไปแตะต้องเครื่องเลย   วิธีดังกล่าวเรียกว่า GhostTouch โดยแฮ็กเกอร์จะใช้อุปกรณ์พิเศษปล่อยสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปที่มือถือของเหยื่อ และหากว่าคลื่นดังกล่าวส่งถึงตัวมือถือแล้วจะทำให้แฮ็กเกอร์เข้าควบคุมเครื่องนั้นได้ทันที และถ้าแฮ็กเกอร์แอบมองรหัส PIN หรือการปลดล็อคด้วย Pattern ต่าง ๆ เอาไว้ก่อนหน้า ก็จะสามารถปลดล็อคหน้าจอแล้วเข้าใช้งานได้เลย     ทีมนักวิจัยบอกว่าแม้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีระยะทำการที่สั้นมาก ๆ รัศมีประมาณ 4 ซม. แต่ก็นับว่ามากพอที่จะเข้าใกล้มือถือเหยื่อได้แล้ว เพราะอาจจะแค่แอบเอาอุปกรณ์ปล่อยคลื่นไปติดไว้ใต้โต๊ะ พอเหยื่อวางมือถือไว้บนโต๊ะก็โดนเล่นงานได้เลย หรืออาศัยจังหวะเหมาะ ๆ เดินเข้ามาประชิดตัวแล้วยิงคลื่นใส่มือถือในกระเป๋าแบบเนียน ๆ ก็โดนได้เหมือนกัน ซึ่งหากว่ายิงคลื่นเจาะระบบเครื่องได้ทีนึงแล้วก็เรียบร้อย เพราะหลังจากนั้นแฮ็กเกอร์จะควบคุมเครื่องเราผ่านเน็ตได้ทุกที่เลย  …

สหรัฐเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงเอเชีย-ไทย หวังสกัดอิทธิพลจีน

Loading

    นายลอยด์ เจ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐระบุว่า การของบประมาณสำหรับความริเริ่มในการป้องปรามแปซิฟิก (Pacific Deterrence Initiative : PDI) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 40% โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้างของกระทรวงกลาโหมสหรัฐในการขยายอิทธิพลแซงหน้าจีน   “เรากำลังมุ่งความสนใจไปยังการก้าวนำหน้าจีนตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐ” นายออสติน กล่าวต่อสมาชิกคณะกรรมาธิการงบประมาณวุฒิสภาเมื่อวันอังคาร ที่ 16 พ.ค. พร้อมระบุว่า “จีนเป็นคู่แข่งรายเดียวของเรา โดยจีนมีความตั้งใจ และมีศักยภาพที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในการเปลี่ยนระบบสากลเพื่อให้สอดคล้องกับความเผด็จการของตน”   นายออสติน ระบุว่า ขณะนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐกำลังทุ่มงบประมาณมากขึ้นในด้านตำแหน่งทางทหารในแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงงบประมาณ 9.1 พันล้านดอลลาร์สำหรับโครงการ PDI เพื่อเป็นการยับยั้งจีน   ขณะเดียวกัน นายออสติน ระบุว่า หลายประเทศในอินโด-แปซิฟิกมีความสนใจที่จะรักษาภูมิภาคให้มีการเปิดกว้างด้านการค้าเสรีเช่นเดียวกับสหรัฐ   นอกจากนี้ นายออสติน ระบุว่า สหรัฐได้พยายามเพิ่มการระดมกำลังสินทรัพย์ไปยังญี่ปุ่น เช่น การวางแผนที่จะจัดตั้งหน่วยนาวิกโยธินที่ 12 (12th Marine Littoral Regiment)…

Digital Footprint คืออะไร ทำไมคนรุ่นใหม่ต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์โซเชียล

Loading

    ดิจิทัลฟุตพริ้นท์ คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดความประพฤติของบุคคลที่กระทำบนโลกอินเทอร์เน็ต และผู้ใหญ่หลายคนถึงกับเตือนว่า “สิ่งที่เคยกระทำในอดีตจะส่งผลถึงปัจจุบัน” ดังนั้น คิดก่อนโพสต์   Digital Footprint (ดิจิทัลฟุตพริ้นท์) หรือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่จะเก็บประวัติทางพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการกรอกข้อมูลใส่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ การแชร์หรือแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถค้นหาได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างก็ค้นเจอบนโลกดิจิทัลแล้ว   นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องกังวลก็คือ ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน วัยทำงาน หรือเจ้าของกิจการก็ต้องรอบคอบเรื่องการโพสต์ข้อความใดๆ ก็ตามบนโซเชียลมีเดีย   มีข้อมูลจาก CareerBuilder ระบุว่า เรื่องดิจิทัลฟุตพริ้นท์เป็นหนึ่งในเหตุผลที่องค์กรจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพนักงานใหม่ในการเข้าทำงาน หากพนักงานคนนั้นมีพฤติกรรมการโพสต์ภาพ วิดีโอหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด เหยียดเพศ บูลลี่หรือแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองแบบรุนแรง เหยียดศาสนา เป็นต้น     เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่มีองค์กรกว่า 41.19% ให้ความเห็นพ้องตรงกับผลวิจัยว่า นำการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มาใช้ประกอบในการพิจารณาคุณสมบัติในการรับเข้าทำงาน  …