โปรตุเกสเป็นประเทศล่าสุดที่แบนอุปกรณ์ 5G ของ Huawei

Loading

  รัฐบาลโปรตุเกสได้ประกาศ ห้ามซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย 5G จากซัพพลายเออร์จากรัฐที่อยู่นอกสหภาพยุโรป (EU) ,ไม่ได้เป็นสมาชิกของ NATO หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยบริษัทที่นอกเหนือจากองค์กรเหล่านี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ความเสี่ยงสูง” ต่อความมั่นคงเครือข่ายระดับชาติ   ดังนั้นซัพพลายเออร์อุปกรณ์และบริการ 5G ของจีน อย่าง Huawei จึงถูกแบนเช่นกัน   ในช่วงปี 2019 บริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสอย่าง “Altice Portugal” จะเคยประกาศว่าร่วมกับ Huawei เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ก่อนที่ต้นปีที่ผ่านมาจะประกาศเลือก Nokia ให้เป็นผู้ให้บริการอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายหลัก 5G   อย่างไรก็ตามแถลงการณ์นี้ไม่ได้ระบุชื่อซัพพลายเออร์รายใดที่ถูกแบนและไม่ได้ระบุวันที่ที่บริษัทโทรคมนาคมในโปรตุเกสจะต้องถอดอุปกรณ์ของซัพพลายเออร์ที่ถูกแบน     ที่มา : ประกาศรัฐบาลโปรตุเกส via Bloomberg         ——————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

วิธีการและมาตรฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

Loading

  ในอดีตที่ผ่านมา กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีของประเทศไทยซึ่งมีอยู่มากมายหลายฉบับ ได้มีการกำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าว กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานอื่นของรัฐนำไปปฏิบัติอย่างมีมาตรฐานและมีความมั่นคงปลอดภัย อย่างไรก็ดี มาตรฐานเหล่านั้นโดยส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความซับซ้อนในทางเทคนิคสูง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติรวมถึงประชาชนทั่วไปประสบความยากลำบากในการทำความเข้าใจและไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องครบถ้วน   ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม นั้น นอกจากวัตถุประสงค์หลักในการรับรองผลทางกฎหมายของการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการรับรองผลทางกฎหมายของเอกสารหรือหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและใช้เป็นหลักฐานได้ตามกฎหมาย แล้ว กฎหมายดังกล่าวยังได้วางรากฐานและกรอบแนวทางเกี่ยวกับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และมาตรฐานทางเทคนิคของการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความประหยัดคุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ   โดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกัน เชื่อมโยงถึงกันได้ มีความมั่นคงปลอดภัย และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก และมาตรา 19 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสี่หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในการจัดทำและเสนอวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้หน่วยงานของรัฐใช้และถือปฏิบัติ โดยจะจัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไปก็ได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวต้องคำนึงถึงการเชื่อมโยงถึงกันโดยสามารถใช้อุปกรณ์และข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย   ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม…

‘อีวีทัล (eVTOL)’ อากาศยานไร้คนขับสมรรถนะสูงจาก สจล.

Loading

  ‘อีวีทัล (eVTOL)’ อากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวีพลังไฟฟ้า บินสำรวจพื้นที่ป่า 13 ล้านไร่ เตรียมเฟส 2 สำรวจชายฝั่งทะเลไทย ผลงานร่วมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ‘อีวีทัล (eVTOL)’ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ขึ้นลงแนวดิ่ง ใช้พลังงานไฟฟ้า มี 3 ขนาด (ขนาด 2.2, 2.5 และ 3.3 เมตร ) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อุบัติภัยไฟป่า-น้ำท่วม และปัญหาสิ่งแวดล้อม โดย เฟสที่ 1 บินนำร่องสำรวจทำแผนที่ทรัพยากรป่าไม้ของไทยให้อัพเดท 11 อุทยานแห่งชาติ 13 ล้านไร่ มีสมรรถนะสูง บินสำรวจได้นาน 3 ชั่วโมง น้ำหนักเบาและเงียบ   สจล.ส่งมอบ 14 ลำ แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายต่อวันถูกหลักพัน เมื่อเทียบกับใช้เฮลิคอปเตอร์หลักแสน ส่วนแผนงานเฟส 2…

เพื่อนบ้านระทึก! เกาหลีเหนือเตรียมปล่อย ‘ดาวเทียมสอดแนม’ ญี่ปุ่นสั่งกองทัพ ‘ยิงทำลาย’ ได้ทันทีหากคุกคามดินแดน

Loading

  ขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป Hwasong-18 ถูกยิงขึ้นจากสถานที่ซึ่งไม่ระบุ ตามภาพที่เผยแพร่โดยสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (KCNA) เมื่อวันที่ 16 พ.ค.   กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นมีคำสั่งให้กองทัพเตรียมพร้อมยิงทำลายขีปนาวุธเกาหลีเหนือซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อดินแดนของญี่ปุ่น หลังจากที่เปียงยางส่งหนังสือแจ้งเตือนว่า จะมีการปล่อยดาวเทียมสอดแนมทางทหารขึ้นสู่วงโคจรภายในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า   สื่อเอเอฟพีอ้างข้อมูลจากโฆษกยามฝั่งญี่ปุ่นซึ่งระบุว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือได้แจ้งเตือนมายังญี่ปุ่นว่ามีแผนจะปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจร ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-11 มิ.ย. พร้อมทั้งระบุพื้นที่เสี่ยงต่อการตกของเศษซากจรวดครอบคลุมทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และฝั่งตะวันออกของเกาะลูซอนในฟิลิปปินส์   ด้านสำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงผ่านทวิตเตอร์ว่า นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ “รวบรวมข่าวกรองเกี่ยวกับแผนการยิงขีปนาวุธทิ้งตัว (ballistic missile) ซึ่งเกาหลีเหนืออ้างว่าเป็นดาวเทียม”   คิชิดะ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า “ต่อให้เกาหลีเหนืออ้างว่าสิ่งที่จะยิงคือดาวเทียมก็ตาม แต่การใช้เทคโนโลยีขีปนาวุธทิ้งตัวก็ถือว่าเข้าข่ายละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ” และยังเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตประชาชนด้วย   ย้อนไปเมื่อปี 2012 และ 2016 เกาหลีเหนือได้ยิงทดสอบขีปนาวุธทิ้งตัวลอยข้ามผ่านจังหวัดโอกินาวาทางตอนใต้ของญี่ปุ่น โดยยกเรื่องการส่งดาวเทียมมาเป็นข้ออ้างเช่นกัน   คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือได้เดินทางไปเยี่ยมชมดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกของประเทศในเดือนนี้ พร้อมกับให้ “ไฟเขียว” สำหรับแผนปฏิบัติการปล่อยดาวเทียมซึ่งจะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า…

ระบบรักษาความปลอดภัยผู้นำของเยอรมนี ‘ล้มเหลว’

Loading

AFP   เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นในขบวนรถของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี เมื่อมีบุคคลแปลกหน้าขับรถตามขบวน และท้ายที่สุดชายคนนั้นก็ประชิดตัวและสวมกอดนายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ โดยไม่มีบอดีการ์ดคนไหนสามารถขวางไว้ได้ทัน ก่อนถูกเจ้าหน้าที่จับตัวพาออกไป   โฆษกของสำนักงานตำรวจอาชญากรรมแห่งสหพันธรัฐ (BKA) แถลงข่าวต่อสื่อภายหลังเหตุการณ์ว่า “ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ” ชายแปลกหน้าคนดังกล่าวถูกตำรวจกลางจับกุมตัวที่สนามบินแฟรงก์เฟิร์ตโดยปราศจากการขัดขืน   ตามรายงานข่าว เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีชอลซ์เสร็จภารกิจที่ธนาคารกลางยุโรปในวันพุธที่ผ่านมา และเดินทางพร้อมขบวนไปยังสนามบินแฟรงก์เฟิร์ต ปรากฏมีรถของชายแปลกหน้าขับตามขบวนไปด้วย และสามารถผ่านแผงกั้นรักษาความปลอดภัยของสนามบินพร้อมกับขบวนของนายกรัฐมนตรี และแม้ว่ารถคันดังกล่าวไม่มีป้ายทะเบียนก็ตาม   ขณะที่นายกรัฐมนตรีก้าวลงจากรถลีมูซีนบริเวรด้านหน้าอาคารสนามบิน ชายแปลกหน้าคนนั้นก็รีบวิ่งเข้าไปหานายกรัฐมนตรี จับมือและสวมกอดเขา หนังสือพิมพ์เยอรมันรายงานว่าชอลซ์ปล่อยตัวตามสบาย ในช่วงเวลานั้นเองที่หน่วยรักษาความปลดภัยของ BKA และเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มผิดสังเกต จึงกรูกันเข้าไปจับกุมตัวชายแปลกหน้าไว้   หนังสือพิมพ์ Bild ของเยอรมนีอ้างคำพูดของคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีว่า “สำหรับโอลาฟ ชอลซ์แล้วมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร เขาแค่แปลกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น และเมื่อมองย้อนกลับไป นับว่าโชคดีที่ไม่มีเรื่องร้ายเกิดขึ้น” ฝ่ายทีมรักษาความปลอดภัย BKA ของนายกรัฐมนตรีชอลซ์ ยอมรับเป็นการภายในว่าสถานการณ์เช่นนี้ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีก   ความล้มเหลวด้านการรักษาความปลอดภัยผู้นำของเยอรมนี ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เมื่อครั้งอังเกลา แมร์เคลดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยเกิดเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันกับเธอเมื่อต้นปี 2022 ครั้งนั้นเธอแวะซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วถูกมือดีขโมยกระเป๋าสตางค์ของเธอ ทั้ง ๆ ที่เธออยู่ในความดูแลของหน่วยรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา…

ยูเครนรับเอี่ยวเหตุระเบิด “สะพานไครเมีย” ในปี 2022

Loading

  สำนักข่าวซินหัว รายงานเมื่อ 28 พ.ค. ว่า วันเสาร์ (27 พ.ค.) หน่วยงานความมั่นคงยูเครน (SSU) ยอมรับว่ามีการดำเนิน “มาตรการบางอย่าง” ที่เชื่อมโยงกับเหตุระเบิดบนสะพานไครเมียเมื่อเดือนตุลาคม 2022   วาซิล มาลุค หัวหน้าหน่วยงานฯ ระบุว่ายูเครนดำเนินมาตรการบางอย่างตามกฎหมายของประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีการทำสงคราม โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าสะพานไครเมียเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่ต้องตัดขาดจากฝ่ายศัตรู ทว่าขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะเปิดเผยรายละเอียดของ “ปฏิบัติการพิเศษ” ต่อสาธารณชน   อนึ่ง เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2022 เกิดเหตุระเบิดรุนแรงที่สะพานไครเมีย ความยาว 19 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยทางคู่ขนานสำหรับยานยนต์และรถไฟเหนือช่องแคบเคิร์ช โดยรถบรรทุกคันหนึ่งระเบิดบนสะพานฯ ทำให้ถังน้ำมันบนรถไฟ 7 ถัง ที่มุ่งหน้าสู่คาบสมุทรไครเมียเกิดไฟลุกไหม้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และสะพานพังทลายบางส่วน     (แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนเดินผ่านอาคารที่พังเสียหายในเมืองมารีอูปอล วันที่ 18 ก.พ. 2023)…