ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎหมายคัดกรองบุคคลที่เข้าถึงความลับทางเทคโนโลยีขั้นสูงก่อนการปฏิบัติงาน

Loading

    เว็บไซต์ Nikkei Asia รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการตรวจสอบภูมิหลังกับเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนที่เข้าถึงข้อมูลละเอียดอ่อนเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยก่อนการปฏิบัติงาน และเพื่อให้บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งประยุกต์ใช้งานได้ทั้งในเชิงพาณิชย์และด้านการทหาร (dual-use advanced technology) สามารถแข่งขันในระดับสากล และเข้าถึงข้อมูลลับที่แบ่งปันกันระหว่างญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ รวมถึงเข้าร่วมในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลต่างประเทศได้ เนื่องจากบางประเทศมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม G7 ที่ยังขาดมาตรการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว ทั้งนี้ ญี่ปุ่นตั้งเป้าออกกฎหมายเกี่ยวกับการคัดกรองบุคคลในปี 2567 โดยมีสหรัฐฯ และยุโรปเป็นต้นแบบ กฎหมายเดิมซึ่งออกในปี 2557 นั้น ใช้กับประเด็นที่เกี่ยวกับการป้องกัน การทูต การต่อต้าน การจารกรรม และการต่อต้านการก่อการร้าย แต่ยังคลุมเครือถึงประเด็นเทคโนโลยีของพลเรือน เช่น อวกาศ ไซเบอร์ และปัญญาประดิษฐ์         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

จีน-รัสเซียทำการลาดตระเวนทางอากาศเหนือทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนตะวันออก

Loading

  จีนและรัสเซียดำเนินการลาดตระเวนร่วมทางอากาศเหนือทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนตะวันออกเมื่อวันอังคาร ขณะที่เกาหลีใต้ท้วงว่าสองชาติบินเข้าใกล้เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ จึงส่งเครื่องบินรบเข้าประจำการเพื่อตอบโต้   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า รัฐบาลปักกิ่งและมอสโกดำเนินการลาดตระเวนทางอากาศร่วมครั้งที่ 6 ภายใต้แผนความร่วมมือทางทหารประจำปีระหว่างจีนและรัสเซีย ตามแถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมจีน   แถลงการณ์ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซ้อมดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นเหนือน่านน้ำที่มีพรมแดนติดกับญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี และไต้หวัน   ขณะที่กองทัพเกาหลีใต้กล่าวว่าเครื่องบินทหารของรัสเซีย 4 ลำและของจีน 4 ลำได้บินเข้าใกล้เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (เอดีไอซี-ADIZ) ในช่วงเที่ยงวันอังคาร   เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ คือพื้นที่ที่นอกเหนือจากน่านฟ้าดินแดน เป็นพื้นที่ทางอากาศเหนือเขตแดนทางบกและทางทะเลรวมถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเล หรือพื้นที่อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ถูกกำหนดขึ้นมาโดยแต่ละประเทศเพื่อสังเกตเและเฝ้าระวังอากาศยาน รวมถึงเข้าควบคุมอากาศยานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติ แต่การกำหนดเขตประเภทนี้ไม่ได้รับรองไว้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศใด ๆ   กองทัพเกาหลีใต้ระบุว่า ตรวจพบเครื่องบินไอพ่นของจีนและรัสเซียก่อนที่จะบินล้ำเข้าสู่เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ   “เราใช้เครื่องบินรบของกองทัพอากาศในการดำเนินการตามขั้นตอนทางยุทธวิธีเพื่อเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน” กองทัพเกาหลีใต้กล่าวเสริม พร้อมชี้แจงว่าท้ายที่สุดแล้วเครื่องบินไอพ่นต่างชาติ 8 ลำไม่ได้ละเมิดน่านฟ้าของประเทศแต่อย่างใด           —————————————————————————————————————————————— ที่มา : …

(ชมคลิป) เขื่อนใหญ่ในเคียร์ซอนแตกน้ำทะลักท่วมเมือง ยูเครน-รัสเซียต่างกล่าวหากันเป็นตัวการระเบิดทำลาย

Loading

    เขื่อนโนวาคาคอฟกา ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ในแคว้นเคียร์ซอนทางภาคใต้ยูเครนที่รัสเซียยึดครองอยู่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ส่งไปยังคาบสมุทรไครเมียและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหญ่ที่สุดในยุโรป ถูกระเบิดเสียหายยับเยินในวันอังคาร (6 มิ.ย.) ทำให้มวลน้ำมหาศาลทะลักเข้าท่วมเมืองที่อยู่ใกล้เคียง ตลอดจนพื้นที่ซึ่งอยู่ตอนล่างลงมา ประชาชนจำนวนมากต้องเร่งอพยพหลบภัย ทางด้านประมุขยูเครนกล่าวหารัสเซียเป็นผู้ระเบิดเขื่อนจากด้านใน ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมหมีขาวตอบโต้ว่าเคียฟคือตัวการก่อเหตุ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเคลื่อนย้ายกำลังทหารเพื่อปฏิบัติการเล่นงานกองกำลังรัสเซีย       เขื่อนโนวาคาคอฟกา มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับรัสเซีย โดยเป็นแหล่งน้ำหลักซึ่งจัดส่งน้ำให้แก่คาบสมุทรไครเมีย ตลอดจนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาโปริซเซีย ที่เวลานี้ต่างอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อนนี้ก็เป็นหนึ่งในลักษณะหลักทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคใต้ของยูเครน โดยมีความยาว 240 กิโลเมตร และกว้าง 23 กิโลเมตร   การระเบิดเขื่อนแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำดนิโปร ที่ปัจจุบันกลายเป็นเส้นแบ่งพื้นที่ยึดครองของกองกำลังมอสโกกับของฝ่ายเคียฟ ในบริเวณภาคใต้ของยูเครน ทำให้เกิดภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมครั้งใหม่ในจุดศูนย์กลางของเขตสงคราม และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่แนวรบ ขณะที่ยูเครนกำลังเตรียมพร้อมเปิดปฏิบัติการตอบโต้ครั้งใหญ่ที่รอคอยมานานเพื่อชิงดินแดนที่ถูกยึดไปคืนจากรัสเซีย   เขื่อนโนวาคาคอฟกาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียตั้งแต่ช่วงต้นของสงคราม แม้กองทัพยูเครนชิงดินแดนด้านเหนือของแม่น้ำดนิโปรได้ตั้งแต่ปีที่แล้วก็ตาม และต่างฝ่ายกล่าวหากันมาตลอดว่า อีกฝ่ายวางแผนทำลายเขื่อน   ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่เรียกประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติของยูเครน เพื่อหารือเกี่ยวกับ “อาชญากรรมสงคราม” ของรัสเซียครั้งนี้ โพสต์บนแอปเทเลแกรมเมื่อวันอังคารว่า การทำลายเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำคาคอฟกาของผู้ก่อการร้ายรัสเซีย ตอกย้ำว่า รัสเซียจำเป็นต้องถูกขับไล่พ้นจากดินแดนยูเครน   ผู้นำเคียฟอ้างว่า รัสเซียระเบิดโครงสร้างภายในเขื่อน…

เอฟบีไอผู้ทรยศ “โรเบิร์ต แฮนส์เซน” เสียชีวิตแล้วในเรือนจำ

Loading

    สื่อต่างประเทศรายงาน “โรเบิร์ต แฮนส์เซน” เอฟบีไอผู้เป็นสายลับให้กับโซเวียต-รัสเซีย เสียชีวิตแล้วในเรือนจำด้วยวัย 79 ปี   สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ (FBI) คือ หน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เป็นเป็นองค์การหลักของสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านการสืบข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม   แต่เคยคิดหรือไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้น? หากเจ้าหน้าที่เอฟบีไอซึ่งควรจะรักษาความมั่นคงของสหรัฐฯ กลับเป็นฝ่ายทรยศและนำข้อมูลภายในไปมอบให้กับศัตรูเสียเอง     เรากำลังพูดถึงเรื่องราวของ “โรเบิร์ต ฟิลิป แฮนส์เซน” อดีตเจ้าหน้าที่เอฟบีไอนำข้อมูลความลับของสหรัฐฯ ไปขายให้กับสหภาพโซเวียต แลกกับเงินสดและเพชรมูลค่ารวมกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นหนึ่งในคดีเกี่ยวข้องกับสายลับที่ฉาวโฉ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา   ล่าสุดมีรายงานว่า เอฟบีไอผู้ทรยศรายนี้ ได้เสียชีวิตแล้วในเรือนจำด้วยวัย 79 ปี   เรือนจำกลางในเมืองฟลอเรนซ์ รัฐโคโลราโด รายงานว่า “วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2023 เวลาประมาณ 06.55 น. ผู้ต้องขังโรเบิร์ต…

สรรพสามิต ยืนยันเหตุเพลิงไหม้ไม่กระทบเอกสารสำคัญ

Loading

    กรุงเทพฯ 6 มิ.ย.-สรรพสามิต ยืนยันเหตุเพลิงไหม้ไม่กระทบเอกสารสำคัญ หลังยกระดับสู่องค์กรดิจิทัล   นายเกรียงไกร พัฒนาภรณ์ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ชั้น 3 อาคารกรมสรรพสามิต เมื่อบ่ายวันที่ 5 มิถุนายน 2566 โดยมีการแชร์ข้อความกันในสื่อโซเชียลมีเดีย ในประเด็นว่ามีผู้ได้ยินเสียงระเบิด และไฟไหม้ในบริเวณห้องเก็บเอกสารลับ ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น   “นับเป็นข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง โดยในข้อเท็จจริงบริเวณที่เกิดเหตุเป็นห้องส่วนวางแผนและพัฒนาคุณภาพการบริหารงาน สำนักแผนภาษี ซึ่งรับผิดชอบงานด้านยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต เหตุการณ์ครั้งนี้ แม้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินทางราชการและเอกสารบางส่วน แต่ไม่สร้างความเสียหายด้านข้อมูล และไม่กระทบกับการดำเนินงานของกรมสรรพสามิต เนื่องจากได้มีการยกระดับการทำงานด้วยการบันทึกเอกสารทั้งหมดไว้ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลแล้ว” นายเกรียงไกร กล่าว   นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมสรรพสามิตได้ประกาศเดินหน้ายุทธศาสตร์พัฒนาองค์กรให้ทันสมัยและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการยกระดับสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) โดยการบูรณาการระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการเชื่อมโยงในส่วนของกระบวนการทำงาน ข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ระบบงานสารสนเทศ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เข้ากันอย่างไร้รอยต่อระหว่างโลกดิจิทัลและโลกแห่งความเป็นจริง และสร้างต้นแบบหน่วยงานบริการแบบไร้กระดาษ (Paperless) เพื่อจัดเก็บเอกสารราชการต่าง ๆ…

Web Store ก็มีมัลแวร์เหมือนกัน! Google ลบ Extensions อันตรายที่มีผู้ติดตั้งรวม 75 ล้านครั้งออกจาก Chrome แล้ว!

Loading

    ดูเหมือนว่าจะนอกจาก Play Store แล้ว Google ก็ต้องแก้ปัญหาซอฟต์แวร์อันตรายที่เกิดขึ้นบน Chrome Web Store เช่นเดียวกัน หลังล่าสุด Google ได้ลบ ส่วนขยาย (extensions) จำนวน 32 รายการ รวมจำนวนการติดตั้ง 75 ล้านครั้งออกจาก Web Store   การค้นพบซอฟต์แวร์อันตรายนี้เริ่มจาก รายงานของนักวิจัยความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่พบมัลแวร์ที่จะฝังโค๊ด JavaScript เข้าไปในทุกเว็บ โดยเขาอธิบายว่า โค๊ดดังกล่าวถูกออกแบบมาให้ทำงานหลังการติดตั้งส่วนขยายเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และจะทำให้ผู้ใช้พบกับโฆษณาที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ รวมถึงเข้าควบคุมหน้าค้นหาให้แสดงผลลิงก์สปอนเซอร์, ผลการค้นหาที่มีการจ่ายตังค์ และอาจเป็นลิงก์อันตราย เป็นต้น     ตัวอย่างส่วนขยายนั้น ได้แก่ Autoskip for Youtube ที่มีจำนวนผู้ติดตั้งกว่า 9 ล้านครั้ง, Soundboost ที่มียอดผู้ติดตั้งกว่า 6.9 ล้านครั้ง และ Crystal…