K-pop Deepfake การคุกคามทางเพศไอดอลเกาหลี อาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ

Loading

    ปัจจุบันการคุกคามไอดอลรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวนอกเหนือเวลางาน ตั้งแต่ไปรับ–ส่งศิลปินถึงสนามบิน จงใจซื้อตั๋วไฟล์ตบินเดียวกัน สะกดรอยตาม ไปจนถึงดักรอศิลปินที่หอพักของพวกเขา หรือแม้แต่การถ่ายรูปไอดอลในเชิงลามก เช่น การพยายามถ่ายใต้กระโปรง หรือการซูมเน้นเฉพาะส่วนบนเรือนร่างของศิลปิน แล้วนำมาเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าขึ้น การเคารพสิทธิส่วนบุคคลกลับถอยหลังลงอย่างไม่น่าเชื่อ และ ‘AI กลายเป็นเครื่องมือในการคุกคาม’   สนองตัณหาทางเพศด้วยการชมหนังโป๊ปลอมของไอดอลคนโปรด   K-pop Deepfake กลายเป็นสื่อโป๊ที่เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย หากค้นหาคำว่า ‘Kpop Deepfake’ ใน Google จะพบผลการค้นหาประมาณ 6.87 ล้านรายการ (ข้อมูลวันที่ 5 มิถุนายน 2023) มีทั้งเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อ K-pop Deepfake โดยเฉพาะ และเว็บไซต์ Porn อื่นๆ มีการจำแนก K-pop Deepfake เป็นหนึ่งในประเภทคอนเทนต์ลามก รวมถึงมีการจัดหมวดหมู่คลิปโป๊ปลอมของไอดอลหญิงแต่ละคน และจัดอันดับความนิยมในบางเว็บอีกด้วย   ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ‘Kpop Deepfake’ ถูกค้นหาอย่างต่อเนื่องใน Google…

Save พ่อแม่จากเฟกนิวส์ : ลูกหลานสื่อสารอย่างไร เมื่อผู้สูงวัยเชื่อกลุ่มไลน์มากกว่าข้อเท็จจริง

Loading

    ตั้งแต่อิลูมินาติ จนถึง CIA ตั้งฐานทัพในประเทศไทย หรือพระธาตุที่หน้าตาคล้ายซิลิก้าเจล จนถึงการดื่มปัสสาวะรักษาโรค – ข้อมูลข่าวสารมากมายที่แชร์กันผ่านกลุ่มไลน์ อาจยากที่จะแยกว่าอะไรจริงหรือไม่จริง ยิ่งหากเป็นข้อมูลที่มาจากเพื่อนสนิท หรือคนที่ไว้ใจ ก็อาจทำให้หลายคนหลงเชื่อ โดยไม่คิดตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม   โดยทั่วไป เรามักพบว่ากลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อของ ‘เฟกนิวส์’ โดยไม่ได้ตั้งใจ ก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ยิ่งหากว่าเฟกนิวส์ต่างๆ มาจากช่องทางที่ผู้สูงอายุติดตามเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าวที่โปรดปราน หรือกลุ่มเพื่อนสนิทวัยเก๋าที่ไว้ใจ ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ว่า ปู่ย่าตายายของเราจะเชื่อข้อมูลเหล่านั้น โดยไม่คิดหาเหตุผลโต้แย้ง   มีการศึกษาที่พบว่า ผู้สูงอายุมักตกเป็นเหยื่อของเฟกนิวส์ง่ายกว่าช่วงอายุอื่นๆ โดยการศึกษาพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มักแชร์บทความที่ไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ สูงกว่าคนที่อายุระหว่าง 18-29 ปี ถึง 7 เท่า   อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย ระบุว่าผู้สูงอายุที่มีการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้น มักแชร์ข้อมูลต่างๆ ออกไปด้วยความปรารถนาดี แต่ปัญหาคือ ก่อนแชร์ข้อมูลมักไม่ทันได้ตรวจสอบว่า ข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด เป็นข้อมูลที่มีความคิดเห็นเจือปน…