รัฐสภาสหรัฐฯ อาจไม่ต่ออายุ กม.สอดแนมต่างชาติ ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2566

Loading

    เว็บไซต์ Washington post รายงานเมื่อ 13 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภาของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาการต่ออายุมาตรา 702 ของกฎหมายการเฝ้าระวังข่าวกรองต่างประเทศ (the Foreign Intelligence Surveillance Act – FISA) ที่ให้อำนาจหน่วยงานความมั่นคงสอดแนมเป้าหมายชาวต่างชาติที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2566 ทั้งนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สนับสนุนการต่ออายุมาตรา 702 โดยให้ความเห็นว่าเพื่อปกป้องชาวอเมริกันจากการดักฟัง เนื่องจากพบว่าบางครั้งมีการรวบรวมข้อมูลการสื่อสารของชาวอเมริกันด้วย ทั้งยังไม่อาจรับประกันได้ว่าการสอดแนมจะทำให้งานข่าวกรองประสบความสำเร็จ และเสนอว่าควรปฏิรูปกฎหมายมาตรา 702 โดยเฉพาะในประเด็นการเข้าถึงข้อมูลชาวอเมริกันว่าควรต้องมีหมายค้นก่อนปฏิบัติการเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลโดยมิชอบ รวมถึงมีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพโดยรัฐสภาและศาล ซึ่งก่อนหน้านี้เอกสารของศาลได้เปิดเผยว่า สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) ใช้ฐานข้อมูลในทางที่ผิดมากกว่า 278,000 ครั้งในปี 2563 ถึงต้นปี 2564 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารเสนอให้มีการต่ออายุมาตราดังกล่าว โดยแย้งว่า มาตรา 702 ทำให้สามารถต่อสู้กับภัยคุกคาม เช่น การแพร่ระบาดของยาเฟนทานิล ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันเกือบ 100,000 คนต่อปี และระบุตัวแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในเหตุการณ์ Colonial…

สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…

ChatGPT ความเสี่ยงจาก การสร้างเนื้อหาที่ผิดพลาด

Loading

    ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม   ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเราจะเห็นความน่าทึ่งจากความสามารถของ ChatGPT ในการสร้างข้อมูล   แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ยังพบว่า ChatGPT อาจจินตนาการและสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาได้ด้วย จนเริ่มมีคำถามว่าเราควรจะอนุญาตให้มีการใช้ ChatGPT ในงานด้านต่างๆ เพียงใด และหากมีการนำมาใช้งานจำเป็นจะต้องระบุด้วยหรือไม่ว่าเนื้อหาถูกสร้างจาก ChatGPT   เหตุผลหลักที่ทำให้ ChatGPT สร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้นั้น เกิดจากการที่ ChatGPT ได้รับการเรียนรู้มาด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต ที่อาจประกอบไปด้วยข้อมูลทั้งที่ถูกต้อง และที่ไม่ถูกต้อง ซึ่ง ChatGPT ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่มันจะสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกมาในบางครั้งจากคลังความรู้ที่ผิดๆ บางส่วน   นอกจากนี้ ChatGPT ถูกฝึกอบรมมาจากข้อมูลถึงเมื่อเดือนกันยายน…

จะลอกอะไรขนาดนั้น! อดีตผู้บริหารซัมซุงโดนฟ้องฐาน “ขโมยข้อมูลภายใน” ช่วย “ปักกิ่ง” ตั้ง รง.ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในซีอาน “แบบลอกมาทั้งหลัง” จากพิมพ์เขียวให้เหมือนเป๊ะ

Loading

    เอเจนซีส์/เอพี – อดีตผู้บริหารของซัมซุงวานนี้ (12 มิ.ย.) ถูกอัยการเกาหลีใต้สั่งฟ้องดำเนินคดีฐานแอบขโมยความลับบริษัทเพื่อช่วยเหลือคู่แข่งในจีนตั้งโรงงานผลิตไมโครชิปที่ลอกเลียนแบบให้เหมือน 100% เพื่อตั้งขึ้นใหม่ในเมืองซีอานของจีน ส่งผลทำให้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ตกอยู่ในความเสี่ยง   CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (12 มิ.ย.) ว่า สำนักงานอัยการเขต Suwon ของเกาหลีใต้ในวันจันทร์ (12) กล่าวผ่านแถลงการณ์การส่งฟ้องอดีตผู้บริหารซัมซุงวัย 65 ปี นั้นกระทำความผิดในการขโมยความลับภายในออกไปเพื่อช่วยเหลือคู่แข่ง และเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมไมโครชิประดับโลก   ในคำแถลงฟ้องดำเนินคดีไม่มีการระบุชื่อผู้กระทำผิด โดยเป็นการกระทำผิดจากการแอบใช้ข้อมูลทางวิศวกรรมจากโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของบริษัทอย่างผิดกฎหมาย รวมไปถึงพิมพ์เขียวฟลอร์แพลนซึ่งอธิบายกระบวนการผลิตสำคัญที่เป็นหัวใจและภาพร่างการออกแบบ   อดีตผู้บริหารที่ถูกฟ้องพบว่าแอบใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ขโมยมาในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่เหมือนราวกับแกะ ตั้งอยู่ที่เมืองซีอาน ของจีน ห่างจากโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ซัมซุงไปแค่ 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น   เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า การขโมยความลับโรงงานซัมซุงนี้เป็นฝีมือของผู้กระทำผิดที่ทำงานให้บริษัทที่มีฐานอยู่ในจีน ซึ่งมูลค่าความเสียหายต่อบริษัทซัมซุงเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 300 พันล้านวอน (233 ล้านดอลลาร์) อัยการเกาหลีใต้กล่าว   รอยเตอร์กล่าวว่า ผู้กระทำผิดปฏิเสธไม่ได้กระทำความผิดใดๆ และผู้กระทำผิดขึ้นชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้มีประสบการณ์ยาวนานในด้านการผลิตไมโครชิปที่เกาหลีใต้มานานร่วม 28 ปี ตามคำฟ้องพบว่าเคยมีประวัติทำงานกับบริษัท A…

ทรัมป์ขึ้นศาลไมอามี ‘ไม่ยอมรับผิด’ กรณีเก็บเอกสารลับทางการ

Loading

    อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นปรากฎตัวต่อผู้พิพากษาศาลแขวงของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่นครไมอามี รัฐฟลอริดา ในช่วงบ่ายวันอังคาร และกล่าว “ไม่ยอมรับผิด” ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า เขาเก็บเอกสารชั้นความลับของทางการสหรัฐฯ หลายร้อยฉบับเอาไว้หลังจากพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว และขัดขวางความพยายามของเจ้าหน้าที่ที่ต้องการนำเอกสารเหล่านั้นกลับมา   เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์กลายเป็นประธานาธิบดีอเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ถูกคณะลูกขุนใหญ่สั่งฟ้อง 37 กระทง สืบเนื่องจากการเก็บเอกสารลับด้านความมั่นคงแห่งชาติเอาไว้ “อย่างจงใจ” ที่บ้านพักมาร์-อะ-ลาโก   ในวันอังคาร ทรัมป์เดินทางไปขึ้นศาลที่ไมอามีท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีผู้สนับสนุนทรัมป์หลายร้อยคนรอให้กำลังใจด้านหน้าศาล   ก่อนหน้านี้ ทรัมป์เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนตนเดินขบวนที่ไมอามี ก่อให้เกิดความกังวลว่าอาจลุกลามไปเป็นความรุนแรง แต่การพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างสงบโดยไม่มีเหตุรุนแรงใด ๆ     ทรัมป์ปรากฎตัวต่อผู้พิพากษาศาลแขวง โจนาธาน กู้ดแมน และทนายความของเขากล่าวไม่ยอมรับผิดต่อทุกข้อหาทั้ง 37 กระทง   ในสำนวนการฟ้องร้อง 49 หน้า ทรัมป์ถูกกล่าวหาว่าจงใจยึดครองเอกสารด้านความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ซุกซ่อนเอกสารของรัฐบาล และให้การบิดเบือนต่อเจ้าหน้าที่สืบสวนของรัฐบาลกลาง   สำนวนคำฟ้องชี้ว่า เอกสารที่ทรัมป์นำออกไปจากทำเนียบขาวตอนพ้นจากตำแหน่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่มีความลับสำคัญที่สุดของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ความเปราะบางของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรต่อการถูกโจมตี…

อังกฤษล็อกดาวน์เมืองนอตติงแฮม หลังเกิดเหตุฆาตกรรม 3 ศพ

Loading

  มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย และได้รับบาดเจ็บอีก 3 คน ในเมืองนอตติงแฮมของสหราชอาณาจักร ซึ่งเจ้าหน้าที่จับผู้ต้องสงสัยได้อย่างน้อย 1 คน และเชื่อว่า เหตุการณ์ทั้งหมด “เกี่ยวข้องกัน”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ว่าสำนักงานตำรวจเมืองนอตติงแฮม ทางตอนกลางของเกาะอังกฤษ รายงานการจับกุมชายวัย 31 ปี ต้องสงสัยมีความเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม 2 เหตุการณ์ แบ่งเป็นเหตุการณ์แรก ซึ่งมีผู้พบศพสองศพ บนถนนอิลค์สตัน เมื่อช่วงรุ่งสางของวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น และต่อจากนั้นไม่นาน มีการพบศพบนถนนมักดานา     ขณะเดียวกัน พนักงานสอบสวนเชื่อว่า ผู้ต้องสงสัยอาจมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์คนร้ายขับรถตู้ชนประชาชนได้รับบาดเจ็บ 3 คน และเหตุการณ์ทั้งสามเหตุการณ์ น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันทางใดทางหนึ่ง     หลังเกิดเหตุ เทศบาลและสำนักงานตำรวจเมืองนอตติงแฮม สั่งปิดถนนและชุมชนหลายแห่ง ตลอดจนระงับให้บริการระบบขนส่งสาธารณะหลายเส้นทาง โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัย และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่   “I just managed…