เปิดสาเหตุรัฐบาลสหรัฐฯโดน ‘มิจฉาชีพ’ ต้มในโครงการบรรเทาทุกข์โควิด-19

Loading

In this April 23, 2020, file photo, President Donald Trump’s name is seen on a stimulus check issued by the IRS to help combat the adverse economic effects of the COVID-19 outbreak, in San Antonio. President Donald Trump, Treasury Secretary Steven…   ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 รัฐบาลอเมริกันอัดฉีดความช่วยเหลือมูลค่าหลายล้าน ๆ ดอลลาร์ สู่ประชาชน อย่างไรก็ตามเงินจำนวนมากถูกแอบอ้างนำไปใช้โดยมิจฉาชีพ   สำนักข่าวเอพีออกรายงานเชิงวิเคราะห์ที่ประเมินว่า รัฐบาลอเมริกันอาจโดนต้มโดยนักฉวยโอกาส เป็นเงินกว่า 2 เเสน 8…

พบคนไทยตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ เสียหายกว่า 40,000 ล้านบาท

Loading

  ตำรวจไซเบอร์ เปิดสถิติหลอกลวงทางออนไลน์ ในรอบ 1 ปี พบยอดแจ้งความเฉียด 3 แสนคดี มูลค่าเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท ชี้คดีหลอกขายสินค้าสูงที่สุด ตามด้วยหลอกให้โอนเงิน ด้าน เอไอเอส เปิดตัว ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล พบคนไทยมีความรู้ด้านดิจิทัล แค่พื้นฐาน พบว่า มีกว่า 44% ต้องมีการพัฒนาทักษะให้เท่าทันโลกดิจิทัล   16 มิ.ย. 2566 – พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบช.สอท.) เปิดเผยสถิติการหลอกลวงทางออนไลน์ ผ่านระบบแจ้งความออนไลน์บน www.thaipoliceonline.com ยอดสะสม 1 มี.ค. 65 – 31 พ.ค. 2566 พบว่า มียอดสูงถึง 296,243 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท หรือ คิดเป็นเฉลี่ย…

สหรัฐเจอฤทธิ์แก๊งโจรไซเบอร์รัสเซีย เจาะระบบผ่านแอปโอนถ่ายข้อมูล

Loading

  หน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง โดนโจมตีจากแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย โดยอาศัยช่องทางผ่านแอปพลิเคชันดาวน์โหลดข้อมูลยอดนิยม   เอริก โกลด์สตีน ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารสำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐ หรือ CISA แถลงเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2566 ว่า ขณะนี้ ทางสำนักงานกำลังให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานราชการของรัฐบาลกลางหลายแห่ง ที่พบการบุกรุกจากภายนอก โดยผ่านช่องทางการใช้งานแอปพลิชัน MOVEit   สำนักงาน CISA กำลังประเมินอย่างเร่งด่วนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หนึ่งในหน่วยงานที่ยืนยันมาแล้วว่าโดนแฮ็กระบบคือกระทรวงพลังงาน   นอกเหนือจากหน่วยงานราชการหลายแห่งแล้ว ยังมีบริษัทและองค์กรเอกชนจำนวนมากที่โดนแฮ็กข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ทาง CISA ระบุว่า แก๊งอาชญากรไซเบอร์ที่ชื่อว่า CLOP เป็นผู้ลงมือโจมตีไปทั่วโลกในครั้งนี้   CLOP เป็นแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย มีพฤติกรรมการก่ออาชญากรรมในลักษณะของการแฮ็กเข้าระบบของหน่วยงานแล้วขโมยข้อมูล จากนั้นก็นำไปเรียกค่าไถ่ซึ่งมักจะอยู่ในระดับหลายล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่ปรากฏการเรียกร้องในลักษณะดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการของสหรัฐ   เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการของ CISA กล่าวว่า ยังไม่พบผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ในหน่วยงานราชการที่เป็นกิจการของพลเรือน และเสริมว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์เพียงใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ เจาะเข้ามาในระบบเครือข่ายเพื่อมองหาโอกาสที่เป็นไปได้ในการก่ออาชญากรรม   การแฮ็กระบบทั่วโลกครั้งใหญ่นี้เริ่มต้นราว…

รายงานชี้ จีนอยู่เบื้องหลังแผนจารกรรมไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานรัฐโดนอ่วม

Loading

FILE PHOTO REUTERS   รายงานชี้ จีนอยู่เบื้องหลังแผนจารกรรมไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานรัฐโดนอ่วม   สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า Mandiant บริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของกูเกิลกล่าวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ได้รับการหนุนหลังจากทางการจีนได้ใช้ช่องโหว่ทางความปลอดภัยของระบบรักษาความปลอดภัยของอีเมลที่ได้รับความนิยม เพื่อเจาะเข้าสู่เครือข่ายขององค์กรสาธารณะและเอกชนหลายร้อยแห่งทั่วโลก โดยเกือบ 1 ใน 3 ของทั้งหมดเป็นหน่วยงานรัฐบาล   นายชาร์ลส์ คาร์มาคาล ผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีของ Mandiant ระบุว่า “นี่คือแคมเปญจารกรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดที่ทราบมาว่าดำเนินการโดยผู้คุกคามจากจีน นับตั้งแต่การแฮ็กเข้าสู่ระบบครั้งใหญ่ของ Microsoft Exchange เมื่อช่วงต้นปี 2021”   คาร์มาคาลกล่าวอีกว่า บรรดาแฮ็กเกอร์ได้ทำการโจมตีระบบป้องกันทางคอมพิวเตอร์ขององค์กรหลายร้อยแห่งให้เกิดช่องโหว่ โดยบางครั้งได้ทำการขโมยอีเมลของพนักงานคนสำคัญที่ทำหน้าที่ดูแลในประเด็นที่รัฐบาลจีนให้ความสนใจ Mandiant มั่นใจว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ถูกอ้างอิงในชื่อ ยูเอ็นซี4841 เป็นผู้อยู่เบื้องหลังโครงการจารกรรมทางไซเบอร์เป็นวงกว้างซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน   แฮ็กเกอร์จะทำการส่งอีเมลที่แนบไฟล์อันตรายไปเพื่อเข้าถึงอุปกรณ์และข้อมูลขององค์กรที่เป็นเป้าหมาย โดยพุ่งเป้าไปที่เหยื่อในอย่างน้อย 16 ประเทศ การกำหนดเป้าหมายให้ความสำคัญไปที่ประเด็นด้านนโยบายที่มีความสำคัญอย่างมากต่อรัฐบาลจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและไต้หวัน โดยเหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายยังรวมถึงกระทรวงต่างประเทศ องค์กรด้านการวิจัย และสำนักงานการค้าต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในฮ่องกงและไต้หวัน   ขณะเดียวกัน สำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ซีไอเอสเอ) ของสหรัฐออกมาระบุในวันเดียวกันว่า…

รัฐเท็กซัสออกกฎหมายให้ผู้บริการดิจิทัลขอความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนอนุญาตให้ผู้เยาว์สร้างบัญชี

Loading

ภาพประกอบจาก Shutterstock   เมื่อวันพุธ Greg Abbott ผู้ว่าการรัฐเท็กซัสได้ลงนามในร่างกฎหมาย HB 18 ซึ่งกำหนดให้ “ผู้ให้บริการดิจิทัล” (ทั้งโซเชียลมีเดียและบริการออนไลน์อื่น ๆ) จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนอนุญาตให้ผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีสร้างบัญชีผู้ใช้ได้ โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน   กฎหมาย HB18 ยังกำหนดให้แพลตฟอร์มออนไลน์จัดการระบบกรองเนื้อหาเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นอันตราย เช่น การฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง พฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ การใช้สารเสพติด การกลั่นแกล้ง การล่วงละเมิดทางเพศ และภายใต้กฎหมายนี้ผู้ปกครองจะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของผู้เยาว์ในโซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของเด็กได้ง่ายมากขึ้น เช่น ป้องกันไม่ให้ซื้อสินค้าทางออนไลน์   อย่างไรก็ตามผู้คนบางส่วนมองว่ากฎหมายดังกล่าวให้สิทธิ์ผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลมากเกินไปจนอาจริดรอนความเป็นส่วนตัวของเด็ก รวมถึงแพลตฟอร์มต่างๆ อาจกลั่นกรองเนื้อหาที่ไม่เป็นอันตรายมากเกินความจำเป็นเพื่อจะหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎหมาย   นอกจากรัฐเท็กซัสแล้วตอนนี้รัฐอื่น ๆ ในสหรัฐฯ เช่น รัฐยูทาห์ รัฐลุยเซียน่า ก็กำลังผ่านร่างกฎหมายที่คล้ายกัน และล่าสุดรัฐบาลกลางได้ปรับปรุงกฎหมาย Kids Online Safety Act (KOSA) เพื่อจำกัดกิจกรรมบนโลกออนไลน์ของผู้เยาว์ทั่วประเทศ     ที่มา…