ฮือฮาไปทั่ว! ทรัมป์ยอมรับเองแอบเอา “เอกสารลับแผนโจมตีอิหร่าน” กลับบ้าน “พลเอกมิลลีย์” ยืนกรานไม่ได้พิมพ์แผนเอง

Loading

    เอเจนซีส์ – ฮือฮาทั่วสหรัฐฯ เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้หลักฐานเด็ดเป็นเสียงอดีตประธานานธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับเมื่อปี 2021 กลางที่ประชุมในสนามกอล์ฟรัฐนิวเจอร์ซีย์ว่า เขามีเอกสารลับเพนตากอนถึงแผนการโจมตีอิหร่านเสนอโดยประธานคณะเสนาธิการร่วมทหารสหรัฐฯ พล.อ.มาร์ค มิลลีย์ ที่เขาเก็บไว้หลังจากพ้นตำแหน่ง แต่ทว่า พล.อ.มิลลีย์ยืนยันว่าไม่ใช่เป็นคนทำรายงานชิ้นนั้นตามคำอ้างของอดีตผู้นำสหรัฐฯ   CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (31 พ.ค.) ว่า อัยการสหรัฐฯ ได้หลักฐานเด็ดที่เป็นเสียงแอบบันทึกไว้เมื่อกรกฎาคมปี 2021 ในสนามกอล์ฟของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เมืองเบดมินสเตอร์ (Bedminster) รัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งผู้เข้าร่วมที่นอกเหนือจากผู้ช่วยของทรัมป์ ยังมี 2 คนที่เข้าร่วมทำงานเกี่ยวข้องกับหนังสืออัตชีวประวัติของอดีตหัวหน้าคณะทำงานของทรัมป์ มาร์ค เมโดว์ส (Mark Meadows) และรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร มาร์โก มาร์ติน (Margo Martin)   แหล่งข่าวกล่าวว่า คนที่เข้าร่วมวงการสนทนาที่สนามกอล์ฟไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงชั้นความลับสหรัฐฯ และเมโดว์สไม่ได้เข้าร่วมอยู่ด้วย   ซึ่งในเวลานี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนว่าอดีตผู้นำสหรัฐฯ ละเมิดกฎหมายว่าด้วยการเก็บข้อมูลรัฐหรือไม่หลังจากที่เขาพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ…

กรมเจ้าท่า ประชุม”ยกระดับการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือ”ประเทศไทย

Loading

    กรมเจ้าท่า ประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับ”นายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP)” ตามข้อกำหนดและข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางทะเลสากล ยกระดับการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศของไทย   วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า (ด้านปลอดภัย) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับนายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP) โดยมีนายจรินทร์ บุตรวงษ์ รักษาการหัวหน้ากลุ่มตรวจท่า พร้อมด้วยเจ้าพนักงานตรวจท่า กลุ่มตรวจท่า สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมบุษบง 3 โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ     สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับนายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน Department for Transport ประเทศอังกฤษ และกรมเจ้าท่า ประเทศไทย โดย กลุ่มตรวจท่า สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ…

แนวทางบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  ความท้าทายสำคัญในการรับมือกับ ภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นความท้าทายของทุกประเทศทั่วโลกนั่นคือ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ แม้ว่าจะมีความพยายามแก้ปัญหานี้โดยการเร่งผลิตทรัพยากรบุคคล   เรียกว่าแทบทุกมหาวิทยาลัยจะมีหลักสูตรด้านนี้ รวมถึงศูนย์ฝึกอบรมระยะสั้น ตลอดจนการเรียนผ่าน online ฯลฯ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ดี จากผลสำรวจของ (ISC)2* พบว่าในปีพ.ศ. 2565 มีตำแหน่งงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ว่าง ยังไม่สามารถหาคนมาลงได้ถึง 3.4 ล้านตำแหน่งทั่วโลก   ความท้าทายนี้เริ่มตั้งแต่การสรรหา การพัฒนา ตลอดจนการรักษาบุคลากรที่มีประสบการณ์ให้ทำงานอยู่กับเรา สู้กับการแย่งชิงตัวพนักงาน ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงขึ้นอย่างมาก   นอกจากนี้ปัญหาที่แทรกซ้อนขึ้นมาคือ แม้จะมีความก้าวหน้าของเครื่องมือและเทคโนโลยีด้านการป้องกันภัยไซเบอร์ แต่หากเราไม่สามารถสรรหาบุคลากรเก่ง ๆ มาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ การลงทุนนั้นก็ไม่คุ้มค่าและไม่สามารถลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ลงไปได้   ผลของการขาดแคลนบุคลากร ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ตกอยู่ในความเสี่ยง และกำลังเดินเข้าสู่วังวนแห่งหายนะ (vicious cycle) กล่าวคือ เมื่อมีบุคลากรไม่เพียงพอ ทำให้บุคลกรที่มีอยู่ต้องรับภาระทำงานยาวขึ้นในแต่ละวัน ไม่สามารถหาวันลาพักผ่อนหรือวันหยุดได้   ประกอบกับภัยคุกคามที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นแรงกดดันให้เกิดภาวะ burnout หมดพลัง หมดไฟ และหมดแรงจูงใจให้สู้กับงาน จึงทยอยลาออกจากงานไป…

ความน่ากลัวของเครื่อง ‘False Base Station’ แค่คลิกเดียวเกลี้ยงทั้งบัญชี

Loading

  สน.รอตรวจ โดย บิ๊กสลีป ว่าด้วยเรื่อง ความน่ากลัวของเครื่อง ‘False Base Station’ หรือเครื่องจําลองสถานีฐาน ที่แก๊งมิจฉาชีพนำมาใช้หลอกเหยื่อ แค่พลาดคลิกลิ้งก์แค่ครั้งเดียวเงินของเราก็เกลี้ยงทั้งบัญชี   เรื่องราวที่น่าหวั่นวิตกนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากมีผู้เสียหาย ตกเป็นเหยื่อจากขบวนการส่ง SMS ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นธนาคารกสิกรไทย หลอกดูดเงินผู้เสียหาย ซึ่งขบวนการดังกล่าว กําลังแพร่ระบาดอย่างมาก ค่าความเสียหายรวมกว่า 175 ล้านบาท   โดยคนร้ายจะนําเครื่องจําลองสถานีฐาน (False Base Station) ใส่ไว้ในรถแล้วขับออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากรถแล่นผ่านไปทางใด ก็จะส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แล้วส่ง SMS ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน กรมสรรพากร การไฟฟ้า     ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวถูกใช้ที่ชายแดนประเทศเพื่อนบ้านและส่งสัญญาณในประเทศไทย ทำให้ไทยใช้มาตรการควบคุมสัญญาณให้อยู่ในรัศมีวงจำกัด มิจฉาชีพจึงต้องนำเข้าเครื่องนี้เข้ามาในประเทศโดยตรงแทน หากใครหลงเชื่อและกดลิงก์ก็จะถูกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องระยะไกล สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารที่เครื่องโทรศัพท์นั้นติดตั้งแอปพลิเคชันประเภท Mobile Banking   ล่าสุดตำรวจสามารถจับกุมตัว นายสุขสันต์ อายุ 40…

ผู้นำจีนเตือน “ความเสี่ยงด้านความมั่นคง” จาก “ปัญญาประดิษฐ์”

Loading

  ประธานาธิบดีจีนขอให้หน่วยงานทุกแห่งที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งถือเป็น “อันตรายต่อความมั่นคง”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน กล่าวระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เรียกร้องการยกระดับ “ธรรมาภิบาลด้านความมั่นคง” เกี่ยวกับเครือข่ายด้านความมั่นคงและปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)   สีกล่าวต่อไปว่า ทุกภาคส่วนต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับ “สถานการณ์เลวร้ายที่สุด” และ “ฉากทัศน์ที่รุนแรง” พร้อมทั้งต้านทาน “ทุกปัญหาซึ่งจะถาโถมเข้ามาใส่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม” ขณะเดียวกัน ผู้นำจีนเตือนเกี่ยวกับ “ความซับซ้อนและความรุนแรงของปัญหาด้ายความมั่นคงแห่งชาติ ที่จีนกำลังเผชิญเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”   China’s ruling Communist Party is calling for beefed-up national security measures, highlighting the risks posed by advances in artificial intelligence…

โตโยต้า พบฐานข้อมูลสำคัญของลูกค้ารั่วไหล อาจถูกบุคคลภายนอกเข้าถึง

Loading

  บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด   วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศว่า ข้อมูลของลูกค้าในของลูกค้าในบางประเทศในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาจถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2559 – เดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่อาจเข้าถึงได้จากภายนอก ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขประจำรถและหมายเลขทะเบียน     โดยปัญหาล่าสุดถูกพบหลังการตรวจสอบระบบคลาวด์ที่จัดการโดย Toyota Connected Corp หลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่ข้อมูลรถยนต์ของผู้ใช้ 2.15 ล้านรายในญี่ปุ่นหรือฐานลูกค้าเกือบทั้งหมดที่ลงทะเบียนใช้งานแพลตฟอร์มบริการคลาวด์หลักตั้งแต่ปี 2555 ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะจากความผิดพลาดของมนุษย์   ในขณะที่เราเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากการเผยแพร่และการบังคับใช้กฎการจัดการข้อมูลไม่เพียงพอ … เราได้ติดตั้งระบบเพื่อตรวจสอบการกำหนดค่าคลาวด์   โฆษกของโตโยต้า กล่าวว่า บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด และลูกค้า Lexus ได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่   นอกจากนี้ โตโยต้า ยังได้ตรวจสอบด้วยว่ามีการคัดลอกของบุคคลที่สามหรือใช้ข้อมูลลูกค้าหรือไม่…