ภัยออนไลน์ ที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่อง ระวังตัวให้ดี เงินที่หามาแสนลำบาก อาจโดนปล้นไปโดยไม่รู้ตัว งั้นวันนี้เรามาอัพเดทกันหน่อยดีกว่าว่า โจรที่มากับโลกอินเทอร์เน็ต จะมาขโมยเงินของเราในรูปแบบไหนบ้าง และวิธีป้องกัน
เริ่มจากภัยหลายๆ คนมองข้าม คิดว่าไม่มีอะไร แต่หารู้ไม่ว่ากำลังเปิดประตูให้โจรเข้ามาในเครื่องของคุณ นั้นก็คือการ WiFi ฟรี
ภัยออนไลน์ WiFi ฟรี
WiFi ฟรีที่มาจากร้านกาแฟ ร้านอาหาร สนามบิน ที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่เราจะรู้ได้ยังว่า WiFi ตัวนั้นปล่อยออกมาจากร้านนั้นจริงๆ ไม่ได้มีใครก็ไม่รู้ที่เปิดคอมพิวเตอร์แล้วปล่อยสัญญาณ WiFi ที่ตั้งชื่อแบบเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ เราไม่มีทางรู้เลย แล้วคนร้ายที่แอบปล่อยสัญญาณก็สามารถเห็นการกระทำบนโลกอินเทอร์เน็ตของเราทุกอย่าง ถึงหลายคนจะบอกว่า https นั้นเข้ารหัส แต่มันก็ใช้ว่าจะถอดไม่ได้ เมื่อคุณอยู๋ในวง WiFi ของเขา ก็เหมือนคุณอยู่ในเงื้อมือของเขาเช่นกัน เพราะทุกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คนร้ายจะเป็นคนกลาง หรือที่เรียกว่า Man in the Middle เขาสามารถเห็นทุกอย่าง และยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกอย่างได้ด้วย
วิธีป้องกันตัวจากโจรที่มากับ WiFi
ถ้ารู้สึกว่าอยู่ยาก แต่ทางออกไม่ยากอย่างที่คิด เพราะเราก็แค่ใช้อินเทอร์เน็ต 3G 4G 5G แค่นี้เราก็ปลอดภัยแล้ว ยอมเสียตังค่าเน็ตนิดหน่อยดีกว่าหวังใช้ WiFi ฟรี แต่ต้องเสี่ยงเสียเงินไปทั้งบัญชีนะ
ต่อมาเป็นภัยออนไลน์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะมีเหยื่อโดนกันเยอะจนเป็นข่าวดังกันเกือบทุกวัน นั้นก็คือ
ภัยออนไลน์ แฮ็กเงินในบัญชี
แฮ็กเงินในบัญชีแบบที่เจ้าของบัญชีก็ยังไม่รู้ตัว เป็นกรณีหนึ่งที่มีเหยื่อโดนกันเยอะมาก และมูลค่าความเสียหายสูงมาก ซึ่งวิธีที่พวกมิจฉาชีพใช้ ก็มีหลายวิธี ทั้งทางไลน์ ทางแอปพลิเคชันปลอมต่างๆ โดยหลักการที่จะทำให้เงินออกจากบัญชีเราโดยที่เราไม่รู้ตัวเนี่ยมันก็เพราะคนร้ายรู้ข้อมูลของเรา
ภัยออนไลน์ แฮ็กเงินในบัญชีจาก Mobile Banking
การโอนเงินออกจากแอปพลิเคชัน mobile banking ก่อนอื่นเราก็ต้อง แบบนี้ได้นะครับมันก็ต้องใช้ข้อมูล 2 อย่าง
1 เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียนไว้
2 บัญชีและการยืนยันตัวตน เช่น password
เมื่อมิจฉาชีพนะเขารู้สึกเงื่อนไขตรงนี้ เขาก็จะทำอะไรก็ตามเพื่อให้ได้ข้อมูลเหล่านี้มา เช่นการติดตั้งมัลแวร์ประเภท Keylogger ลงมาที่เครื่องเรา เพื่อดูว่าเรากดอะไรไปบ้างกดลงไปบ้าน ซึ่งมีโอกาสที่เขาจะได้ Username และ Password ของเราไป หรือซอฟต์แวร์ที่เป็น Remote Access ทำให้เขาสามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือของเราได้ เหมือนมือถืออยู่ในมือเขาเลย
ภัยออนไลน์ แฮ็กเงินในบัญชีจาก Internet Banking
สำหรับกรณีของ Internet Banking สิ่งที่มิจฉาชีพต้องการก็คือ
1 Username
2 Password
3 OTP ผ่าน sms
ซึ่งเขาจะได้ข้อมูลเหล่านี้ได้ ก็ทำได้หลายวิธีเช่น Social Engineering หรือแกล้งมาพูดคุยกับเรา เพื่อหลอกให้เราดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมลงไปติดตั้งที่เครื่องเรา โดนแอปปลอมนั้นจะมีมัลแวร์อยู่ ทำให้เขาเข้ามาทำอะไรกับเครื่องเราก็ได้ อย่างเช่นในข่าวที่เหยื่อคุยไลน์กับคนร้าย กดลิงก์ที่คนร้ายส่งมาให้ทีเดียว แล้วเงินหายไปหมดบัญชี
วิธีป้องกันตัวจากโจรที่มากับ Mobile Banking หรือ Internet Banking
เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อของโจรแน่นอนถ้าเราไม่เชื่อคนง่าย ไม่คลิ๊กลิงก์ที่ใครก็ไม่รู้ส่งมาให้ ไม่โหลดแอปนอก Store ติดตั้ง Anti-virus และ มั่นอัพเดท OS อยู่เสมอ เท่านี้ก็ทำให้เงินในบัญชีของคุณผู้ชมปลอดภัยขึ้นมากๆ แล้ว
ภัยออนไลน์ หลอกทำงาน
บางครั้งพวกโจรก็แอบเนียนมาหลอกหางาน รับสมัครงาน พวกงานสบาย รายได้ดีตามอินเตอร์ โซเชียลมีเดียต่างๆ เช่นโพสชวนทำอาชีพเสริม แพ็คสินค้า เช่นร้อยลูกปัด แพ็คหนังยาง แพ็คเทียนหอม สบู่ ประกาศรับสมัครงานพวกนี้ต้องดูดีๆ เพราะบางรายอาจจะเป็นหนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก็ได้พวกมันจะหลอกให้เหยื่อโอนเงินค่ามัดจำ ค่าอุปกรณ์ทำงานไปก่อน แต่จริงๆ คือพอโอนเงินให้ ก็เชิดเงินหนีไปเลย
วิธีป้องกันตัวจากโจรที่หลอกทำงาน
ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแนะนำให้เราตรวจสอบข้อมูล เช็กว่าผู้จ้างมีการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ว่าจ้างก่อนรึเปล่า หากไม่มั่นใจให้สอบถามได้ที่สายด่วน 1506 กด 3
หลอกลงทุน
ครั้งนี้มิจฉาชีพจะใช้ความโลภของเหยื่อเป็นเครื่องมือ โดยจะมาชวนเหยื่อให้ลงทุน ชวนทำงานปั๊มยอดวิว ทำงานง่ายๆ แค่กดไลค์แลกกับผลตอบแทนที่มีมูลค่าสูงมากมาย มิจฉาชีพจะอ้างว่าตนเป็นบริษัทโปรโมทแอปพลิเคชันและทำสื่อออนไลน์ ที่ทำสัญญากับยูทูบ ครั้งแรกก็ได้ผลตอบแทนจริง แต่พอครั้งต่อๆ ไปก็เริ่มให้เหยื่อลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายไม่ได้เงินอย่างที่ตกลงไว้ มีผู้เสียหาย หลายหมื่นคน เป็นมูลค่าความเสียหายรวมกัน ไม่ต่ำกว่าพันล้านบาท
หลอกขายของ สินค้าไม่ได้ ไม่ตรงปก
ภัยออนไลน์ประเภทนี้เป็นภัยที่มีการหลอกลวงมากที่สุด ซึ่งมีการโกงหลายแบบมากเช่น โอนเงินไปแล้วเงียบหาย ของไม่มีคุณภาพ หรือของไม่ตรงปก
วิธีป้องกันตัวจากโจรที่หลอกขายของ สินค้าไม่ได้ ไม่ตรงปก
ซึ่งเราก็มีวิธีช่วยให้คุณไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพพวกนี้ ด้วย 2 เว๊บไซต์นี้
blacklistseller.com ที่ใช้ตรวจสอบผู้ขายว่าเคยโกงเงินใครมาก่อนหรือไม่
วิธีการใช้งานก็ง่ายๆ เพียงก็เข้าไปที่เว็บไซต์ แล้วคลิกที่คำว่า “ตรวจสอบบัญชี/ผู้ขาย” จากนั้นก็เลือกกรอกข้อมูลจะเป็นเลขที่บัญชี ชื่อจริง หรือเลขบัตรประชาชนก็ได้จากนั้นก็กดปุ่ม “ค้นหา” สีน้ำเงิน ถ้ามีข้อมูลขึ้นเป็นรายละเอียดสินค้าที่ถูกโกง, จำนวนยอดเงิน, จำนวนครั้งที่ชื่อนี้ถูกแจ้งว่าโกง พร้อมกับระบุว่ามีโกงค่าอะไรไปบ้าง ก็แปลว่าเป็นมิจฉาชีพที่เข้ามาหลอกเราชัวร์ๆ นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าไปดูหลักฐานได้ด้วย
ฉลาดโอน.com เว๊บไซต์ที่รวบรวมของคนร้ายแหล่งข้อมูลจากกองกำกับการสืบสวน กองบังคับการนครบาล 8, กสทช., สคบ., และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
นอกจากเว็บนี้จะรวมการแจ้งรายชื่อคนโกงจากการซื้อขายทางออนไลน์แล้ว ยังมีรายชื่อการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และอื่นๆ ด้วย วิธีใช้งานก็ง่ายๆ โดยเลือกก่อนว่าเราจะเช็กข้อมูลจากอะไร เช่น ชื่อบัญชี, เลขที่บัญชีธนาคาร/พร้อมเพย์/ทรูวอลเล็ต, SMS หรือเบอร์โทร เมื่อเลือกแล้วก็กรอกข้อมูลลงไป เสร็จแล้วก็กดปุ่มสีเหลือง “ตรวจสอบ” ถ้าคนที่เรากำลังโอนเงินไปหาไม่ใช่มิจฉาชีพ สัญลักษณ์ ก็จะเป็นสีเขียว และแจ้งว่า “ยังไม่ได้รับข้อมูลการร้องเรียนของข้อมูลนี้” และถ้าใครอยากจะแจ้งเบาะแส ไม่อยากให้คนอื่นๆ ต้องตกเป็นเหยื่อ ก็สามารถพิมพ์แจ้งที่ช่องข้อความด้านล่าง
สรุปการป้องกันตัวจากภัยออนไลน์
โจรจ้องจะขโมยเงินของเราอยู่ตลอดเวลา แต่ทำยากถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้พวกมัน แค่อย่าเชื่อต่อ WiFi มั่ว ไม่คลิ๊กลิ้งก์มั่ว ไม่โหลดแอปนอกสโตร์ ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ และเช็กข้อมูลให้ดี เพียงท่านนี้เราปลอดภัยจากโจรออนไลน์แล้ว
บทความโดย ไอที 24 ชั่วโมง
——————————————————————————————————————————————
ที่มา : ไอที 24 ชั่วโมง / วันที่เผยแพร่ 8 มิ.ย.2566
Link : https://www.it24hrs.com/2023/risk-online/