ปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) หรือ เอไอ ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลก!!
เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ ที่ถูก “เทรน” ให้มีความสามารถเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ เช่น จดจํา แยกแยะ ให้เหตุผล ตัดสินใจ คาดการณ์ สื่อสารกับมนุษย์ ฯลฯ โดยเฉพาะการมาของ แชทจีพีที (Chat GPT) ที่สร้างความฮือฮา ไปทั่วโลก!!
ซึ่งได้มีการนำเอไอมาประยุกต์ใช้แล้วในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน แต่การนําเอไอมาใช้โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมและควบคุมที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การดําเนินชีวิต และสังคมส่วนรวมอย่างมาก!?!
จึงเป็นเรื่องจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจว่า การนำเอไอมาใช้นั้นถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิตามกฎหมายของประเทศ และไม่ทําให้ผู้ใดได้รับความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สิน!?!
อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยได้เตรียมพร้อม มีการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 – 2570) แต่จากผลการศึกษาและจัดอันดับความพร้อมด้านเอไอของรัฐบาลทั่วโลก (Government AI Readiness Index) โดย Oxford Insights พบว่า ในปี 65 ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังอยู่ในลําดับที่ 31 จาก 181 ประเทศทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยังมีความจําเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนา!?!
ทั้งนี้ ทางสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ได้ร่วมกับสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย เนคเทค ทำโครงการสํารวจความพร้อมในการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สําหรับบริการดิจิทัลอย่างมีธรรมาภิบาล
โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 3,529 ราย พบว่า 15.2% มีการนำเอไอ มาใช้งานแล้วในองค์กรแล้ว 56.65% มีแผนที่จะนำมาใช้ในอนาคต และ 28.15% ที่ยังไม่มีแผนที่จะใช้ เอไอ และคาดการณ์ได้ว่าในอนาคต องค์กรในประเทศไทยจะมีนำเอไอมาประยุกต์ใช้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอน !!
ภาพ pixabay.com
ซึ่งกลุ่มที่มีความพร้อมในการประยุกต์ใช้เอไอทุกด้าน คือ กลุ่มการเงินและการค้า 64.9% กลุ่มการศึกษา 57.7% และกลุ่มการใช้งานและบริการภาครัฐ 57.3% ส่วนองค์กรที่ปัจจุบันยังไม่มีการนำเอไอ มาประยุกต์ใช้ในองค์กร ให้เหตุผลที่น่าสนใจ 3 อันดับแรก คือ 1. ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาข้อมูล 2. คิดว่ายังไม่มีความจำเป็นในการนำมาใช้ และ 3.องค์กรยังขาดความพร้อมและต้องการการสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และงบประมาณ ฯลฯ
“ดร.กัลยา อุดมวิทิต” รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. บอกว่า หากมองความพร้อมด้านยุทธศาสตร์ และความสามารถขององค์กร ยังพบช่องว่าง คือ องค์กรขาดความรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์ของการใช้ เทคโนโลยีเอไอ และขาดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการ รวมถึงขาดงบประมาณและการเข้าถึงแหล่งทุน และผู้บริหารองค์กรยังไม่เห็นความสาคัญของการลงทุน จึงควรสร้างความตระหนักรู้และนำกรณีตัวอย่างบริษัทที่ใช้แล้วประสบความสาเร็จมาเผยแพร่ และจัดหาแหล่งเงินทุนให้
ส่วนความพร้อมความพร้อมด้านข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐาน ยังพบช่องว่างในเรื่องขาดมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการทางานของเอไอและไม่สามารถนามาเชื่อมโยงระหว่างกันได้ ขาดการจัดระเบียบข้อมูลและความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลของภาครัฐและภาคเอกชน และข้อจำกัดด้านภาษาอังกฤษในการใช้งานสาหรับคนไทย
สิ่งที่ต้องเร่งทำ คือ จัดทำมาตรฐานข้อมูลของประเทศให้มีการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงข้อมูล และให้มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลสาหรับใช้งานร่วมกัน ท้ังรัฐและเอกชน (Data Sharing Center) โดยมีการ กำหนดสิทธิของผู้เข้าใช้งานในการเข้าถึงข้อมูลระดับต่างๆ
ภาพ pixabay.com
ขณะที่ความพร้อมด้านบุคคลกร นั้น พบว่า ไทยยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสาขาเฉพาะด้าน เช่น Machine Learning , Software Development , Data Scientists และผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเอไอมีอัตราการย้ายงานสูง การแก้ปัญหา คือ ต้องจัดทำหลักสูตรเอไอ ให้มีการเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาทักษะเอไอ ให้มีความเชียวชาญตั้งแต่ระบบเริ่มต้นถึงขั้นสูง
ด้านความพร้อมด้านเทคโนโลยี พบว่า ไทยยังขาดระบบนิเวศนวัตกรรมสำหรับเทคโนโลยีเอไอ และการวิจัย และพัฒนาด้านเอไอทำได้ยากขึ้น เนื่องจากขาดข้อมูลที่จะนำมาพัฒนาระบบเอไอ และที่สำคัญ งบประมาณ การลงทุนวิจัย มีไม่เพียงพอ การแก้ปัญหา คือ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของสตาร์ทอัพ รองรับการพัฒนาเอไอ และจัดให้มีหน่วยงานสนับสนุนเครื่องมือ แพลตฟอร์ม และเครื่องมือกลางของประเทศ
และสุดท้ายเรื่องความพร้อมด้านธรรมาภิบาลนั้น ไทยยังขาดแนวปฎิบัติ กรอบกำกับดูแล ด้านเอไอ และขาดศูนย์กลางของภาครัฐในการให้คาปรึกษาด้านเอไอ และการแบ่งบันข้อมูลให้สามารถนาไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาเอไอ
ซึ่งในเรื่องนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ให้รัฐส่งเสริมการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาลเอไอ และเตรียมร่างกฏหมาย และกฎระเบียบการใช้งาน พร้อมศึกษามาตรฐานและต้ังศูนย์บริการทดสอบเอไอ และยกระดับศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AIGC)
ภาพ pixabay.com
ด้าน “ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด” ที่ปรึกษาอาวุโส เอ็ตด้า บอกว่า เอ็ตด้า กำลังจัดทำมาตราฐานเอไอ เพื่อเป็นไกด์ไลน์การใช้งานให้กับหน่วยงานต่างๆ คาดว่าจะประกาศได้ใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ส่วนในอนาคตจะต้องมี ก.ม.เอไอ เป็นเรื่องที่ยังต้องศึกษา โดยในปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดออก ก.ม.เกี่ยวกับ เอไอ ออกมา มีเพียงสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำลังร่าง ก.ม.คาดว่าจะออกมาอีก 1 ปีข้างหน้า
ตอนนี้ไทยต้องเตรียมพร้อมในเรื่อง ธรรมภิบาลจริยธรรมเอไอก่อน ส่วนการออกกฎหมายยังต้องศึกษา เพราะ ซึ่งเอไอเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ออกเป็น ก.ม.วันนี้ พรุ่งนี้อาจใช้ไม่ได้แล้วเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ทำให้ล้าสมัยทันที แต่การออก ก.ม.มาควบคุมห้ามใช้ สุดท้ายอาจทำให้ไทยตกขบวนไม่ก้าวหน้าในเรื่องนี้!
สิ่งสำคัญก็ คือ การสร้างความตระหนัก ไม่นิ่งเฉยในการสร้างความเข้าใจให้กับคนที่นำมาใช้ และบาลานซ์ให้ได้ระหว่าง การคุ้มครอง และ การสร้างนวัตกรรม!?!
จิราวัฒน์ จารุพันธ์
———————————————————————————————————————————————————————————————————————-
ที่มา : เดลินิวส์ ออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ 16 ก.ค.66
Link : https://www.dailynews.co.th/news/2536176/