สภาอิสราเอลผ่านกฎหมาย “จำกัดอำนาจศาล” แม้ประชาชนประท้วงหนัก

Loading

  ชาวอิสราเอลประท้วงอย่างหนัก ขณะที่สภาอภิปรายและลงมติ รับรองกฎหมายให้รัฐบาลสามารถคว่ำอำนาจของศาลสูงได้ ในบางกรณี สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติอิสราเอล หรือ คเนสเซ็ท มีมติในการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ด้วยเสียงข้างมาก 64 ต่อ 120 เสียง ผ่านกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของประเทศ     ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมาย คือการจำกัดขอบเขตอำนาจของศาลสูง ในการพิพากษาต่อนโยบายของรัฐบาล หรือกฎหมายซึ่งบัญญัติโดยคเนสเซ็ท “แต่ศาลมองว่าไม่เหมาะสม” โดยหลายฝ่ายมองว่า เป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างโจ่งแจ้ง เนื่องจากในทางกลับกัน ฝ่ายบริหารจะมีอำนาจมากขึ้น ต่อกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งผู้พิพากษา     ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอล เน้นย้ำว่า เรื่องนี้ “เป็นกระบวนการประชาธิปไตยที่จำเป็น” เพื่อให้ “รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง” สามารถบริหารประเทศ “ตามการตัดสินใจของประชาชนที่เป็นเสียงส่วนใหญ่” และเพื่อเป็นการ “รักษาสมดุลอำนาจ” ไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ “ก้าวก่าย” อำนาจของฝ่ายบริหาร     Israel passes…

ยกเลิกกฏ ก.พ. ‘โรคจิต -โรคอารมณ์ผิดปกติ’ ออกจากโรคต้องห้ามรับ ขรก.

  “ครม.อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ยกเลิกโรคจิต – โรคอารมณ์ผิดปกติ ออกจากโรคต้องห้ามในการรับราชการ”   วันนี้ ( 19 ก.ค. 66 ) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. ถึงการกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ โดยเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรคดังกล่าวไม่มีความสามารถในการทำงานใด ๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน   ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ วันนี้ ครม.จึงมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. ตามที่สำนักงาน…

สหรัฐเผชิญเหตุกราดยิงในปีนี้ สะสมมากกว่า 400 ครั้งแล้ว

Loading

      กัน ไวโอเลนซ์ อาร์ไคฟ์ (Gun Violence Archive) เว็บไซต์ระดับชาติที่ติดตามยอดผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอาวุธปืน รายงานการเกิดเหตุกราดยิงทั่วสหรัฐฯ จำนวน 9 ครั้ง เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มจำนวนเหตุกราดยิงในปีนี้ รวมอยู่ที่มากกว่า 400 ครั้งแล้ว   สำนักข่าวซินหัวรายงานจากนครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ว่า ข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์คลังข้อมูลความรุนแรงจากอาวุธปืนนี้ ซึ่งนิยามเหตุกราดยิงเป็นเหตุการณ์ที่มีเหยื่อบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย ไม่รวมมือปืนระบุว่า เหตุกราดยิงทั้งเก้าครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวมอย่างน้อย 4 ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บรวมอย่างน้อย 35 คน   ทั้งนี้ กัน ไวโอเลนซ์ อาร์ไคฟ์ เก็บรวบรวมหรือตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 7,500 แห่ง ในแต่ละวัน และพบว่า จำนวนเหตุกราดยิงทั่วสหรัฐฯ นับตั้งแต่ต้นปีนี้ อยู่ที่อย่างน้อย 404 ครั้ง และมีจำนวนผู้เสียชีวิตรวมอยู่ที่อย่างน้อย 453…

OpenAI , Google และอื่น ๆ จะใส่ลายน้ำในเนื้อหา AI เพื่อความปลอดภัย

Loading

    ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ประกาศว่า บริษัท AI รวมถึง OpenAI , Alphabet และ Meta Platforms ได้ให้คำมั่นสัญญาต่อทำเนียบขาวในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ โดยสมัครใจ เช่น การใส่ลายน้ำเนื้อหาที่สร้างโดย AI เพื่อช่วยให้เทคโนโลยีปลอดภัยยิ่งขึ้น   “คำสัญญานี้เป็นขั้นตอนที่มีแนวโน้มดี แต่เรายังมีงานต้องทำร่วมกันอีกมาก” ไบเดนกล่าว   ที่งานทำเนียบขาว ไบเดนกล่าวถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ที่จะใช้เพื่อจุดประสงค์ในการก่อกวน โดยกล่าวว่า “เราต้องมีมุมมองที่ชัดเจนและระแวดระวังเกี่ยวกับภัยคุกคามจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่” ต่อระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯ   บริษัทต่างๆ ซึ่งรวมถึง Anthropic , Inflection , Amazon.com และ OpenAI partner Microsoft ให้คำมั่นว่าจะทดสอบระบบอย่างถี่ถ้วนก่อนปล่อยสู่ผู้บริโภค และจะแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับวิธีลดความเสี่ยงและลงทุนในความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างกันด้วย   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกมองว่าเป็นชัยชนะสำหรับความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการควบคุมเทคโนโลยี ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านการลงทุนและความนิยมของผู้บริโภค   “เรายินดีกับความเป็นผู้นำของประธานาธิบดีในการนำอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมารวมกัน เพื่อกำหนดขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยให้ AI ปลอดภัยขึ้น…

พิมพ์ผิดชีวิตเปลี่ยน ! อีเมลทหารของสหรัฐฯ “หลายล้านฉบับ” ถูกส่งไปมาลี เพราะสะกดโดเมนผิด

Loading

  “สะกดพลาด ! อีเมลทางทหารที่ละเอียดอ่อนของสหรัฐฯ “หลายล้านฉบับ” ถูกส่งไปยังมาลีเนื่องจากพิมพ์โดเมนผิด กังวลข้อมูลหลุดไปถึงมือรัสเซีย เพราะมีทั้งรหัสผ่านและเอกสารการทูต”   สำนักข่าวไฟแนนเชียล ไทม์ส (Financial Times) รายงานพบการส่งอีเมลผิดครั้งมโหฬารจากหน่วยงานด้านทหารของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเจ้าหน้าที่พิมพ์โดเมนผิดจากเดิมที่ต้องพิมพ์ว่า .MIL เป็น .ML ทำให้ข้อมูลสำคัญในกองทัพสหรัฐอเมริกาหลายล้านฉบับถูกส่งต่อไปยังประเทศมาลี โดยข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่ถูกส่งออกไปประกอบด้วย เอกสารทางการทูต การคืนภาษี รหัสผ่าน และรายละเอียดการเดินทางของเจ้าหน้าที่ระดับสูง รวมไปถึงข้อมูลอื่น ๆ ด้านการทหารอีกมากมาย   สำหรับสิ่งที่หน่วยงานด้านการทหารของสหรัฐอเมริกากังวลมากที่สุด คือ ประเทศมาลีมีความสัมพันธ์ด้านการทหารกับประเทศรัสเซียทำให้มีโอกาสที่อีเมลจำนวนดังกล่าวอาจถูกส่งต่อให้กับหน่วยงานพิเศษในรัสเซีย หรือประเทศอื่น ๆ ที่เป็นขั้วตรงข้ามกับสหรัฐอเมริกา   การส่งอีเมลผิดในครั้งนี้ถูกเปิดเผยโดยโยฮันเนส ซูร์เบียร์ (Johannes Zuurbier) ที่ทำงานในบริษัทผู้จัดการด้านโดเมนของเว็บไซต์ในประเทศมาลี ก่อนหน้านี้เขาได้แจ้งเตือนไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2014 โดยเขาระบุว่าอาจเกิดปัญหาข้อผิดพลาดจากการพิมพ์โดเมน .MIL ซึ่งเป็นของเว็บไซต์หน่วยงานกองทัพสหรัฐฯ เป็นโดเมน .ML ซึ่งเป็นของเว็บไซต์ในประเทศมาลี หากนับเฉพาะอีเมลที่เขาตรวจพบถูกรวบรวมเอาไว้ได้ประมาณ 117,000 ฉบับ และอีก 1,000…

แคสเปอร์สกี้ เปิดข้อมูล ‘ไทย’ รั้งอันดับ 3 ของอาเซียน ‘ฟิชชิง’ ระบาดหนัก

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์เกี่ยวกับการโจมตีแบบ ฟิชชิงในไทยในปี 2565 พบและบล็อกอีเมลฟิชชิงเกือบ 6.3 ล้านรายการ ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในไทย   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์เกี่ยวกับการโจมตีแบบฟิชชิงในประเทศไทยในปี 2565 โดยแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกอีเมลฟิชชิงเกือบ 6.3 ล้านรายการ ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทย   ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการโจมตีด้วยฟิชชิงจำนวน 6,283,745 ครั้ง ในประเทศไทย โดยรวมแล้วแคสเปอร์สกี้ป้องกันผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ทั้งหมด 43,445,502 รายการ พบผู้ใช้ในเวียดนาม มาเลเซีย และไทย ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุด   สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566 มีการส่งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ จำนวน 23,616 รายการ บนเว็บไซต์ของสำนักงาน และก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ 1.155 หมื่นล้านบาท     นายเอเดรียน…