ถูกบูลลี่ฟ้องได้ไหม? ไซเบอร์บูลลี่ ไม่ใช่เรื่องเล่น โทษหนัก ทั้งจำทั้งปรับ

Loading

  ถูกบูลลี่ฟ้องได้ไหม? มีกฎหมายรองรับ ไซเบอร์บูลลี่ หรือไม่? ถูกใช้คำพูดเหยียด ทำร้ายร่างกาย และจิตใจกันอย่างมาก แม้ในไทยจะยังไม่มีกฏหมายลงโทษแบบในเกาหลีอย่างกฏหมายซอลลี่ แต่ในไทยก็มีบทลงโทษในพรบ.คอม อย่างจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท   ไซเบอร์บูลลี่ คืออะไร   การแสดงความคิดเห็นบนโลกอินเทอร์เน็ต การแชร์ต่อ หรือการพูดถึงบนสื่อโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม แชต หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยใช้ถ้อยคำเหยียด กลั่นแกล้ง ทำให้เสียหาย เรียกว่าเป็นการคุกคามบนโลกออนไลน์หรือ ไซเบอร์ บูลลี่   นอกจากนี้ การเผยแพร่ข่าวลือหรือนินทาเกี่ยวกับเหยื่อบนโลกออนไลน์ ด้วยการโพสต์ข้อความหยาบคายหรือดูถูกให้เกิดความเข้าใจผิด โพสต์ข้อความที่คลุมเครือ ล้อเลียนด้วยรูปภาพหรือคลิปวิดีโอ เพื่อต้องการแบล็คเมล์ สอดแนม หรือควบคุมคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ ถือว่าเป็นการคุกคามบนโลกออนไลน์ทั้งสิ้น     ผู้เสียหายรับมืออย่างไร วิธีรับมือถูกบูลลี่   อย่าตอบสนอง   ยิ่งมีปฏิกิริยาตอบโต้ ก็จะยิ่งเป็นไปตามที่คนร้ายต้องการ ดังนั้น…

ระทึก จนท.เอกวาดอร์บุกเรือนจำ ช่วยผู้คุมถูกนักโทษจับเป็นตัวประกัน

Loading

    เอกวาดอร์ส่งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงนับพันนายบุกเรือนจำช่วยผู้คุมที่ถูกนักโทษจับเป็นตัวประกัน ท่ามกลางการจลาจลในทัณฑสถานหลายแห่ง จน ปธน.ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันอังคารที่ 25 ก.ค. 2566 ประธานาธิบดี กีเยร์โม ลาสโซ แห่งประเทศเอกวาดอร์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเรือนจำทั่วประเทศ และมอบอำนาจให้กองทัพยึดการควบคุมในเรือนจำกลับคืนมา หลังเกิดการจลาจลระหว่างแก๊งคู่อริที่เรือนจำกวายาส ในเมืองกวายาควิล ต่อเนื่องหลายวันจนมีผู้เสียชีวิตแล้ว 18 ศพ   การจลาจลดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นที่เรือนจำอื่น ๆ อีกหลายสิบแห่ง มีผู้คุมนับร้อยคนถูกนักโทษจับเป็นตัวประกันที่ทัณฑสถานอย่างน้อย 5 แห่ง โดยที่เรือนจำตูรี ในเมืองกูเอนกา จังหวัดอาซวย ทางตอนใต้เพียงแห่งเดียวก็มีผู้คุมถูกจับตัวเอาไว้ถึง 53 คนแล้ว   ในเวลาต่อมา นายฮวน ซาปาตา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของประเทศเอกวาดอร์ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่กำลังมีปฏิบัติการความมั่นคงขนาดใหญ่เพื่อปลดปล่อยผู้คุมที่ถูกจับเป็นตัวประกัน โดยส่งเจ้าหน้าที่กว่า 2,700 นาย ไปยังเรือนจำกวายาส และสามารถเข้าควบคุมปีกอาคารได้แล้ว 3 แห่ง แต่ไม่ระบุว่าช่วยตัวประกันได้แล้วหรือไม่   ทั้งนี้ เรือนจำหลายแห่งในเอกวาดอร์ประสบปัญหานักโทษเกินความจุ…

รัฐบาลสิงคโปร์สั่งน้องชายนายกรัฐมนตรี แก้ไขการโพสต์เฟซบุ๊ก

Loading

  นายลี เซียน หยาง น้องชายของผู้นำสิงคโปร์ แก้ไขข้อความบนเฟซบุ๊ก ตามคำสั่งของรัฐบาล ที่ระบุว่า “เป็นเนื้อหาบิดเบือน”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ว่า สำนักนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ออกแถลงการณ์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ว่าข้อความหนึ่งบนเฟซบุ๊กเพจของนายลี เซียน หยาง น้องชายของนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง “มีเนื้อหาคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง” ด้วยเหตุนี้ นายลี เซียน หยาง ต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง โดยต้องมีการโพสต์ลิงก์เชื่อมไปยังเพจของรัฐบาล “ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง” ทั้งนี้ การโพสต์ดังกล่าวของน้องชายผู้นำสิงคโปร์ เกี่ยวข้องกับกรณีเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงยุติธรรมเช่าบังกะโล อย่างไรก็ตาม ผลการสืบสวนสอบสวนเป็นการภายในระบุว่า เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้ไม่มีความผิดในทางใด   แม้นายลี เซียน หยาง ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นหลัก ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ที่รัฐบาลใช้อำนาจตามกฎหมายปราบปรามเนื้อหาเท็จออนไลน์ เมื่อปี 2562 แต่มีการโพสต์ข้อความต่อว่า เขายังคงยึดมั่นกับข้อมูลดั้งเดิม และวิจารณ์รัฐบาลสิงคโปร์ของพี่ชาย “กำลังชี้นำประชาชนไปในทางที่ผิด”   อนึ่ง พี่น้องตระกูลลีแห่งสิงคโปร์ขัดแย้งกันอย่างหนัก ในเรื่องมรดกของบิดาผู้ล่วงลับ…

สายขุด สายสืบข้อมูลอาชญากรรมคนอื่นมาเปิดเผย ระวังสูญเงินล้าน

Loading

  นักสืบขุดประวัติ “บอดี้การ์ด” ของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล แชร์ว่อนเน็ต เคยเป็นผู้ต้องโทษ ทำให้ถูกสั่งพักงาน งานนี้คนขุดมีหนาว เพราะ “ข้อมูลอาชญากรรม” เป็นข้อมูลอ่อนไหวที่ได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย “PDPA” เอาผิดทั้งแพ่ง อาญา ปกครอง   ชาวเน็ตขุด “ข้อมูลอาชญากรรม” ของบอดี้การ์ดส่วนตัว “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล แชร์ว่อนโลกโซเชียล เคยผ่านการต้องโทษ พร้อมเปิดเผยภาพใบหน้าขณะนำตัวมาแถลงข่าว ทำให้บอดี้การ์ดคนนี้ถูกสั่งพักงาน   คำถามคือ “ข้อมูลอาชญากรรม” เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองจาก “พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” หรือ กฎหมาย “PAPA” ถ้าหากเจ้าของข้อมูลเอาเรื่อง คนเปิดเผยข้อมูลจะได้รับโทษอย่างไรบ้าง   “ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม” เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เคยให้สัมภาษณ์ในเวทีอบรมเสวนาเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับสื่อมวลชนเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “PAPA” ในส่วน “ข้อมูลอาชญากรรม” เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว หากมีคนนำไปเปิดเผยจนกระทบต่อเจ้าของข้อมูล มีโทษทางแพ่ง อาญา…

Google เพิ่มความเข้มงวดแอปสินเชื่อบน Google Play

Loading

  กูเกิล (Google) ประกาศใช้นโยบายสำหรับการคัดกรองแอปให้บริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลที่ดำเนินการในไทย ต้องแนบเอกสาร หลักฐานการให้บริการก่อนปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน Google Play หวังเสริมความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ ย้ำผู้ใช้งาน Android ระมัดระวังไม่ติดตั้งแอปจากภายนอกสุ่มเสี่ยงการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ   แจ็คกี้ หวาง Country Director , Google ประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายใหม่นี้จะช่วยปกป้องผู้ใช้ในไทยจากการละเมิดที่อาจเกิดขึ้นจากแอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่ฉ้อฉล ภายเป้าหมายของกูเกิลในการกำจัดแอปที่ไม่ดีออกจาก Play Store   “การบังคับใช้มาตรการเชิงรุก โดยกำหนดเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับแอปบริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล จะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินและปกป้องผู้บริโภค”   สำหรับการปรับปรุงนโยบายบริการทางการเงินของ Google ในครั้งนี้ กำหนดให้แอปที่มีฟีเจอร์ทางการเงินต้องส่งแบบฟอร์มการประกาศฟีเจอร์ทางการเงิน พร้อมด้วยข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติม โดยนโยบายนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป   ทั้งนี้ นักพัฒนาแอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในไทยจะต้องกรอกแบบฟอร์มการประกาศแอปสินเชื่อส่วนบุคคล และส่งเอกสารที่จำเป็นก่อนที่จะเผยแพร่แอป จากนั้นต้องส่งหลักฐานการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้บริการหรือช่วยอำนวยความสะดวกในการให้บริการสินเชื่อดิจิทัลในไทย   ระหว่างนี้แอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการในไทยจะถูกนำออกจาก Google Play Store ทันที หากใบอนุญาตการจดทะเบียน หรือการประกาศไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นักพัฒนาแอปจะต้องนำแอปออกจาก…

ไหนบอกโปร่งใส!! หลักฐานชี้กลุ่มกบฏ ISIS ใช้คริปโตเพื่อขับเคลื่อนองค์กรก่อการร้าย

Loading

    TRM Labs แพลตฟอร์มข่าวกรองบล็อกเชนเปิดเผยในรายงานว่า พบการใช้ USDT บนเครือข่าย Tron ซึ่งเป็นตัวเลือกหลักสำหรับการทำธุรกรรมของกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย หรือ ISIS ระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องทั่วเอเชีย   TRM Labs แพลตฟอร์มข่าวกรองบล็อกเชนเพิ่งเปิดตัวรายงานที่เน้นการใช้ cryptocurrency ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม โดยระบุถึงการใช้คริปโตเพื่อสนับสนุนการก่อการร้าย เพื่อสนับสนุนการใช้ความรุนแรงขึ้นโดยกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย (ISIS) ทั่วเอเชีย โดยมีการเชื่อมโยงการเชื่อมต่อแบบออนไลน์ที่สำคัญระหว่างกลุ่มเหล่านี้กับแคมเปญระดมทุนสนับสนุน ISIS ในซีเรียและกลุ่มอิสลาม ที่มีนโยบายด้านกฎหมายศาสนาอิสลามที่เชื่อมโยงในกลุ่มประเทศอื่นอีกด้วย   โดยในรายงานระบุว่ามี “หลักฐานบนเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น” จาก 12 เดือนที่ผ่านมาพบว่า เครือข่ายที่สนับสนุน ISIS ในทาจิกิสถาน อินโดนีเซีย และอัฟกานิสถาน ได้ใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน   จากข้อมูลของ TRM ธุรกรรมส่วนใหญ่ที่เชื่อมโยงกับกรณีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Tether USDT $1.00 บนเครือข่าย Tron   นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม…