รู้จักหนังสือ’จ้าวจื่อหยาง’ที่รัฐบาลจีนแบนโดยไม่ต้องประกาศห้ามเผยแพร่

Loading

    คำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ห้ามเผยแพร่หนังสือ “Rama X : The Thai Monarchy King Vajiralongkorn” เขียนโดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ทำให้ชื่อปวินติดเทรนด์ทวิตเตอร์ นักวิชาการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง   นักวิชาการบางรายตั้งข้อสังเกตถึงวิธีปฏิบัติของรัฐบาลจีนเมื่อครั้งอดีต แบนหนังสือของ “จ้าวจื่อหยาง” โดยไม่ต้องออกคำสั่งห้ามเผยแพร่ให้เอิกเกริก   ทันทีที่มีข่าวเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 370/2566 เรื่อง ห้ามสั่งเข้าหรือนำเข้าสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร “Rama X : The Thai Monarchy King Vajiralongkorn” เขียนโดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มีเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบัน ผู้ใดฝ่าฝืนคุก 3 ปี ปรับ 60,000 บาท   นักวิชาการจำนวนหนึ่งแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์ มองว่า คนที่อ่านหนังสือเล่มนี้เป็นคนที่อยู่ในต่างประเทศอยู่แล้วไม่ใช่คนไทย ขณะที่อีกคนเสริมว่า คนในต่างประเทศอาจไม่นึกอยากอ่านแต่พอรู้ว่าถูกห้ามเผยแพร่ในประเทศไทยก็จะตามไปซื้ออ่าน เหมือนกับหนังสือที่ถูกแบนในประเทศจีนแล้วกลายเป็นหนังสือขายดี Best…

ผลสำรวจของ Pew พบว่าชาวอเมริกันเกินครึ่งมองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของชาติ

Loading

    ผลการสำรวจของสำนักวิจัยของสหรัฐฯ Pew Research Center ในช่วงกลางเดือน พ.ค.66 หลังจากที่นาย Greg Gianforte ผู้ว่าการรัฐมอนแทนา ได้ประกาศลงนามในกฎหมายสั่งแบนแอปพลิเคชัน TikTok ของจีน ซึ่งเป็นรัฐแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่แบนอย่างเป็นทางการ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวอเมริกันร้อยละ 59 จากชาวอเมริกันจำนวน 5,100 คน มองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของประเทศสหรัฐฯ จำนวนร้อยละ 17 คิดว่าแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้เป็นภัยคุกคาม และอีกร้อยละ 23 ตอบว่าไม่แน่ใจ   นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่า อายุมีผลต่อความคิดที่แตกต่างกัน โดยผู้ที่มีอายุ 18-29 ปี คิดว่า TikTok เป็นภัยคุกคามสำคัญเพียงร้อยละ 13 ในขณะที่ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมองว่าเป็นภัยคุกคามสำคัญมากถึงร้อยละ 46   อย่างไรก็ตาม เมื่อ มี.ค.66 TikTok เปิดเผยว่า ชาวอเมริกันที่ใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok มีจำนวน…

นักการเมืองชาวดัตช์จวก Twitter ไม่เหมาะหาข้อมูลในสถานการณ์ฉุกเฉิน

Loading

    นักการเมืองชาวดัตช์และกลุ่มสิทธิดิจิทัล ชี้ Twitter ไม่ใช่ที่ที่เหมาะสมในการหาข้อมูลยามฉุกเฉิน หลังประชาชนพยายามหาข้อมูลอัปเดตในช่วงประเทศกำลังเผชิญพายุฤดูร้อน   Nico Drost สมาชิกสภานิติบัญญัติกล่าวถึง Twitter ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เข้าถึงข้อมูลได้ยากและขาดความน่าเชื่อถือ ซึ่งการที่ภาครัฐใช้ Twitter ในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารกับประชาชนเป็นสิ่งไม่ควร   เนเธอร์แลนด์ต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อนที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1 คน ซึ่งบริการแจ้งเตือนฉุกเฉินของรัฐบาลได้ส่งแจ้งเตือนผ่านไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนแล้ว โดยแนะนำให้ผู้คนที่อยู่ในเขต North Holland หลีกเลี่ยงการออกนอกตัวอาคารในช่วงลมกระโชกแรงมากกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมถึงให้ติดตามข้อมูลอัปเดตผ่านบัญชี Twitter ของแผนกดับเพลิงภูมิภาค   อย่างไรก็ตาม นักการเมืองหลายรายรวมถึงกลุ่ม Bits of Freedom ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อกลุ่มสิทธิดิจิทัล ระบุว่า การที่ภาครัฐเลือกแจ้งข้อมูลข่าวสารผ่าน Twitter ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เนื่องจาก Twitter เป็นบริษัทเอกชน และรัฐบาลมีเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะสำหรับการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่แล้ว   Ber Engels ตัวแทนของ Bits of Freedom ให้ความเห็นว่า “มันน่าขำมากที่พวกเขาเลือกใช้…

ระเบิดลูกปราย (คลัสเตอร์บอมบ์) คืออะไร ทำไมสหรัฐฯ ตัดสินใจส่งให้ยูเครน?

Loading

    สหรัฐอเมริกาประกาศว่าจะจัดส่ง ‘ระเบิดลูกปราย’ (Cluster Munitions) หรือ ‘คลัสเตอร์บอมบ์’ ให้กับยูเครนตามคำขอ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน เนื่องจากคลัสเตอร์บอมบ์ถูกมองว่าเป็นอาวุธร้ายแรงที่ปัจจุบันถูกแบนในกว่า 120 ประเทศ   คลัสเตอร์บอมบ์คืออะไร อันตรายอย่างไร?   ระเบิดลูกปรายหรือคลัสเตอร์บอมบ์ เป็นระเบิดที่บรรจุลูกระเบิดขนาดเล็กๆ ไว้ภายในจำนวนมาก วิธีการใช้ทำได้หลายวิธี คือ สามารถทิ้งลงจากเครื่องบิน ขีปนาวุธ หรือยิงโดยปืนใหญ่จากพื้นดินสู่พื้นที่เป้าหมายก็ได้ โดยคลัสเตอร์บอมบ์จะระเบิดกลางอากาศเพื่อปล่อยลูกระเบิดย่อยให้กระจายเป็นวงกว้าง   จากมุมมองด้านการทหาร ระเบิดลูกปรายมีประสิทธิภาพอย่างน่ากลัวเมื่อใช้โจมตีกองทหารราบที่ประจำการอยู่ในสนามเพลาะหรือหลุมที่ถูกขุดเพื่อเป็นที่มั่นในการต่อสู้ ตลอดจนที่ประจำอยู่ตามป้อมค่ายต่างๆ   อย่างไรก็ดี ความอันตรายของอาวุธชนิดนี้คือ ระเบิดลูกปรายมีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดจากเป้าหมายและไม่ระเบิดในอัตราที่สูง หรือ ‘Dud Rate’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าระเบิดตกลงบนพื้นที่เปียกหรือนุ่ม   รายงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ระบุว่า ระเบิดลูกปรายที่ถูกนำมาใช้ในความขัดแย้งล่าสุดนั้น มีอัตราระเบิดด้านสูงถึง 40%   นั่นหมายความว่าลูกระเบิดขนาดเล็กอาจตกค้างบนพื้นดิน และอาจระเบิดขึ้นได้ในภายหลังเมื่อถูกหยิบหรือเหยียบ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าจะผ่านไปอีกยาวนานหลายปีหรือหลายสิบปี ประชาคมระหว่างประเทศจึงพิจารณาเห็นว่า ระเบิดลูกปรายเป็นอาวุธที่ส่งผลกระทบด้านมนุษยธรรมสูง   กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า…

หมดกันความเป็นส่วนตัว! เมื่ออากู๋ “Google” ขอขุดดาต้ามาสอน AI

Loading

  กำแพงความเป็นส่วนตัวถูกทำลายลงอีกครั้ง เมื่อ Search Engine ยักษ์ใหญ่อย่าง “Google” ขออนุญาต “ขุด” ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทุกอย่างที่เราเคยโพสต์ทางออนไลน์ ด้วยเหตุผลว่าจะนำไปสอน AI   การก้าวล้ำเส้นแบ่งของความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์เริ่มต้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ Google ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัว โดยระบุอย่างชัดเจนว่าบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการขุดข้อมูลทุกอย่างที่พวกเราโพสต์ทางออนไลน์เพื่อสร้างเครื่องมือ AI   โดยนโยบายใหม่ของ Google ระบุว่า “Google จะใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟีเจอร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ และสาธารณะ”     “Google” ยกตัวอย่างว่า ข้อมูลจะถูกใช้ฝึกโมเดล AI ของ Google และสร้างผลิตภัณฑ์รวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Google Translate, Bard และเพิ่มความสามารถของ Cloud AI ซึ่งเพิ่มเติมจากเดิมที่ Google เคยบอกว่าข้อมูลจะใช้สำหรับโมเดลภาษาเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้กระโดดเข้ามาสู่ตลาด “AI” เป็นที่เรียบร้อย   ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ดูจะไม่ปกตินักคือ โดยทั่วไปแล้ว…

พิพิธภัณฑ์ในฟลอริดาใช้กล้อง AI ตรวจจับคนร้ายที่มาพร้อมอาวุธ

Loading

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฟรอสต์ในนครฟลอริดา รัฐไมอามี สหรัฐอเมริกา ใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่ควบคุมกล้องวงจรปิดในการระบุตัวคนร้ายที่มาพร้อมอาวุธ   BeMotion เป็นบริษัทที่พัฒนาระบบนี้ขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันที่มีชื่อว่า Law Enforcement Network (LEN) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการตรวจจับอาวุธและการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย   หากกล้องตรวจพบผู้ที่ถือปืนก็จะมีการแจ้งเตือนให้ผู้ที่เดินเยี่ยมชมและเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ทั้งหมดรับรู้ พร้อมทั้งระบุพิกัดที่คนร้ายอยู่ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยังสามารถแยกแยะคนร้ายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ด้วย   ผู้บริหารของ BeMotion เชื่อว่าการให้ปัญญาประดิษฐ์ทำงานในการดูกล้องวงจรปิดจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้มนุษย์ โดยยกตัวอย่างของเหตุการณ์กราดยิงในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่เมื่อนำระบบไปลองใช้แล้วพบว่าสามารถระบุตัวคนร้ายได้ในทันทีที่เข้าสู่โรงเรียน   นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการใช้ระบบกล้องปัญญาประดิษฐ์ในพื้นที่อื่น ๆ อย่างเขตการศึกษาเฮอร์นันโด เมืองบรูกส์วิลล์ ของรัฐฟลอริดาที่ใช้ระบบของ Zero Eyes ที่มุ่งแจ้งเตือนให้ตำรวจรู้ถึงการบุกรุกก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายขึ้น   BeMotion เผยว่าหากนำระบบของบริษัทไปใช้ในเขตการศึกษา ก็จะมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นที่ราว 40 – 70 เหรียญ (ราว 1,500 – 2,500 บาท) ต่อนักเรียน 1 คนต่อปี   อย่างไรก็ดี องค์กรที่ใช้ระบบเหล่านี้เพื่อเสริมมาตรการความปลอดภัยที่มีอยู่แล้วเท่านั้น  …