ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสมีสายลับอยู่ในป้อมพระจุลฯ หรืออย่างไร ได้แปลนป้อมไทยจากไหน?

Loading

เรือรบฝรั่งเศสสามลำจอดทอดสมอคุมเชิงอยู่ด้านหน้าสถานทูตฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112   จากการศึกษาตามบันทึกและปูมเรือของฝรั่งเศสในช่วงก่อนการเข้าตีฝ่าปากน้ำเจ้าพระยานั้น จะพบข้อมูลที่เรือลูแตงของฝรั่งเศสได้พยายามมาจอดบริเวณปากน้ำ หลังจากเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม และไม่ยอมถอนออกไปตามกำหนดวันที่ 21 มีนาคม รวมทั้งยังแอบสังเกตการณ์ในวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทางชลมารค และขึ้นตรวจการก่อสร้างที่ ป้อมพระจุลฯ ในวันที่ 10 เมษายน ร.ศ. 112 อย่างใกล้ชิด และยังติดตามดูการเสด็จตรวจป้อมผีเสื้อสมุทรด้วย   ที่น่าสังเกตก็คือ ในเที่ยวเรือนี้ เรือลูแตงได้นำผู้บัญชาการสถานีทหารเรือไซ่ง่อนเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ด้วย จนหลังการเสด็จตรวจป้อมเมื่อวันที่ 10 เมษายน แล้ว วันที่ 11 เมษายน เรือโคแมตที่ฝ่ายสยามไม่ยอมให้ขึ้นไปจอดที่กรุงเทพฯ (เพราะเรือลูแตงยังไม่ถอนออกไป) จึงได้จอดรออยู่ที่สมุทรปราการ และรับ ผบ. สถานีทหารเรือไซ่ง่อนถ่ายลำจากเรือลูแตงกลับไปด้วย ซึ่งน่าจะเป็นที่เข้าใจว่านายทหารระดับบัญชาการท่านนี้ได้มาหาข่าวและเตรียมการที่บุกไว้ก่อนที่จะกลับไปกำหนดแผนบุกในขั้นรายละเอียด (มีการตรวจดูพื้นที่เกาะเสม็ดและบริเวณใกล้เคียง ในระหว่างการเดินเรือช่วงเดือนมีนาคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ด้วย)   การพยายามบันทึกที่หมายทางเรือ และตำแหน่งเสาธงของป้อมผีเสื้อสมุทร ที่ได้มีการก่อสร้างปรับปรุงเพื่อเตรียมการติดตั้งปืนเสือหมอบแบบเดียวกับของป้อมพระจุลฯ ในขณะวิ่งเรือผ่าน…

ชีวิตน่าพิศวงของ “ออปเพนไฮเมอร์” บิดาแห่งระเบิดปรมาณู

Loading

จูเลียส โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ บิดาแห่งระเบิดปรมาณู   เมื่อเอ่ยถึงอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอานุภาพทำลายล้างมหาศาลนั้น หลายคนมักนึกถึงเหตุโศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดคิดว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้คิดค้นความรู้ทางทฤษฎีที่นำไปสู่การพัฒนาระเบิดปรมาณูนั้น คือผู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่อมรณกรรมของผู้คนเรือนแสน ในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง   อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์กลับบันทึกชื่อของ จูเลียส โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) นักฟิสิกส์รุ่นน้องของไอน์สไตน์ ชี้ว่า เขาต่างหากที่เป็นผู้มีส่วนรับผิดชอบโดยตรงต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งยังเป็นคนที่เกิดความสำนึกเสียใจอย่างมาก หลังทราบว่าอาวุธที่เขาประดิษฐ์ขึ้นได้ล้างผลาญชีวิตเพื่อนมนุษย์ไปมากมายเพียงใด   เหล่านักประวัติศาสตร์ต่างชี้ตรงกันว่า ออปเพนไฮเมอร์คือ “บิดาแห่งระเบิดปรมาณู” ตัวจริง เนื่องจากเป็นผู้บุกเบิกและดำเนินโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ที่พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลกจนสำเร็จ ทั้งยังเป็นผู้แนะนำให้รัฐบาลสหรัฐฯ รีบนำอาวุธร้ายแรงนี้ไปใช้เพื่อยุติสงครามโลกอีกด้วย   ชีวิตของออปเพนไฮเมอร์นั้นน่าพิศวง และเต็มไปด้วยความขัดแย้งในตนเอง จากเด็กอัจฉริยะที่พุ่งทะยานสู่ความสำเร็จในวงการฟิสิกส์ยุคใหม่อย่างรวดเร็ว จนเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในหมู่นักวิทยาศาสตร์รุ่นเดียวกัน มาสู่การเป็นนักวิจัยผู้ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายความมั่นคงของชาติมหาอำนาจในยุคหนึ่ง แต่ความสำเร็จนี้กลับนำพาเขาสู่วังวนความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งได้ทำลายชีวิตของเขาจนย่อยยับในที่สุด   อัจฉริยะของวงการฟิสิกส์ยุคใหม่   ออปเพนไฮเมอร์เกิดที่นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เมื่อปี 1904 ในครอบครัวชาวยิวผู้มั่งคั่งที่อพยพมาจากเยอรมนี ตั้งแต่วัยเยาว์เขามีความสนใจในวิชาธรณีวิทยาและผลึกคริสตัลเป็นพิเศษ และได้เขียนจดหมายโต้ตอบเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับเหล่านักธรณีวิทยาผู้มีชื่อเสียงอยู่เสมอ…

สภาอิสราเอลผ่านกฎหมาย “จำกัดอำนาจศาล” แม้ประชาชนประท้วงหนัก

Loading

  ชาวอิสราเอลประท้วงอย่างหนัก ขณะที่สภาอภิปรายและลงมติ รับรองกฎหมายให้รัฐบาลสามารถคว่ำอำนาจของศาลสูงได้ ในบางกรณี สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติอิสราเอล หรือ คเนสเซ็ท มีมติในการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ด้วยเสียงข้างมาก 64 ต่อ 120 เสียง ผ่านกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของประเทศ     ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมาย คือการจำกัดขอบเขตอำนาจของศาลสูง ในการพิพากษาต่อนโยบายของรัฐบาล หรือกฎหมายซึ่งบัญญัติโดยคเนสเซ็ท “แต่ศาลมองว่าไม่เหมาะสม” โดยหลายฝ่ายมองว่า เป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างโจ่งแจ้ง เนื่องจากในทางกลับกัน ฝ่ายบริหารจะมีอำนาจมากขึ้น ต่อกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งผู้พิพากษา     ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอล เน้นย้ำว่า เรื่องนี้ “เป็นกระบวนการประชาธิปไตยที่จำเป็น” เพื่อให้ “รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง” สามารถบริหารประเทศ “ตามการตัดสินใจของประชาชนที่เป็นเสียงส่วนใหญ่” และเพื่อเป็นการ “รักษาสมดุลอำนาจ” ไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ “ก้าวก่าย” อำนาจของฝ่ายบริหาร     Israel passes…

ยกเลิกกฏ ก.พ. ‘โรคจิต -โรคอารมณ์ผิดปกติ’ ออกจากโรคต้องห้ามรับ ขรก.

  “ครม.อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ยกเลิกโรคจิต – โรคอารมณ์ผิดปกติ ออกจากโรคต้องห้ามในการรับราชการ”   วันนี้ ( 19 ก.ค. 66 ) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. ถึงการกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ โดยเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรคดังกล่าวไม่มีความสามารถในการทำงานใด ๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน   ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ วันนี้ ครม.จึงมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. …. ตามที่สำนักงาน…

สหรัฐเผชิญเหตุกราดยิงในปีนี้ สะสมมากกว่า 400 ครั้งแล้ว

Loading

      กัน ไวโอเลนซ์ อาร์ไคฟ์ (Gun Violence Archive) เว็บไซต์ระดับชาติที่ติดตามยอดผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอาวุธปืน รายงานการเกิดเหตุกราดยิงทั่วสหรัฐฯ จำนวน 9 ครั้ง เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มจำนวนเหตุกราดยิงในปีนี้ รวมอยู่ที่มากกว่า 400 ครั้งแล้ว   สำนักข่าวซินหัวรายงานจากนครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ว่า ข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์คลังข้อมูลความรุนแรงจากอาวุธปืนนี้ ซึ่งนิยามเหตุกราดยิงเป็นเหตุการณ์ที่มีเหยื่อบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย ไม่รวมมือปืนระบุว่า เหตุกราดยิงทั้งเก้าครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวมอย่างน้อย 4 ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บรวมอย่างน้อย 35 คน   ทั้งนี้ กัน ไวโอเลนซ์ อาร์ไคฟ์ เก็บรวบรวมหรือตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 7,500 แห่ง ในแต่ละวัน และพบว่า จำนวนเหตุกราดยิงทั่วสหรัฐฯ นับตั้งแต่ต้นปีนี้ อยู่ที่อย่างน้อย 404 ครั้ง และมีจำนวนผู้เสียชีวิตรวมอยู่ที่อย่างน้อย 453…

OpenAI , Google และอื่น ๆ จะใส่ลายน้ำในเนื้อหา AI เพื่อความปลอดภัย

Loading

    ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ประกาศว่า บริษัท AI รวมถึง OpenAI , Alphabet และ Meta Platforms ได้ให้คำมั่นสัญญาต่อทำเนียบขาวในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ โดยสมัครใจ เช่น การใส่ลายน้ำเนื้อหาที่สร้างโดย AI เพื่อช่วยให้เทคโนโลยีปลอดภัยยิ่งขึ้น   “คำสัญญานี้เป็นขั้นตอนที่มีแนวโน้มดี แต่เรายังมีงานต้องทำร่วมกันอีกมาก” ไบเดนกล่าว   ที่งานทำเนียบขาว ไบเดนกล่าวถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ที่จะใช้เพื่อจุดประสงค์ในการก่อกวน โดยกล่าวว่า “เราต้องมีมุมมองที่ชัดเจนและระแวดระวังเกี่ยวกับภัยคุกคามจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่” ต่อระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐฯ   บริษัทต่างๆ ซึ่งรวมถึง Anthropic , Inflection , Amazon.com และ OpenAI partner Microsoft ให้คำมั่นว่าจะทดสอบระบบอย่างถี่ถ้วนก่อนปล่อยสู่ผู้บริโภค และจะแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับวิธีลดความเสี่ยงและลงทุนในความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างกันด้วย   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกมองว่าเป็นชัยชนะสำหรับความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการควบคุมเทคโนโลยี ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านการลงทุนและความนิยมของผู้บริโภค   “เรายินดีกับความเป็นผู้นำของประธานาธิบดีในการนำอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมารวมกัน เพื่อกำหนดขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยให้ AI ปลอดภัยขึ้น…