WHO เปิดข้อมูลรัสเซียโจมตี เป้าหมายสาธารณสุขยูเครนมากกว่า 1,000 ครั้ง

Loading

    องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า รัสเซียได้โจมตีเป้าหมายด้านสาธารณสุขของยูเครนมากกว่า 1,000 ครั้ง นับตั้งแต่ที่กองกำลังรัสเซียบุกโจมตียูเครนในเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว ทั้งนี้ WHO ระบุว่า รัสเซียได้โจมตีสำนักงานบริการสาธารณสุขของยูเครน 952 ครั้ง โจมตีรถพยาบาล 124 ครั้ง และโจมตี 284 ครั้ง ต่อศูนย์เก็บเครื่องมือทางการแพทย์ WHO เปิดเผยว่า การโจมตีดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 101 ราย และบาดเจ็บ 139 ราย อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา รัสเซียมักปฏิเสธว่าไม่มีการโจมตีต่อเป้าหมายพลเรือน เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน และที่พักอาศัยแต่อย่างใด #องค์การอนามัยโลก #WHO #รัสเซียยูเครน   ———————————————————————————————————————————————————————————   ที่มา : ศูนย์ข่าว PACIFIC        /       …

อิสราเอลตึงเครียดดันปฏิรูปตุลาการ ฝ่ายค้าน – ผู้ประท้วงกดดันคว่ำร่าง กม.

Loading

  เอพี – สภาอิสราเอลเมินเนทันยาฮูถูกหามเข้าโรงพยาบาลกลางดึก เปิดอภิปรายมาราธอนแผนปฏิรูประบบตุลาการ ขณะที่ผู้ประท้วงหลายพันคนปักหลักตั้งแคมป์ใกล้อาคารรัฐสภาที่มีกำหนดโหวตแผนปฏิรูปนี้ในวันจันทร์ (24 ก.ค.) และทหารกองหนุนราวหมื่นนายประกาศงดรายงานตนเพื่อร่วมกดดันรัฐบาลให้ล้มเลิกแผนการนี้   แพทย์เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ (23 ก.ค.) ว่า การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจให้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ราบรื่นและคนไข้ฟื้นตัวดี ขณะที่สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคาดว่า เนทันยาฮูจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ช่วงเย็นวันอาทิตย์   ทั้งนี้ เนทันยาฮูถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลกลางดึกวันเสาร์เพื่อผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะชั่วคราว หลังจากเพิ่งเข้ารักษาภาวะขาดน้ำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว   ขณะเดียวกัน สถานการณ์ทางการเมืองในอิสราเอลกำลังตึงเครียดหนัก โดยสมาชิกรัฐสภาได้เริ่มอภิปรายมาราธอนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญแรกของแผนปฏิรูประบบตุลาการ ก่อนที่สภาจะลงมติเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายในวันจันทร์   การประท้วงของมวลชนคาดว่าจะดำเนินต่อไปเช่นกัน หลังจากเมื่อคืนวันเสาร์ (23 ก.ค.) ประชาชนหลายพันคนเดินขบวนในเยรูซาเลมและปักหลักตั้งแคมป์ใกล้เนสเส็ต หรืออาคารรัฐสภา   การเข้าโรงพยาบาลกะทันหันของเนทันยาฮูทำให้ดรามาการเมืองยิวยิ่งซับซ้อน จากก่อนหน้านี้ที่ผู้นำอิสราเอลผู้นี้ต้องเผชิญความท้าทายใหญ่หลวงที่สุดและประเทศเผชิญวิกฤตภายในร้ายแรงที่สุดที่ฉุดเศรษฐกิจซวนเซไปด้วย อีกทั้งทำให้เกิดความแตกแยกในกองทัพ และทดสอบสายใยสังคมอันละเอียดอ่อนที่โอบอุ้มประเทศที่แบ่งเป็นขั้วต่างๆ เข้าด้วยกัน   สมาชิกสภาเริ่มการอภิปรายแม้เนทันยาฮูถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาล ซิมชา รอธแมน บุคคลสำคัญที่ผลักดันแผนปฏิรูประบบตุลาการ เปิดประเด็นด้วยการประณามว่า ศาลทำให้พื้นฐานประชาธิปไตยเสียหายจากการล้มล้างการตัดสินใจของรัฐบาลตามอำเภอใจ   ทั้งนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติเตรียมโหวตมาตรการจำกัดอำนาจกำกับดูแลของศาลสูงสุดด้วยการขัดขวางไม่ให้ผู้พิพากษาล้มล้างการตัดสินใจของรัฐบาล โดยอ้างว่าไม่มีเหตุผล และการโหวตในวันจันทร์ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญแรกของกฎหมายปฏิรูประบบตุลาการที่จะมีการอนุมัติ   ผู้สนับสนุนแผนปฏิรูปมองว่า…

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพส่ง SMS หลอกให้ติดตั้งแอปฯ ThaID กรมการปกครองปลอม

Loading

  พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ว่ามีผู้เสียหายหลายรายร้องเรียนว่าได้รับข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา แจ้งข้อความว่า “ ThaiID อัปเดตข้อมูลเรียบร้อยแล้วโปรดยืนยันตัวตนของคุณ” พร้อมแนบลิงก์มากับข้อความดังกล่าว ซึ่งหากกดลิงก์แล้ว จะเป็นการให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ที่ปลอมชื่อ “Thai ID” มิจฉาชีพจะอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง สอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ มีการใช้สัญลักษณ์ของแอปพลิเคชัน ThaID (Thai Digital Identity) ของจริงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ระหว่างนั้นจะส่งลิงก์ให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน ThaID ปลอม มีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล .APK) แล้วให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล หลอกลวงให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ ครั้ง เพื่อหวังให้ผู้เสียหายกรอกรหัสชุดเดียวกับรหัสการเข้าถึง หรือทำธุรกรรมการเงินของแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ รวมไปถึงขอสิทธิ์ในการควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือ โดยในขั้นตอนนี้หากเหยื่อไม่สามารถทำด้วยตนเองได้ มิจฉาชีพจะแสร้งหวังดีสอนเหยื่อว่าจะต้องทำอย่างไร หรือในบางครั้งจะโทรศัพท์มาบอกวิธีการด้วยตนเอง กระทั่งเมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์หรือโทรศัพท์มือถือแล้ว จะล็อกหน้าจอโทรศัพท์ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง จากนั้นมิจฉาชีพจะนำรหัสที่เหยื่อเคยตั้งหรือกรอกไว้ก่อนหน้านี้ เข้าแอปพลิเคชันธนาคารแล้วโอนเงินไปยังบัญชีม้าที่เปิดรอไว้    …

รู้ทัน Cyber Attack โจรไซเบอร์ที่ติดตามคุณไปทุกที่

Loading

  ปัญหาโจรกรรมข้อมูล การจับข้อมูลเป็นประกันเพื่อเรียกค่าไถ่ การแฮคบัญชีเพื่อขโมยเงิน ยังคงเป็นอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ หรือ Cyber Attack ที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนต้องพึงระวังให้มากและรู้ให้เท่าทันกลโกง   Cyber Attack หรือ อาชญากรรมทางไซเบอร์ คือ เป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและช่องทางออนไลน์ต่างๆ   รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2565 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคม ประจำปี 2565 เปิดเผยว่า     – คนไทยใช้เวลาในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยคนละ 7 ชั่วโมง 4 นาทีต่อวัน     – กิจกรรมออนไลน์ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การดูหนัง/ฟังเพลง การซื้อขายของ การทำธุรกรรม ทางการเงิน และการอ่านข่าว     – 3 อุปกรณ์หลัก (devices) ที่นิยมใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ 97.07% แท็บเล็ต…

เมื่อ Emoji ก่อให้เกิดสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย

Loading

  เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2566 มีคดีน่าสนใจ โดยศาลในประเทศแคนาดา ตัดสินให้ Emoji เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่งที่มีผลทางกฎหมายและเป็นบ่อเกิดของสัญญา   ข้อเท็จจริง   เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในกรณีที่โจทก์และจำเลยพูดคุยกันทางโทรศัพท์ เพื่อตกลงจะเข้าทำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตร (ต้นแฟลกซ์) ต่อมาเมื่อพูดคุยเสร็จสิ้น โจทก์ได้ส่งข้อความหาจำเลยเพื่อยืนยันการซื้อขายดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (Text Message)   โดยมีข้อความว่า “โปรดยืนยันสัญญาซื้อขายต้นแฟลกซ์” จำเลยพิมพ์ตอบกลับมาโดยใช้ Thumbs-up Emoji (สัญลักษณ์ยกนิ้วหัวแม่มือ) อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาผ่านไป จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้นำส่งต้นแฟลกซ์ตามที่ได้ตกลง   ต่อมาเมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบต้นแฟลกซ์ดังกล่าว จำเลยได้กล่าวอ้างว่า การใช้ส่งสัญลักษณ์ Thumbs-up Emoji นั้น เป็นเพียงการบอกให้ทราบว่าได้รับข้อความแล้ว ไม่ได้หมายว่า ยอมรับ ตกลง หรือผูกพันตามข้อความในสัญญา   ทั้งนี้ จำเลยยังได้ให้เหตุผลว่า ตนเข้าใจว่าโจทก์ “จะนำส่งสัญญาฉบับเต็มมาทางแฟกซ์หรืออีเมล เพื่อตรวจสอบอีกครั้งก่อนมีการเซ็นสัญญาซื้อขาย” ดังนั้น เพียงแค่การส่งข้อความตอบโต้ผ่านระบบ Messenger จึงยังไม่ได้แปลว่าจะตกลงขายต้นแฟลกซ์ให้โจทก์ตามที่โจทก์เข้าใจ คำถามคือ ข้อกล่าวอ้างของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่   จากกรณีข้างต้น…

ระวังแอปดูดเงินปลอม อาละวาด อ้าง Google Play ใช้นามสกุลเว็บ .CC

Loading

สตช. แจ้งเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงของคนร้าย ส่ง sms พร้อมแนบลิ้งก์คุมมือถือ ป้องกันง่ายๆ คือ ไม่เปิดอ่าน หรือ อย่ากดลิ้งก์แปลกปลอม หากต้องการติดตั้งแอป ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Playstore หรือ App Store เท่านั้น พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ คดีหลอกลวงให้กู้เงิน คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) นอกจากนี้ เมื่อช่วงเดือน มีนาคม 2566 – มิถุนายน 2566 สถิติคดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ อยู่ในลำดับที่ 7 แต่ช่วง 2 สัปดาห์นี้ สถิติการรับแจ้งความเพิ่มมากขึ้นจนขยับมาอยู่ลำดับที่ 4   สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ในรอบ 2 สัปดาห์…