SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ?

Loading

  SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ หลังมีแชร์ในโซเชียลเกี่ยวกับการสวมซิม หรือ SIM SWAP เพื่อควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป   ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าว กรณีมีการหลอกลวงทางเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า SIM SWAP FRAUD อ้างว่าขณะใช้งานโทรศัพท์อยู่ตามปกติ เครือข่ายโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ (Zero Bar) เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน มีโทรศัพท์อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแจ้งว่ามีปัญหาเครือข่ายสัญญาณมือถือ จากนั้นแนะนำให้กด 1 เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอีกครั้ง เมื่อกด 1 เครือข่ายจะปรากฏขึ้นทันทีชั่วคราวและจะไม่มีสัญญาณอีกครั้ง (Zero Bar) ช่วงนี้คนร้ายได้ควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป ขณะที่เจ้าของโทรศัพท์จะไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ เนื่องจากซิมถูกเปลี่ยนขณะที่มือถือถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์   พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา กิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี(รอง ผบก.ตอท.) และ นายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล กรรมการบริหารและประชาสัมพันธ์ สมาคมโทรคมนาคมฯ ชี้แจงว่า…

สหรัฐฯ จับทหารเรือ 2 นาย ฐานแอบขายความลับให้จีน

Loading

  เจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยวานนี้ (3 สิงหาคม) ว่า ทางการได้จับกุมทหารเรือของสหรัฐฯ 2 นายฐานแอบขายข้อมูลด้านความมั่นคงของชาติที่มีความละเอียดอ่อนให้กับจีน   รายงานระบุว่า นายทหารเรือ จ้าวเหวินเหิง (Wenheng Zhao) วัย 26 ปี ถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดและรับสินบน หลังจากที่เขารับเงินเกือบ 15,000 ดอลลาร์ (ราว 5.2 แสนบาท) เพื่อแลกกับการมอบภาพและวิดีโอข้อมูลทางทหารที่มีความละเอียดอ่อนของสหรัฐฯ ให้กับจีน ขณะที่ทหารเรืออีกคนหนึ่งคือ เว่ยจินเชา (Jinchao Wei) ถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการส่งข้อมูลด้านการป้องกันประเทศไปยังจีน เพื่อแลกกับเงินหลายพันดอลลาร์ด้วยกัน   แมตต์ โอลเซน (Matt Olsen) ผู้ช่วยอัยการ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในซานดิเอโกว่า เนื่องจากการกระทำของชายทั้งสองคนนี้ ‘ข้อมูลทางทหารที่ละเอียดอ่อนจึงตกไปอยู่ในมือของสาธารณรัฐประชาชนจีน’   สำนักข่าว Reuters รายงานว่า จ้าวถูกกล่าวหาว่าได้ส่งข้อมูลให้จีนหลายอย่างด้วยกัน ทั้งแผนปฏิบัติการด้านการฝึกซ้อมทางทหารของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมถึงแผนภาพไฟฟ้าและพิมพ์เขียวของระบบเรดาร์บนฐานทัพสหรัฐฯ ในโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น และรายละเอียดด้านความมั่นคงเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในเวนทูราเคาน์ตี (Ventura County)…

Google Search เพิ่มฟีเจอร์ แจ้งเตือนหากมีข้อมูลส่วนตัวโผล่ในผลการค้นหา ขอลบออกได้

Loading

  กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Results about you ให้เราตรวจสอบได้ง่ายขึ้นว่ามีข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล ปรากฏอยู่ในผลการค้นหาของ Google Search หรือไม่   ฟีเจอร์นี้เปิดตัวมาได้สักระยะแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ล่าสุดกูเกิลเพิ่มระบบ alert แจ้งเตือนให้เราทราบหากมีข้อมูลใหม่ติดเข้ามาในผลการค้นหา และเราสามารถยื่นขอลบข้อมูลเหล่านี้ออกได้   ฟีเจอร์อีกตัวที่ประกาศพร้อมกันคือ Google SafeSearch ตัวกรองผลการค้นหาที่ปลอดภัย เพิ่มการเบลอภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น เนื้อหารุนแรง มีเลือดหรืออาการบาดเจ็บ เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อให้การค้นหาใน Google Image Search ดูไม่น่ากลัวจนเกินไป (หรือการใช้งานในโรงเรียนที่มีเด็ก) ฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้งานทั่วโลกในเดือนนี้       ที่มา – Google         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …

รัฐบาลเคนยาสั่ง Worldcoin ยุติการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อแลกเหรียญคริปโตฟรี

Loading

  รัฐบาลของประเทศเคนยา ออกคำสั่งให้โครงการเหรียญคริปโต Worldcoin ของ Sam Altman ซีอีโอของ OpenAI หยุดรับสมัครผู้ใช้ใหม่ หลังจาก Worldcoin ไปตั้งซุ้มเชิญชวนให้คนมาสแกนม่านตาเพื่อยืนยันตัวตน เพื่อแลกกับเหรียญคริปโตเทียบเป็นมูลค่า 50 ดอลลาร์   แนวคิดของ Worldcoin คือสร้างอุปกรณ์สแกนม่านตาที่เรียกว่า Worldcoin Orb ไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ทั่วโลก ตอนนี้บอกว่ามี 1,500 จุด (ยังไม่มีไทย) แล้วเชิญชวนให้คนเข้ามาใช้งานสร้าง World ID ของตัวเอง แลกกับเหรียญ Worldcoin เอาไว้ทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านบล็อกเชน   What a launch week. Thank you for all of your support & feedback. Looking forward to sharing community…

เช็กด่วน เตือนภัย 10 แอปพลิเคชันอันตราย มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝง

Loading

  ตำรวจเตือนภัย เผย 10 แอปพลิเคชันอันตราย มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ เผยบางแอปฯ จะอยู่ในรูปแบบ Mini-Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัล   วันที่ 4 สิงหาคม 2566 มีรายงานว่า แฟนเพจ ตำรวจสอบสวนกลาง ได้เผยเรื่องราวเตือนภัยแอปพลิเคชันอันตราย โดยระบุข้อความว่า ขณะนี้ตรวจพบแอปฯ ที่มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ ซึ่งบางแอปฯ ถูกถอดจาก Playstore แล้ว แต่ยังสามารถติดตั้งผ่านช่องทางแอปพลิเคชันอื่นได้อยู่ และบางแอปฯ จะอยู่ในรูปแบบ Mini-Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัล โดยมี 10 แอปฯ อันตรายดังนี้   •   Noizz : แอปฯ ตัดต่อวีดีโอพร้อมเพลง (100,000,000 downloads)   •   Zapya : แอปฯ แชร์ไฟล์ ย้ายไฟล์ (100,000,000 downloads)   •   VFly…