จีนแถลงตอบโต้ศัตรูที่พยายามยุยงให้เกิดการปฏิวัติสีในจีน

Loading

  กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีน (Ministry of State Security – MSS) ออกแถลงการณ์ในบัญชีแอปพลิเคชัน WeChat เมื่อ 15 ส.ค.66 ระบุว่าใจความสำคัญว่า “ความมั่นคงทางการเมือง เป็นรากฐานของความมั่นคงของชาติ” เพื่อตอบโต้ศัตรูที่พยายามยุยงให้เกิดการปฏิวัติสีในจีน   แกนหลักของ “ความมั่นคงทางการเมือง” อยู่ที่ “ความมั่นคงของพลังอำนาจและระบบการเมือง” ซึ่งก็คือการรักษาความเป็นผู้นำและสถานะการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) รวมทั้งปกป้องระบบสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีน ดังนั้น หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติของจีนจะให้ความสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงทางการเมืองเสมอ   แถลงการณ์ยังชี้แจงว่า การปกป้องความมั่นคงทางการเมืองเป็นผลประโยชน์พื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในประเทศจีน หน่วยงานความมั่นคงของจีนทำงานโดยยึดประชาชนเป็นหลัก จึงต้องระมัดระวังในการควบคุมความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประชาชนจีน ทั้งนี้ การปกป้องความมั่นคงทางการเมืองถือเป็นภารกิจหลัก ขณะเดียวกันก็ยังคงเสริมสร้างความมั่นคงแบบดั้งเดิม เช่น ความมั่นคงทางทหารและดินแดน ตลอดจนความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม เช่น เทคโนโลยี การคลัง และชีววิทยา   ได้ยกกรณีความพยายามที่จะล้มล้างอำนาจทางการเมืองในปี 2559 ของนาย Su ทหารฝ่ายเสนาธิการเกษียณอายุราชการจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนาน นาย Su ติดต่อบุคคลขององค์กรต่างชาติที่เป็นปรปักษ์ต่อจีน และมีการแสดงความคิดเห็นตอบโต้ทางอินเทอร์เน็ต โดยวางแผนที่จะซื้ออาวุธและสมรู้ร่วมคิดเพื่อดำเนินการที่รุนแรง…

ผู้เชี่ยวชาญเตือนภัยสมาร์ตวอตช์ และวิธีป้องกัน

Loading

  เดบาร์ชี ดาส (Debarshi Das) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยอิสระเผยให้เห็นว่ามีการแฮ็กสมาร์ตวอตช์มีหลากหลายวิธี   รูปแบบการส่งข้อมูลของสมาร์ตวอตช์ โดยทั่วไปแล้ว สมาร์ตวอตช์เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Bluetooth Low Energy (BLE) ซึ่งใช้แถบคลื่นความถี่เดียวกันกับ Bluetooth ทั่ว ๆ ไป แต่ใช้คนละช่องสัญญาณในการส่งข้อมูล และใช้พลังงานน้อยกว่า Bluetooth   สมาร์ตวอตช์สื่อสารกับสมาร์ตโฟนโดยส่งชุดข้อมูล (packets) ที่มีชื่อเรียกว่า Beacon ซึ่ง Beacon เหล่านี้จะเป็นตัวส่งสัญญาณบอกให้อุปกรณ์ในระยะสัญญาณรู้ถึงการมีอยู่ของสมาร์ตวอตช์ตัวนั้น ๆ   จากนั้น สมาร์ตโฟนเป้าหมายที่อยู่ในระยะการส่ง Beacon ก็จะตอบกลับด้วยคำขอสแกนข้อมูล ซึ่งสมาร์ตวอตช์ก็จะตอบคำขอนั้นด้วยการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น   ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า Generic Attribute Profile (GATT) ใน GATT จะมีรายละเอียดของอุปกรณ์ทั้ง ฟีเจอร์ ลักษณะ และบริการที่มี ทำให้อุปกรณ์ที่รับสัญญาณสามารถเข้าทำความเข้าใจและใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ของสมาร์ตวอตช์ได้  …

ผู้โดยสารป่วนเที่ยวบินมาเลเซีย อ้างมีระเบิด-สุดท้ายโดนรวบ

Loading

  เที่ยวบินของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ซึ่งมุ่งหน้าไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ถูกบังคับให้บินกลับไปที่สนามบินซิดนีย์ ของออสเตรเลีย เนื่องจากมีผู้โดยสารก่อกวน อ้างว่ามีระเบิด   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ว่า เครื่องบินโดยสารมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบินเอ็มเอช 122 พร้อมผู้โดยสาร 199 คน และลูกเรือ 12 คน เดินทางออกจากท่าอากาศยานซิดนีย์ เมื่อเวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันจันทร์ที่ผ่านมา   The 45-year-old man at the centre of the Malaysia Airlines stand-off at Sydney airport yesterday has been charged.@KateCreedon9 #9News pic.twitter.com/A5w2UYG6NK — 9News…

อิรักจะปลดแบน Telegram หลังเจ้าของแพลตฟอร์มยอมให้ความร่วมมือจัดการข้อมูลรั่ว

Loading

  รัฐมนตรีกระทรวงโทรคมนาคมของอิรักเผยว่าจะปลดแบน Telegram หลังเจ้าของแพลตฟอร์มยินดีทำตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยของรัฐบาลแล้ว   โดยรัฐบาลกล่าวว่าบริษัทที่เป็นเจ้าของ Telegram ยอมเผยข้อมูลขององค์กรที่ทำข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหลุดรั่วออกไป และยังแสดงความพร้อมที่จะสื่อสารกับรัฐบาลด้วย   Telegram ออกมาชี้ว่าการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นสิ่งที่ละเมิดข้อตกลงการใช้งานอยู่แล้ว และมักจะถูกนำออกโดยผู้ดูแลอยู่เสมอ อีกทั้งบริษัทยังไม่มีนโยบายที่จะมอบข้อมูลให้กับผู้ใดด้วย   ก่อนหน้านี้อิรักประกาศแบน Telegram โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยและการรั่วไหลของข้อมูลเจ้าหน้าที่รัฐบาลและประชาชนทั่วไป   สำนักข่าว Reuters ชีัว่า Telegram ได้รับความนิยมแพร่หลายในอิรักในฐานะที่เป็นสื่อกลางการสนทนาและแหล่งข้อมูลข่าวสาร บาง ‘ช่อง’ (Channel) ในแอปมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล     ที่มา   Reuters       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                      แบไต๋             …

สุดล้ำ! การชำระเงินแบบใหม่ในสหรัฐฯ แค่ “สแกนฝ่ามือ” ก็เรียบร้อย

Loading

  อีกขั้นของสังคมไร้เงินสด กับเทคโนโลยีของ “Amazon One” ชำระเงินง่าย ๆ ด้วยการ “สแกนฝ่ามือ” ไม่ต้องควักเงินในกระเป๋าให้ยุ่งยากอีกต่อไป   การจ่ายเงินเป็นเรื่องที่เราสามารถทำได้ง่ายขึ้นเรื่อย ๆ จากเมื่อก่อนที่ต้องใช้เงินสด ปัจจุบันก็มีช่องทางที่เป็นดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้แอปพลิเคชันทางการเงินต่าง ๆ การใช้บัตรเติมเงิน แต่ขณะนี้ที่สหรัฐฯ มีเทคโนโลยีการจ่ายเงินที่ล้ำกว่านั้น นั่นก็คือ “การสแกนฝ่ามือ”   นี่คือเทคโนโลยีของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง แอมะซอน (Amazon) ซึ่งใช้ชื่อว่า Amazon One เป็นเครื่องสแกนหน้าตาเหมือนที่เห็นได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้า แต่จากที่แตะบัตร ก็ใช้วิธีแตะมือเพื่อสแกนแทน   Amazon One ใช้ระบบไบโอเมตริกซ์ (Biometric) หรือการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพที่มีลักษณะเฉพาะตัวและไม่ซ้ำใคร โดยจะจดจำลายเส้นบนมือของแต่ละคนในการจำแนก่าใครเป็นใคร ทั้งยังอ่านโครงสร้างเส้นเลือดที่อยู่ใต้ฝ่ามือเพื่อความแม่นยำมากขึ้น เพราะมือของคนทุกคนนั้นมีความซับซ้อนมาก จึงไม่สามารถซ้ำกันได้อย่างแน่นอน   นอกจากนี้ข้อมูลยังถูกปกป้องไว้ด้วยระบบคราวด์ที่ชื่อ AWS Cloud ที่ได้รับการสนับสนุนโดยเครื่องมือรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์มากกว่า 300 รายการและคู่ค้าด้านความปลอดภัย 100,000 รายจากทั่วโลก   ในปัจจุบัน Amazon One…

Zoom ยอมถอย ระบุไม่นำข้อมูลผู้ใช้งานมาเทรน AI ทุกกรณี จากเดิมบอกเทรนได้ถ้า consent

Loading

  Zoom ประกาศแก้ไขรายละเอียดของเงื่อนไขการให้บริการ (term of service) อีกครั้ง หลังจากเนื้อหาที่ปรับปรุงก่อนหน้านี้ ระบุว่า Zoom มีสิทธินำข้อมูลผู้ใช้งานไปเทรน AI ได้ โดยข้อมูลสำคัญคือ เสียง วิดีโอ และแชท ต้องได้รับการยินยอมก่อน (consent)   ถึงแม้ประกาศนี้จะระบุชัดเจนว่าผู้ใช้งานต้องเป็นฝ่ายอนุญาตให้นำข้อมูลไปใช้งานก่อน แต่ข้อมูลส่วนอื่นนั้น Zoom บอกว่าสามารถนำไปเทรนได้เลย ก็ทำให้กระแสตอบกลับมาไม่ดีนัก   Zoom บอกว่าหลังได้รับความเห็นเพิ่มเติม Zoom จึงแก้ไขข้อความเงื่อนไขการให้บริการใหม่ โดยระบุว่าจะไม่นำข้อมูลเสียง วิดีโอ แชท การแชร์หน้าจอ ไฟล์แนบ หรือข้อมูลอื่นที่เป็นของผู้ใช้งานระหว่างการสนทนา เช่น โพลล์ ไวท์บอร์ด รีแอคชัน มาเทรน AI ของ Zoom หรือนำไปเทรนผ่านเครื่องมือของผู้ให้บริการอื่น ในทุกกรณี   อย่างไรก็ตามข้อมูลส่วนอื่นซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ระบบของ Zoom เองเช่น Telemetry, Product-Usage หรือ Diagnostic Data…