“นครฉงชิ่ง” เป็นเมืองแรกของจีน ใช้กฎต่อต้านการจารกรรมท้องถิ่น

Loading

    นครฉงชิ่ง เมืองใหญ่ของจีน ที่มีประชากรมากกว่า 32 ล้านคน บุกเบิกการใช้กฎหมายการต่อต้านการจารกรรมในวงกว้างของประเทศ ในรูปแบบท้องถิ่น โดยกำหนดให้สถาบันต่าง ๆ ต้องผ่านการคัดกรองด้านความปลอดภัย เมื่อมีการเดินทางไปต่างประเทศ   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ว่า กฎระเบียบดังกล่าว ซึ่งมี 29 มาตรา ครอบคลุมมาตรการต่อต้านการจารกรรมที่ถูกกำหนดและมีเป้าหมาย มากกว่ากฎหมายภายในประเทศในวงกว้าง รวมถึงการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด ในการแลกเปลี่ยน และการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ตลอดจนกำหนดให้สถาบันต่าง ๆ และบุคลากรที่ประจำการในต่างประเทศ ต้องพัฒนาแผนการรักษาความปลอดภัย   อนึ่ง จีนขยายขอบเขตกฎหมายต่อต้านการจารกรรมของประเทศ เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก โดยมีการดำเนินการอัปเดตในวงกว้าง รวมทั้งการห้ามถ่ายโอนข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ และขยายคำจำกัดความของการสอดแนม   The Standing Committee of the Chongqing Municipal…

‘สงครามโดรน’ ยกระดับข้ามพรมแดนรัสเซีย-ยูเครน

Loading

  A Ukrainian soldier launches a drone near Bakhmut, the site of fierce battles with Russian forces, in Ukraine’s Donetsk region, Sept. 3, 2023.   ยูเครนประกาศเพิ่มการผลิตโดรนในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ พร้อมเดินหน้ายกระดับการโจมตีด้วยโดรนภายในดินแดนของรัสเซีย   รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน โอเลกไซ เรซนิคอฟ กล่าวในวันอาทิตย์ว่า ยูเครนได้ปรับแก้กฎเกณฑ์เรื่องการผลิตโดรนใหม่ เพื่อให้สามารถใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทหารได้ง่ายขึ้น   ที่ผ่านมา ยูเครนใช้โดรนในการโจมตีรัสเซียทั้งทางอากาศและในทะเล มุ่งเป้าที่เครื่องบินทหารและเรือของรัสเซีย บางครั้งโดรนของยูเครนบินลึกเข้าไปโจมตีถึงกรุงมอสโก และเมืองซโคฟซึ่งอยู่ห่างไปจากพรมแดนของยูเครนราว 600 กม.   กระทรวงกลาโหมรัสเซียเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่แล้วว่า ได้ทำลายโดรนของยูเครนไปแล้ว 281 ลำในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนำโดรนมาใช้มากขึ้นในสงครามครั้งนี้   สัปดาห์ที่แล้ว ยูเครนส่งฝูงโดรนโจมตีรัสเซียซึ่งถือเป็นการรุกกลับครั้งใหญ่ที่สุดของยูเครนบนแผ่นดินรัสเซียนับตั้งแต่กองทัพรัสเซียเริ่มรุกรานยูเครนเมื่อ 18 เดือนก่อน   โดรนของยูเครนโจมตีใน…

บึมสนั่นสุไหงปาดี ทหารพัฒนาเจ็บ 2 นาย กัดฟันขับรถหนีดงโจรใต้

Loading

  หวังสังหาร โจรใต้เหิมหนัก ลอบบึมทหารพัฒนาขณะเดินทางเข้าพื้นที่เพื่อร่วมงานเสวนากาแฟยามเช้ากับหัวหน้าส่วนราชการ โดยแรงระเบิดทำให้ทหารเจ็บ 2 นาย ที่สุไหงปาดี จนท.คาดเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง     เมื่อเวลา 08.10 น. วันที่ 4 ก.ย. 66 ร.ต.ท.ชาญวิทย์ สิงห์ป้อง รอง สว.สอบสวน สภ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส รับแจ้งมีเหตุคนร้ายจุดชนวนระเบิดดักสังหารเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 41 บริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ริมถนนบ้านโต๊ะเด็ง ม.1 ต.โต๊ะเด็ง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 2 นาย และรถยนต์ได้รับความเสียหาย จึงพร้อมด้วย นายพงศ์เพชร มากเกื้อ นายอำเภอสุไหงปาดี พ.ต.อ.อัสรี ต่วนเพ็ง ผกก.สภ.สุไหงปาดี พ.อ.ภาคิน เกื้อกูล ผบ.ฉก.ทพ.48 พ.ต.ท.ธีระโชติ ปฐมวณิชกะ ผบ.ร้อย ตชด.447 เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด นปพ.กองกำกับการตำรวจภูธร จ.นราธิวาส และอโณทัย กองพิสูจน์หลักฐาน จ.นราธิวาส รวมทั้งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารฝ่ายปกครองจำนวนหนึ่งรุดเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ  …

รัฐบาลสหรัฐออกกฎใหม่ ลงดาบคนขายปืนไม่มีใบอนุญาต

Loading

  รัฐบาลวอชิงตันของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ดำเนินการครั้งสำคัญ เพื่อปิดช่องโหว่ที่อนุญาตให้ประชาชนขายปืนได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจะทำให้พวกเขาจำเป็นต้องตรวจสอบประวัติผู้ซื้อ สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ออกกฎโดยละเอียด ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายปฏิรูปการครอบครองอาวุธปืน ที่ไบเดนลงนามให้มีผลบังคับใช้เมื่อเดือน มิ.ย. 2565 เพื่อตอบสนองต่อการเสียชีวิตจากเหตุกราดยิงหลายครั้งทั่วประเทศ กฎใหม่ดังกล่าว มุ่งเป้าไปที่ช่องว่างในกฎหมาย ซึ่งช่วยให้ผู้ขายปืนหลีกเลี่ยงการได้รับใบอนุญาต โดยอ้างว่าไม่มีการทำเงินจากธุรกรรมข้างต้น, การขายหน้าร้าน หรือยอดขายที่เล็กน้อย ที่ทำให้พวกเขาได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดของตัวแทนจำหน่าย กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ระบุว่า จุดมุ่งหมายของกฎใหม่ คือ การบังคับให้ผู้ขายปืนตรวจสอบประวัติของผู้ซื้อ ในฐานข้อมูลระดับประเทศมากขึ้น เพื่อคัดแยกผู้กระทำความผิดอาญาร้ายแรง และบุคคลอื่นที่ถูกห้ามไม่ให้ครอบครองปืน รวมทั้งช่วยให้รัฐบาลสามารถติดตามอาวุธปืนที่จดทะเบียนได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย กฎใหม่ดังกล่าว มุ่งเป้าไปที่ช่องว่างในกฎหมาย ซึ่งช่วยให้ผู้ขายปืนหลีกเลี่ยงการได้รับใบอนุญาต โดยอ้างว่าไม่มีการทำเงินจากธุรกรรมข้างต้น , การขายหน้าร้าน หรือยอดขายที่เล็กน้อย ที่ทำให้พวกเขาได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดของตัวแทนจำหน่าย “สหรัฐมีจำนวนคนที่ทำธุรกิจขายอาวุธปืนเพื่อหากำไรมากขึ้น แต่พวกเขาเลือกที่จะไม่ลงทะเบียนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตของรัฐบาลกลางตามที่กฎหมายกำหนด และพยายามหารายได้จากการขายปืนแบบผิดกฎหมาย” นายสตีเวน เดตเทลบัค ผู้อำนวยการสำนักงานแอลกอฮอล์ ยาสูบ อาวุธปืน และวัตถุระเบิด…

สิงคโปร์กำหนดให้ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนติดกล้องวงจรปิดเดือน ก.ค.ปีหน้า

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สิงคโปร์เตรียมกำหนดให้ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนและศูนย์สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลต้องติดตั้งกล้องวงจรปิด โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค. 2567   สำนักงานพัฒนาเด็กปฐมวัยสิงคโปร์ระบุในแถลงการณ์ ณ วันที่ 31 ส.ค. ว่า ต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดเข้าใช้งานหลักและพื้นที่ที่เด็ก ๆ ใช้งาน เช่น ห้องเรียน ห้องกิจกรรมและพื้นที่เล่นของเด็กภายในศูนย์ และห้องนอนเด็กเล็ก   เมื่อเร็ว ๆ นี้ ครู 2 คนถูกจับกุมในข้อหาประพฤติมิชอบหรือจัดการกับเด็กภายใต้การดูแลอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งสำนักงานฯ ระบุว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัยตามปกติ และได้แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงแผนการบังคับใช้กล้องวงจรปิดตั้งแต่เดือน ก.พ.   สำนักงานฯ ระบุว่า ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนมากกว่า 60% และศูนย์ช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention Centres) ทุกแห่งของรัฐได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดในพื้นที่ต่าง ๆ ของตนเองเรียบร้อยแล้ว   ทั้งนี้ ผู้ปกครองสามารถเข้าถึงกล้องวงจรปิดได้เฉพาะในกรณีที่ต้องการหลักฐานอ้างอิงเพื่อชี้แจงความคิดเห็น หรือเพื่อช่วยเหลือในการสืบสวนเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นภายในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเท่านั้น     ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ / วันที่เผยแพร่…

“เกสตาโป” ตำรวจลับยุคฮิตเลอร์ ขาโหด-สอดส่อง-รวบตัวคนได้ทั่วแดนจริงหรือ?

Loading

    เยอรมนี ภายใต้ร่มเงา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นช่วงที่นักประวัติศาสตร์ล้วนอธิบายการเมืองการปกครองในห้วงนั้นว่าเป็นแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในระบอบนาซีคือหน่วย เกสตาโป (Gestapo) ตำรวจลับที่มีบทบาทสำคัญในการฝังความรู้สึกหวาดกลัวในหมู่พลเรือน คำถามคือ เรื่องนี้เป็นมายาคติ หรือเป็นเรื่องจริงที่มาจากหลักฐานอันมีน้ำหนักเพียงพอ? ในยุคนาซี ชาวเยอรมันคุ้นเคยกับการเรียกหน่วยงาน “ตำรวจ” ด้วยคำว่า Po เช่น ตำรวจฝ่ายอาชญากรรมเรียกว่า Kripo ตำรวจที่ดูแลรักษาความปลอดภัยเรียกว่า Sipo แต่ศัพท์เรียกหน่วยตำรวจซึ่งลือชื่อที่สุดต้องเป็นคำว่า “เกสตาโป” หรือ ตำรวจลับ ซึ่งเป็นคำที่จดจำยาวนานมาจนถึงวันนี้ ทั้งยังกลายเป็นคำศัพท์ที่สื่อถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกหวาดหวั่นในอำนาจการสอดส่องและการดำเนินการอันน่าสะพรึงกลัว การศึกษาเรื่อง “เกสตาโป” ยุคต้น งานศึกษา (เกี่ยวกับเกสตาโปและนาซี) โดยนักวิชาการผู้ศึกษาการเมืองในช่วงหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกิดขึ้นนอกอาณาเขตของเยอรมนี หนึ่งในผลงานที่ถูกกล่าวขานกันมากคืองานเขียน The Origins of Totalitarianism (หรือจุดกำเนิดของการปกครองแบบเผด็จการ) โดย ฮันนาห์ อาเรนด์ท (Hannah Arendt) เธอวิเคราะห์และอธิบายการปกครองแบบลัทธินาซีและลัทธิสตาลิน เธอบ่งชี้ว่า รัฐที่ปกครองในระบอบเผด็จการ “ทุกแห่ง” ล้วนพึ่งพิง “ตำรวจลับ” (secret…