ย้อนรำลึกถึงวันที่ 4 พ.ย. 1995 “ยิตซัก ราบิน” อดีตนายกฯอิสราเอล ที่เคยได้รางวัลโนเบลสันติภาพ ถูกลอบสังหาร และทำให้สันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ยังไม่เจอความสงบอย่างแท้จริงมาจนถึงทุกวันนี้
ในสถานการณ์ ณ ปี 2023 ที่ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่าย ๆ หลังจากเดินเกมสาดอาวุธใส่กันตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2023 และมีฉากหลังเป็นความเศร้าและความสูญเสีย ที่ไม่มีอะไรมาแทนได้
สันติภาพบนพื้นที่แห่งนี้ ดูเหมือนจะเลือนลาง มืดมนเหลือเกิน แต่ในความจริงแล้ว ใช่ว่าบนภูมิภาคที่มีไฟสงครามลุกลามตรงนี้จะไม่เคยเกิดสันติภาพเลย , เพราะอย่างน้อย ๆ ก็เคยมี ยิตซัก ราบิน อดีตผู้นำอิสราเอล (นายกฯ ลำดับที่ 5 ของประเทศ) กับ ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำ PLO จับมือกัน เป็นหลักฐานปรากฏเด่นชัด และอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์
อย่างน้อย ๆ พื้นที่แห่งนี้ ก็ช่วงเวลาที่ มี “ข้อตกลงออสโล (Oslo Accords)” ซึ่ง “ยัสเซอร์ อาราฟัต” เป็นผู้นำฝ่ายปาเลสไตน์ ผลักดันการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งกับอิสราเอล ซึ่งมี ยิตซัก ราบิน เป็นผู้นำ หลังมีปัญหากันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ อิสราเอล ตั้งประเทศ นั้น ก็เคยถือว่า เป็นช่วงเวลาดี ๆ ที่ทำไว้ด้วย
4 พ.ย. 1995 ยิตซัก ราบิน อดีตนายกฯอิสราเอล เคยได้โนเบลสันติภาพ ถูกลอบสังหาร Credit ภาพ Getty Image
ข้อตกลงออสโล คืออะไร ?
ทั้งนี้ หากจะมีคำถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับข้อตกลงออสโลนั้น เรื่องนี้ถือเป็นความตกลง 2 ฉบับระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization หรือ PLO) ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายปาเลสไตน์ ในอดีต
โดย “ข้อตกลงออสโล” ประกอบด้วยข้อตกลงออสโล 1 ลงนามที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 1993 และข้อตกลงออสโล 2 ลงนามที่เมืองทาบา อียิปต์ ในปี 1995
ข้อตกลงออสโลเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการออสโล โดยเป็นกระบวนการสร้างสันติภาพที่มุ่งบรรลุสนธิสัญญาสันติภาพที่อิงจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และสนอง “สิทธิของชาวปาเลสไตน์ในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง” กระบวนการออสโลเริ่มขึ้นหลังการเจรจาลับที่ออสโล นอร์เวย์ นำไปสู่การยอมรับรัฐอิสราเอลขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ และอิสราเอลยอมรับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นผู้แทนชาวปาเลสไตน์
โดยกระบวนการออสโลเริ่มขึ้นหลังการเจรจาลับที่กรุงออสโล จากนั้น “ยิตซัก ราบิน” นายกรัฐมนตรีอิสราเอล, “บิล คลินตัน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ณ เวลานั้น และ “ยัสเซอร์ อาราฟัต” ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ได้ร่วมพิธีลงนาม “ข้อตกลงออสโล” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 1993
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่า ทุกคนบนพื้นที่แห่งนี้ จะเห็นดีเห็นงาม ไปด้วยกับการที่ PLO กับ อิสราเอล ผูกมือเกี่ยวแขนกันแบบนี้ , เพราะในวันที่ 4 พ.ย. 1995 ได้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดแตกหักของสันติภาพ
สันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ยังไม่เจอความสงบอย่างแท้จริงมาจนถึงทุกวันนี้
เพราะวันนั้น ยิตซัก ราบิน ผู้นำอิสราเอล ที่ถวิลหาสันติภาพ ถูกลอบสังหารโดย ยิกัล เอเมียร์ (Yigal Amir) นักศึกษาชาวยิวฝ่ายขวาออร์ธอด็อกซ์ ในอิสราเอล ซึ่งต่อต้านและไม่เห็นด้วยข้อตกลงสันติภาพออสโล เพราะฝั่งขวานั้นกลุ่มที่ต้องการให้ ชาติอิสราเอลเข้มข้น รวมถึงพวกเขาไม่เอา ไม่อยู่ด้วยกับปาเลสไตน์ เพราะฝั่งขวา มองว่า ยิตซัก ราบิน ทรยศที่ยอมหยิบยื่นดินแดนที่ถือเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของชาวอิสราเอล
โดยเหตุการณ์ในวันนั้น วันที่ 4 พฤศจิกายน 1995 มีการชุมนุมปราศรัย เรื่องสันติภาพ และเรื่องข้อตกลงออสโล ที่เมืองหลวงเทล อาวีฟ , แต่ทว่า ขณะที่ ยิตซัก ราบิน กำลังจะเดินไปที่รถ ฉับพลัน ราบินก็ถูกกระสุนฝั่งร่าง 2 นัด (จากการยิง 3 นัด โดยกระสุนนัดที่ 3 โดนบอดี้การ์ดของนายราบิน ณ เวลานั้น)
โดยภายหลังนายราบิน เสียชีวิตลง หลังจากควันไฟปืนที่ทะลวงร่างกาย ของ ราบิน ไปพร้อม ๆ กับสันติภาพค่อย ๆ หายไป
ฉากทัศน์ การเมืองอิสราเอลในระยะหลังตกเป็นของกลุ่มฝ่ายขวาและกลุ่มการเมืองสายกลาง
พรรคแรงงานของ ยิตซัก ราบินในอิสราเอลไม่สามารถหาผู้นำทางการเมืองที่จะมานำเสนอทางเลือกแบบที่ราบิน เคยกระทำไว้ ซึ่งต้องอาศัยทักษะที่ผสมผสานกันระหว่างความมุ่งมั่นที่จะประนีประนอมเพื่อสันติ กับความน่าเชื่อถือและพลังทางการเมืองที่มากพอสำหรับขับเคลื่อนแนวทางนี้
4 พ.ย. 1995 ยิตซัก ราบิน อดีตนายกฯอิสราเอล เคยได้โนเบลสันติภาพ ถูกลอบสังหาร
ช่วงชีวิตของยิตซัก ราบินนั้น , เขาเป็นนายกฯอิสราเอลคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดบนแผ่นดินอิสราเอล ณ ปัจจุบัน เพราะก่อนหน้านั้น นายกฯทั้ง 4 คนของอิสราเอลเกิดบนผืนแผ่นดินที่อื่นทั้งหมด (ทั้งเดวิด เบน-กูเรียน ,โมเช่ ชาเร็ตต์,เลวี เอสกอล และ หญิงเหล็ก โกลด้า เมอีร์
เขาเคยได้รับตำแหน่งบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ในปี 1993 และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับ ชิมอน เปเรสและยัสเซอร์ อาราฟัตในปี 1994
ยิตซัก ราบิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลที่ถูกลอบสังหาร และเป็นคนที่สองที่ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง
ที่มา theguardian
Credit ภาพ Photo By Getty Images
————————————————————————————————————————————-
ที่มา : สปริงนิวส์ / วันที่เผยแพร่ 2 พ.ย.66
Link : https://www.springnews.co.th/news/hot-issue/844856