ดันข้อเสนอเกิดเมืองอัจฉริยะเพิ่มพร้อมสิทธิพิเศษด้านภาษีเพิ่มเติม ชู 5 เสาหลักเมืองอัจฉริยะอาเซียนต้องมีก่อนขึ้นทะเบียน เร่งผลักดันให้เกิดการขึ้นทะเบียนบริการบัญชีดิจิทัลหัวใจสำคัญของสมาร์ทซิตี้ในอนาคต
ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า หากพูดถึงโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันรูปแบบพิรามิด ประกอบด้วยฐานล่างสุดเกษตรกร 8-12 ล้านคนสัดส่วนจีดีพีน้อยมาก ถ้าไม่ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพิ่มจีดีพียาก ส่วนตรงกลางหรือผู้ประกอบการ SME จำนวน 3 ล้านรายหรืออาจถึง 5-6 ล้านราย ยังสามารถทำจีดีพีได้นิดเดียว 35-40% ส่วนบนสุดของพิรามิดคือยักษ์ใหญ่มีสัดส่วนจีดีพีถึง 50% คำถามของความเป็น “เมืองอัจฉริยะ” หรือ สมาร์ทซิตี้ ก็คือ คนระดับล่าง ๆ หรือ ผู้ประกอบการ SME หรือ ประชาชนส่วนใหญ่ 10 กว่าล้านคนของพิรามิดจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างไร
ในขณะที่เมืองไทยในทุกพื้นที่จะต้องเตรียมพบกับ 4 ยุคสมัย คือ
1. ยุคของ Big Data blockchains และ AI
2. Automation/IoT
3. Access Cyber security
4. CONNECT ยุคสมัยต่าง ๆ จะมารวมกันอยู่ในยุคนี้ เกิดการเชื่อมต่อกันระหว่างกลุ่มธุรกิจใหม่และเก่าเกิดเป็น Global Supply Chain
นโยบายในการขับเคลื่อน 3 ประการของดีป้า
สิ่งแรกที่ดีป้าให้ความสำคัญคือทุนมนุษย์ ทั้งการ Reskill-Upskill คนไทยทั้งหมด สองคือ ทำอย่างไรให้ธุรกิจดั้งเดิมให้สามารถทรานฟอร์มรวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่จะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วยทั้งเกม ซอฟต์แวร์ แอนิเมชัน หรือ เอไอ ดังนั้นกลุ่มเหล่านี้จะกลายเป็นฟันเฟืองสำคัญในกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจดั้งเดิมสู่เศรษฐกิจใหม่
อีกประการคือ การสร้างความเจริญให้กับฐานรากหรือประชนชนที่อยู่ด้านล่างของพิรามิดทั้งในระดับคอมมูนิตี้และระดับเกษตรกร สุดท้ายคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ 1. Blockchain as a Service 2. Big data as a service และ 3.AI as a service ซึ่งตอนนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
เรามีชุดคณะกรรมการสมาร์ทซิตี้ชาติทำงานในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ คณะทำงานชุดที่ 2 มีรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะทำงานย่อย ๆ โดยดีป้ากระบวนการทำงาน คือมีเมืองเดิมและมีเมืองใหม่ที่เริ่มจากศูนย์ เมืองเดิมคือเมืองที่หน้าอยู่มากขึ้นทั้งในรูปแบบของจังหวัด เทศบาล และ อบต.
โดยกล่าวถึงการนำเสนอพื้นที่หรือจังหวัดเข้าสู่โครงการสมาร์ทซิตี้ตามมาตรฐานในภาคพื้นอาเซียนจะต้องมีคุณสมบัติหลัก 5 ประการในการเป็นเมืองอัจฉริยะ ว่าจะต้องทำตามหลักการต่อไปนี้
1. ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า หนึ่งปีสองปีสามปีสี่ปีจะทำอะไร เช่น เมืองคยองจี ของเกาหลีตั้งเป้าหมายอยากเป็นเมืองอัจฉริยะด้านสตาร์ทอัพใช้เวลา 10 ปีแต่มีการวัดผลทุก 3-4 ปี
2. จะต้องออกแบบเมืองในงบลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา และเรื่องของดิจิทัล ถ้าไม่มีก็ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ของการเป็นเมืองอัจฉริยะในการขอรับสิทธิ ไม่ว่าจะระดับจังหวัด เทศบาล อบต จะต้องมีเรื่องของการลงทุนในทุกมิติ
3. สำคัญมากต้องมีการวางแผนมีการจัดการให้เมืองนั้น ๆ มีดาต้าจะมาทั้งสถิติ หรือ ดาต้า จากเรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองบางเมืองเริ่มเก็บภาพแต่ไม่ลิงค์กัน บางเมืองเริ่มใช้เซ็นเซอร์แต่ไม่ลิงค์กัน เพราะฉะนั้นแผนงานในการพัฒนาดาต้าต้องมาเป็นแพ็คเกจ
4. ทุกเมืองจะต้องทำตามมาตรฐาน 7 ประการ คือ 7 สมาร์ท แต่ 7 ข้อนี้ แต่บางเมืองอาจจะมีแค่สองสามสี่ หรือ หนี่งหรือสอง แต่ความจริงต้องมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมบวกหนึ่งเป็นสอง แต่ละเมืองต้องเลือก First Priority ของการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้มาก่อน เพราะแต่ละเมืองไม่ เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องทำให้ครบทั้ง 7 ด้าน และ 5.สุดท้ายเน้นเอกชนลงทุนมากกว่ารัฐ นี่คือกระบวนการที่เกิดขึ้นในเมือง
และพูดถึงบริการขึ้นบัญชีบริการดิจิทัลที่มีมาตรฐาน หรือ การขึ้นทะเบียนมาตรฐานเทคโนโลยี ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยได้แสดงความสามารถผ่านการพัฒนาสินค้าหรือบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับสากล มีราคาที่สมเหตุสมผล และถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาคประชาชน
บทความโดย ปานฉัตร สินสุข
————————————————————————————————————————————-
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ 20 พ.ย. 2566
Link : https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1099702