ญี่ปุ่นเรียกทูตจีนเข้าพบ กรณีชาวจีนรุมโทรข่มขู่ปมน้ำเสียฟุกุชิมา

Loading

  ชาวฮ่องกงประท้วงแผนการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาลงสู่ทะเล   ทางการญี่ปุ่นเรียกตัวเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงโตเกียวเข้าพบในวันจันทร์ เพื่อประท้วงเหตุการณ์ที่มีชาวจีนจำนวนมากรุมโทรศัพท์ไปยังบริษัทและร้านค้าในญี่ปุ่นหลายแห่ง สืบเนื่องจากโครงการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาลงสู่ทะเล   รองรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น มาซาตากะ โอกาโน กล่าวกับทูตจีน หวู เจียงหาว ว่าทางการจีนควรแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างถูกต้อง “แทนที่จะสร้างความกังวลในหมู่ประชาชนโดยไม่จำเป็น ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่อยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์”   เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จีนประกาศใช้มาตรการห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทุกประเภท หลังจากที่ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำที่ใช้ในการหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ปรมาณูที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาซึ่งได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหวเมื่อปี 2011   ตั้งแต่นั้น ธุรกิจต่าง ๆ ในญี่ปุ่น ตั้งแต่ร้านอาหารไปจนถึงพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ รายงานว่าได้รับโทรศัพท์หลายพันครั้งจากหมายเลขที่อยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ และหลายครั้งที่ถูกข่มขู่คุกคามจากต้นสายโทรศัพท์   ภาพถ่ายทางอากาศของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมา ไดอิจิ   รองรัฐมนตรีโอกาโน กล่าวกับทูตจีนว่า “ตั้งแต่เริ่มมีการปล่อยน้ำเสีย มีโทรศัพท์เข้ามาจำนวนมากรวมถึงการละเมิดในรูปแบบอื่น ๆ ที่คาดว่ามีต้นทางมาจากจีน” และว่า “เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันยังเกิดขึ้นกับธุรกิจต่าง ๆ ของชาวญี่ปุ่นในประเทศจีน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียใจและน่ากังวลอย่างยิ่ง”   เมื่อวันอาทิตย์ สถานทูตญี่ปุ่นประจำกรุงปักกิ่งมีประกาศเตือนประชาชนของตนที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนให้ระวังภัยและอย่าแสดงตัวโจ่งแจ้งว่าเป็นคนญี่ปุ่น   ต่อมาในวันจันทร์ สถานทูตญี่ปุ่นแจ้งว่าได้มีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามโรงเรียนญี่ปุ่นและภารกิจด้านการทูตของญี่ปุ่นในจีนแล้วเช่นกัน หลังจากมีรายงานจากสื่อญี่ปุ่นว่า มีการปาก้อนหินและไข่ใส่โรงเรียนญี่ปุ่นในประเทศจีนหลายแห่ง   ชาวเกาหลีใต้ในกรุงโซล…

‘เทคโนโลยี’ กับการสร้าง ความปลอดภัยให้สังคม

Loading

  ‘สภาพแวดล้อม’ ที่ปลอดภัยถือเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐาน ที่ช่วยสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี ให้ผู้คนในสังคม โดยเฉพาะ “ความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ” (Public Safety) หนึ่งในประเด็นที่คนในสังคมให้ความสำคัญ   เนื่องจากช่วยสร้างความมั่นใจและความอุ่นใจในการใช้ชีวิต ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และส่งผลดีต่อการพัฒนาทางธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน   นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ สหประชาชาติกำหนดให้การ “ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความเสมอภาค ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน” (Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable) เป็นหนึ่งใน ‘เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’ (Sustainable Development Goals: SDGs)   แม้ปัจจุบันหลายองค์กรจะให้ความสำคัญกับการยกระดับความปลอดภัยสาธารณะ แต่ปัญหาอาชญากรรมและอุบัติเหตุในรูปแบบต่าง ๆ ก็ยังคงมีให้เห็นกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยจึงได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยเสริมความรวดเร็วและความแม่นยำในการป้องกันและยับยั้งภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น เทคโนโลยีระบบสื่อสารฉุกเฉิน (Emergency Communication Systems) ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ อาทิ…

กบฉ.ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจังหวัดชายแดนใต้อีก 3 เดือน และเร่งฟื้นฟูประชาชนจากเหตุโกดังพลุระเบิด

Loading

  วันที่ 28 ส.ค.66 พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (กบฉ.) ครั้งที่ 3/2566 ที่ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference System) โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมประชุมด้วย   โดยที่ประชุมรับทราบผลการปฎิบัติงานตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ช่วงวันที่ 20 มิ.ย.66 ถึง 20 ส.ค.66 ซึ่งแนวโน้มของสถานการณ์มีความสงบเรียบร้อยมากขึ้นตามลำดับ และมีสถิติการก่อเหตุความรุนแรงลดลง สามารถพัฒนาไปสู่การปรับลดพื้นที่ออกจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้มากขึ้น พล.อ.ประวิตร ได้กำชับหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ ให้เข้มงวดตรวจสอบโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารประกอบระเบิด พร้อมกับให้เร่งรัดการช่วยเหลือฟื้นฟูประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โรงงานพลุดอกไม้เพลิงระเบิดโดยเร็วด้วย   ที่ประชุม กบฉ. ยังมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.)ภาค 4 ส่วนหน้า ปรับลดพื้นที่ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ออกจากพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อนำ…

บึ้ม-ยิงรถลาดตระเวนร่วม “ตร.-อส.” ที่ยะรัง ปัตตานี

Loading

  คนร้ายไม่ทราบจำนวนดักโจมตีรถยนต์ชุดลาดตระเวนร่วม ตำรวจ-อส. ทั้งยิงทั้งระเบิดที่ยะรัง ปัตตานี ก่อนปะทะเดือด เผยพฤติการณ์สุดอุกอาจก่อเหตุหลังวัด เบื้องต้นกำลังพลพลีชีพ 1 นาย บาดเจ็บอีก 4   เมื่อเวลาประมาณ 22.50 น. วันจันทร์ที่ 28 ส.ค.66 มีรายงานว่าเกิดเหตุระเบิดและซุ่มยิงรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนร่วม ตำรวจกับ อส. (อาสารักษาดินแดน) จาก สภ.ยะรัง และ อส.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยจุดเกิดเหตุเป็นบริเวณด้านหลังวัดสุขาวดี หมู่ 3 ต.ยะรัง อ.ยะรัง หลังจากนั้นมีการยิงปะทะกันอย่างดุเดือด เสียงปืนดังยาวหลายนาที   เบื้องต้นมีรายงานความสูญเสีย มี อส.เสียชีวิต 1 นาย ทราบชื่อคือ อส.ชาญวิทย์ ดอเลาะ นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บอีก 4 นาย ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าเป็นตำรวจ หรือ อส. หรือทั้งสองหน่วย   หลังเกิดเหตุโจมตีรถยนต์ของชุดลาดตระเวนร่วมฯ ปรากฏว่ายังมีเหตุรุนแรงอื่น ๆ…

ชายชาวสวีเดนถูกตั้งข้อหาดำเนินกิจกรรมข่าวกรองที่ผิดกฎหมายต่อสวีเดนและสหรัฐฯ

Loading

สำนักงานความมั่นคงตำรวจสวีเดนจับกุมผู้ต้องสงสัย เมื่อ พ.ย.65 ภาพ : Fredrik Sandberg/TT/EPA   เมื่อ 28 ส.ค.66 อัยการสวีเดนตั้งข้อหา นาย Sergei Skvortsov ดำเนิน “กิจกรรมข่าวกรองที่ผิดกฎหมายต่อสวีเดนและสหรัฐฯ” ตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2565   เนื่องจากต้องสงสัยว่าได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความละเอียดอ่อนของสวีเดนไปยังรัสเซีย ที่อาจนำไปใช้เพิ่มขีดความสามารถทางทหารของรัสเซียได้ และยังต้องสงสัยว่าจัดซื้อเทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากสหรัฐฯ แล้วส่งต่อไปยังรัสเซียผ่านทางสวีเดน โดยใช้ช่องทางทางธุรกิจ โดยนาย Skvortsov ได้ถูกจับกุมและควบคุมตัวตั้งแต่ พ.ย.65   ศาลแขวงสตอกโฮล์ม ระบุว่า การพิจารณาคดีจะมีขึ้นในวันที่ 4 – 25 ก.ย.66 โดยบางครั้งจะจัดแบบปิด เนื่องจากเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ นาย Skvortsov อายุ 60 ปี เป็นบุคคลสองสัญชาติ เขาเกิดในรัสเซียและอพยพมาอยู่สวีเดนเป็นเวลา 25 ปี โดยมีสัญชาติสวีเดนตั้งแต่ปี 2555   นาย…

ปูตินออกกฤษฎีกา สั่งทหารรับจ้างรัสเซียต้องสาบานภักดีต่อประเทศ

Loading

  วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียลงนามกฤษฎีกา เรียกร้องให้ทหารรับจ้างของรัสเซียทุกคนสาบานตนว่าจะภักดีต่อประเทศ ไม่กี่วันหลังจากหัวหน้ากลุ่มวากเนอร์ เครื่องบินตกเสียชีวิต   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ออกกฤษฎีกาเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ส.ค. 2566 เรียกร้องให้ลูกจ้างของบริษัททหารรับจ้าง วากเนอร์ รวมถึง ทหารสัญญาจ้างเอกชนของรัสเซียทุกคน ต้องกล่าวคำปฏิญาณตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศ โดยให้มีผลในทันที   กฤษฎีกาดังกล่าวจะมีผลต่อทุกคนที่ร่วมทำกิจกรรมทางทหารในยูเครน ช่วยเหลือกองทัพ และรับใช้กองกำลังป้องกันดินแดน   ความเคลื่อนไหวของปูตินเกิดขึ้นเพียง 2 วัน หลังจาก นายเยฟเกนี ปริโกซิน ผู้ก่อตั้งบริษัท วากเนอร์ กรุ๊ป เสียชีวิตในเหตุเครื่องบินตกทางเหนือของกรุงมอสโก พร้อมกับผู้โดยสารและลูกเรืออีก 9 ราย โดยนักวิเคราะห์มองว่า นี่เป็นความพยายามล่าสุดเพื่อควบคุมกลุ่มวากเนอร์ในแน่นขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุกบฏเหมือนเมื่อเดือนมิถุนายนอีก   อีกด้านหนึ่ง กลุ่มทหารรับจ้างขวาจัดในบริษัทวากเนอร์ ชื่อว่า ‘รูสิช’ (Rusich) ออกมาประกาศในวันเสาร์ที่ 26 ส.ค. ว่า พวกเขากำลังยุติปฏิบัติการทางทหารในยูเครน และกล่าวหากระทรวงต่างประเทศรัสเซียว่า…