เจาะลึก!! กฎหมาย Digital Platform Services ใครได้ ใครเสียประโยชน์

Loading

  พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 นี้ เป็นอีกหนึ่งกฏหมายที่ถูกปรับมาให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ คนที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลควรต้องรู้ !!!!   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอรนิกส์ หรือ ETDA เปิดข้อมูลอินไซต์ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าในมุมของผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างผู้ให้บริการ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพตลฟอร์มดิจิทัลนั้น คงติดตามความเคลื่อนไหวและมีการทำความเข้าใจกับกฎหมายฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง   กฎหมายฉบับนี้ ได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เปิดรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนรวบรวมประเด็นเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกฎหมายซึ่งได้มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง     จาก…

การ์ทเนอร์ เปิด 5 เทรนด์ กำหนดอนาคต ยก ‘AI Cloud Data science’ สะเทือนโลก

Loading

  การ์ทเนอร์ เผยแนวโน้มสำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตของวิทยาศาสตร์ข้อมูลและแมชีนเลิร์นนิ่ง ผลจากวิวัฒนาการและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยของข้อมูลในปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจโฟกัสการลงทุน Generative AI   ปีเตอร์ เครนสกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า แมชีนเลิร์นนิ่งยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขณะเดียวกัน DSML (Data Science and Machine Learning) กำลังพัฒนาจากเดิมที่มุ่งเน้นโมเดลการคาดการณ์ (Predictive Models) ไปเป็นให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้างขึ้น ไดนามิก และเน้นข้อมูลเป็นหลัก   รวมถึงได้รับแรงหนุนจาก Generative AI แม้อาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้น แต่ก็มีความสามารถและช่วยสร้างยูสเคสการใช้งานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและองค์กร     เดินหน้าสู่ ยุคใหม่แห่งข้อมูล   การ์ทเนอร์รวบรวม 5 แนวโน้มสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของ DSML ไว้ดังนี้   เทรนด์ที่ 1: Cloud Data Ecosystems : Data…

ฝรั่งเศสระทึก อพยพคนจากหอไอเฟล หลังโดนขู่วางระเบิด

Loading

  ตำรวจฝรั่งเศสดำเนินการอพยพผู้คนออกจากหอไอเฟลและพื้นที่โดยรอบ หลังมีการขู่วางระเบิด และต้องปิดหอเพื่อตรวจสอบนานหลายชั่วโมง   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เจ้าหน้าที่ของประเทศฝรั่งเศสต้องอพยพผู้คนออกมาจากทั้ง 3 ชั้นของหอไอเฟล ในกรุงปารีส รวมถึงจากลานโดยรอบ และต้องเปลี่ยนเส้นทางสัญจรของรถยนต์ เมื่อเวลาประมาณ 12.15 น. วันเสาร์ที่ 12 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น หลังจากมีการขู่วางระเบิด   ตำรวจตั้งแนวกั้นรักษาความปลอดภัยอย่างรวดเร็ว ในขณะทีมเก็บกู้ระเบิดถูกส่งมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ก่อนจะยกเลิกการเฝ้าระวังในเวลา 15.30 น. และเปิดให้ผู้คนเข้าพื้นที่หอไอเฟลอีกครั้ง   บริษัท SETE ซึ่งเป็นบริหารหอไอเฟล บอกกับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการตามปกติเมื่อเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย   ทั้งนี้ ครั้งล่าสุดที่ตำรวจฝรั่งเศสต้องอพยพผู้คนและปิดหอไอเฟลเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2563 หลังมีสายนิรนามโทรศัพท์หาตำรวจและขู่ระเบิดตัวเองที่หอคอยแห่งนี้ ขณะที่ในปี 2562 ก็เกิดการอพยพหอไอเฟลเช่นกัน หลังพบว่ามีชายคนหนึ่งพยายามปีนหอจากด้านนอก     ที่มา : euronews      …

รัสเซียเผยยูเครนยิงขีปนาวุธ ถล่มสะพานเคิร์ชในไครเมียซ้ำ

Loading

  รัสเซียเผยยูเครนยิงขีปนาวุธ โจมตีสะพานเคิร์ชในภูมิภาคไครเมียอีกครั้ง แต่ถูกสกัดเอาไว้ได้   เจ้าหน้าที่รัสเซียเปิดเผยว่ายูเครนยิงขีปนาวุธ โจมตีสะพานเคิร์ชในภูมิภาคไครเมียอีกครั้ง แต่ถูกสกัดเอาไว้ได้ทั้งหมด โดยที่ไม่สร้างความเสียหายใด ๆ   นาย เซอร์เกย์ อักซิโยนอฟ (Sergey Aksyonov) ผู้ว่าการแคว้นไครเมีย เปิดเผยว่าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (วันเสาร์) เวลาประมาณ 10.00 น. โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศได้ยิงสกัดขีปนาวุธยูเครน 2 ลูกที่พุ่งเป้าโจมตีสะพานเคิร์ช ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่รัสเซียกับภูมิภาคไครเมีย     อักซิโยนอฟ ยืนยันว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นไม่ได้สร้างความเสียหายแต่อย่างใด ๆ และไม่มีใครได้อันตรายจากเหตุการณ์นี้ แต่มีรายงานว่าสะพานเคิร์ช ได้ถูกปิดเป็นเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะกลับมาเปิดให้สัญจรได้ตามปกติแล้ว   ขณะที่ นาง มาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียประณามเหตุโจมตีสะพานเคิร์ชเมื่อวานนี้เป็นการก่อการร้ายที่ทำให้ชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธ์ตกอยู่ในความเสี่ยง โดยรัสเซียจะดำเนินมาตรการตอบโต้อย่างแน่นอน   ขณะเดียวกันกระทรวงกลาโหมรัสเซียยังเปิดเผยว่ายูเครนยังส่งฝูงโดรนอีก 20 ลำ โจมตีเป้าหมายในภูมิภาคไครเมีย แต่ระบบป้องกันภัยทางอากาศและระบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถสกัดกั้นได้ทังหมดเช่นกัน   สำหรับภูมิภาคไครเมีย ริมชายฝั่งทะเลดำ ซึ่งรัสเซียยึดมาจากยูเครนตั้งแต่ปี 2014 ตกเป็นเป้าโจมตีหลายครั้ง…

SanDisk SSD ข้อมูลหายไร้เหตุผล แม้จะเป็นของใหม่จากโรงงาน

Loading

  นักข่าวต่างชาติเจอเองกับตัว ส่งเคลมได้ตัวใหม่จากโรงงาน SanDisk SSD ข้อมูลหายไร้เหตุผล แม้จะมีเฟิร์มแวร์อัปเดตมาแล้วก็ตาม   เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศ อย่าง The Verge , arstechnica และ The Tech News Space รายงานตรงกันว่า SanDisk SSD ของ SanDisk แบรนด์ลูกของ Western Digital ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์และที่เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ชื่อดัง ทำข้อมูลหายแบบไร้เหตุผล   Vjeran ผู้สื่อข่าว ของสำนักข่าว The Verge สูญเสียไฟล์วิดีโอข่าวกว่า 3TB (ราว 3,000 GB) ที่เก็บไว้ใน SSD ยี่ห้อ SanDisk ซึ่งไดร์ฟดังกล่าวเป็นไดร์ฟใหม่ที่เพิ่งไปเคลมกับโรงงานด้วย เพราะ อันเก่าไฟล์หายไร้เหตุผลเหมือนกัน   ทีมข่าวสำนักข่าวต่างประเทศ ทดลองอัปเดตเฟิร์มแวร์ ที่ Western Digital ปล่อยออกมาช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากสำนักข่าวนั้นเจอปัญหานี้…

เตือนภัย AI ขโมยรหัสผ่าน ใช้เสียงแป้นพิมพ์ แม่นยำ 95% แนะใช้สแกนหน้า-นิ้วแทน

Loading

  AI ในปัจจุบันได้พัฒนาไปไกลมาก นักวิจัยจาก Cornell University ได้ค้นพบว่า AI สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยใช้การจับเสียงจากแป้นพิมพ์ ซึ่งสามารถขโมยรหัสผ่านด้วยความแม่นยำถึง 95%   AI หรือปัญญาประดิษฐ์ อาจไม่ได้มีแค่ข้อดีเพียงอย่างเดียว แต่ AI ในอนาคตอาจกลับมาทำร้ายเราได้หากเราไม่รู้จักและเข้าใจมันมากพอ ซึ่งนักวิจัยจาก Cornell University ได้ทำการทดลองและวิจัยการใช้ AI เพื่อขโมยรหัสผ่านและปรากฏว่ามันสามารถทำได้แม่นยำถึง 95% เลยทีเดียว   นักวิจัยได้ฝึกโมเดล AI เกี่ยวกับเสียงการกดแป้นพิมพ์และปรับใช้บนโทรศัพท์ที่อยู่ใกล้ไมโครโฟนในตัว ซึ่งปัญญาประดิษฐ์จะฟังการกดแป้นพิมพ์บนอุปกรณ์ Macbook Pro และสามารถแกะรหัสผ่านด้วยความแม่นยำ 95% ซึ่งเป็นความแม่นยำสูงสุดที่นักวิจัยเคยเห็นโดยไม่ต้องใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่   ทีมวิจัยยังได้ทดสอบความแม่นยำระหว่างการโทรผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ซึ่งบันทึกการกดแป้นพิมพ์ด้วยไมโครโฟนของแล็ปท็อปในระหว่างการประชุม ในการทดสอบนี้ AI มีความแม่นยำถึง 93% ในการสร้างการกดแป้นพิมพ์ซ้ำ ใน Skype โมเดลมีความแม่นยำ 91.7% เรียกได้ว่า AI สามารถแกะรหัสผ่านได้แม่นยำมาก   วิธีแก้การโจมตีนี้คือให้หลีกเลี่ยงการล็อกอินโดยใช้รหัสผ่าน…