หนักกว่าที่คิด!! FBI ผงะพบมือปล่อยข่าวกรองลับเพนตากอน “แชร์ข้อมูล” กับคนอาศัยในต่างประเทศ

Loading

  เอเจนซีส์/เอพี – FBI สอบปากคำพบทหารเนชันแนลการ์ดรัฐแมสซาชูเซตส์ วัย 21 ปี จ่าอากาศเอกแจ็ค ทาเซียรา (Jack Teixeira) ยอมรับว่าได้แชร์ความลับทางการทหารสหรัฐฯ ให้ไม่ต่ำกว่า 1 คนที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศผ่านกลุ่มแชตแพลตฟอร์ม Discord ท่ามกลางวิตกว่า ความลับสุดยอดทางการทหารจะรั่วไปถึงคนต่างชาติที่อาจเป็นอริกับอเมริการะหว่างสงครามยูเครนกำลังระอุ เกิดขึ้นหลังเมื่อต้นปีอัยการสหรัฐฯ พบ ทาเซียราเคยพูดว่าต้องการสังหารหมู่หากมีหนทาง   CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานวันนี้ (9 ส.ค.) ว่า คำฟ้องที่ยื่นต่อศาลเมื่อไม่นานมานี้พบว่า จ่าอากาศเอกแจ็ค ทาเซียรา (Jack Teixeira) วัย 21 ปี มือปล่อยข่าวกรองลับสหรัฐฯ จนกลายเป็นข่าวไปทั่วโลกได้รับสารภาพในการสอบสวนของ FBI ว่า เขาได้เปิดเผยความลับให้คนที่อาศัยอยู่ในต่างแดนไม่ต่ำกว่า 1 คนได้รู้ระหว่างการแชตในกลุ่ม   ทั้งนี้ พบว่าไม่ต่ำกว่า 3 เซิร์ฟเวอร์ของแพลตฟอร์มแชต Discord ที่ทาเซียราได้เผยความลับข่าวกรองทางทหารสหรัฐฯ นั้นพบว่า มี 1 เซิร์ฟเวอร์มียูสเซอร์เป็นชาวต่างชาติรวมอยู่ในกลุ่มแชตจำนวน…

ก.ล.ต.สหรัฐฯ สั่งปรับหมื่นล้าน แบงก์-โบรกเกอร์ ใช้แชตส่วนตัวคุยงาน

Loading

  ตำรวจตลาดหุ้น หรือ ก.ล.ต.สหรัฐฯ สั่งปรับ แบงก์-โบรกเกอร์ นับสิบเพราะใช้แชตส่วนตัวคุยงาน รวมค่าปรับทั้งหมดร่วมหมื่นล้าน   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (ก.ล.ต.สหรัฐฯ) สั่งปรับธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เป็นเงินราว 10,088 ล้านบาท (289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โทษฐานละเมิด กฎหมายตลาดหลักทรัพย์ (Securities Exchange Act of 1934)   ตำรวจตลาดหุ้น (ก.ล.ต.สหรัฐฯ) สืบพบว่า บริษัทในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ 11 แห่ง ใช้แชตส่วนตัวคุยงานกับลูกค้า โดยใช้แอปฯ อย่าง iMessage และ WhatsApp     ใช้แชตส่วนตัวคุยงานมันผิดอะไร ?   ก.ล.ต.สหรัฐฯ ระบุว่า ธนาคารและบริษัทโบรเกอร์ที่ถูกปรับ ละเมิดกฎหมายของตลาดหลักทรัพย์ ที่ว่าด้วยการใช้ระบบติดต่อสื่อสารที่ไม่สามารถตรวจสอบและเก็บประวัติการคุยตามที่กฎหมายกำหนด   โดยผู้ปฎิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ถูกบังคับด้วยกฎหมายที่จะต้องเก็บประวัติการคุยกับลูกค้าไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่า มีการทุจริตในการสื่อสารกับลูกค้าหรือไม่ ? และเป็นหลักฐานในการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นด้วย  …

กกต. สหราชอาณาจักรเผยแฮ็กเกอร์ทำข้อมูลรั่ว หน่วยข่าวเชื่อเป็นฝีมือรัสเซีย

Loading

  คณะกรรมการการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรออกมาขอโทษกรณีพบการแฮ็กที่มีความซับซ้อนโดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ในเดือนตุลาคม 2022 แต่การแฮ็กจริงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 แล้ว   การแฮ็กนี้ทำให้ข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่อและที่อยู่ระหว่างปี 2014 – 2022 หลุดออกมา   สำนักข่าว The Times และ The Telegraph เผยว่าบรรดาหน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักรพบหลักฐานที่เชื่อมยังการโจมตีเข้ากับรัฐบาลรัสเซีย   เซอร์ เดวิด โอมานด์ (Sir David Omand) อดีตผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารรัฐบาล (GCHQ) ซึ่งเป็นหน่วยงานข่าวกรองสัญญาณของสหราชอาณาจักร เชื่อว่ารัสเซียน่าจะอยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ เช่นเดียวกับ เซอร์ ริชาร์ด เดียร์เลิฟ (Sir Richard Dearlove) อดีตผู้อำนวยการ MI6 ที่กล่าวในลักษณะเดียวกัน   กรณีนี้ทำให้เกิดความกังวลว่า กกต. อาจไม่สามารถเข้าถึงรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ทางองค์กรชี้ว่าความเสี่ยงที่การแฮ็กดังกล่าวจะส่งผลต่อการเลือกตั้งนั้นมีน้อยนิด เพราะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทำด้วยกระดาษ   อย่างไรก็ดี ชอน แม็กแนลลี (Shaun McNally) ประธาน กกต.…

CAC ยกร่างกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

  สำนักงานไซเบอร์สเปซจีน (CAC) เผยว่าได้ยกร่างกฎควบคุมความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า   CAC ชี้ว่าต้องมีการควบคุมให้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในจุดประสงค์เฉพาะและต้องมีความจำเป็นที่พอเหมาะ ภายใต้มาตรการเชิงป้องกันที่เข้มงวด   นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้ายังต้องได้รับความยินยอมจากปัจเจกบุคคล อีกทั้งยังควรใช้ระบบการยืนยันตัวตนที่ไม่ใช่ข้อมูลไบโอเมตริกซ์หากมีประสิทธิภาพเท่ากัน   ในร่างกฎของ CAC ยังห้ามการใช้อุปกรณ์ยืนยันตัวตนและการจับภาพในห้องพักโรงแรม ห้องน้ำสาธารณะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และสถานที่อื่น ๆ ที่จะละเมิดความเป็นส่วนตัว   การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยสาธารณะเท่านั้นและต้องมีป้ายเตือนที่เห็นเด่นชัดวางอยู่ใกล้ ๆ ด้วย     ที่มา   Reuters       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                    แบไต๋                     /…

อินเดียผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดิจิทัล

Loading

ภาพ : REUTERS/Kacper Pempel/File Photo   ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดิจิทัล พ.ศ. 2566 (The Digital Personal Data Protection Bill, 2023) ผ่านมติโดยราชยสภา (วุฒิสภา) เมื่อ 9 ส.ค.66 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศอินเดียมากกว่า 760 ล้านคน   กฎหมายได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการเก็บรวบรวม การใช้ และการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอินเดีย และให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้งานในกรณีต้องการแก้ไขหรือลบข้อมูลส่วนบุคคลของตน นอกจากนี้ยังอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ สามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานบางส่วนไปยังต่างประเทศได้ สำหรับบทลงโทษในการละเมิดหรือการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายจะถูกปรับสูงสุด 2.5 พันล้านรูปี (30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)   อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับใหม่นี้ มีข้อยกเว้นสำหรับรัฐบาลและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย อาทิ อนุญาตให้รัฐบาลเข้าถึงข้อมูลได้ในกรณีความมั่นคงของประเทศและเหตุฉุกเฉิน เช่น โรคระบาดและแผ่นดินไหว รวมถึงออกคำสั่งเพื่อปิดกั้นเนื้อหาตามคำแนะนำของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลกลาง ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลอาจใช้อำนาจในการแสวงหาข้อมูลจากบริษัทต่าง ๆ และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การสอดแนมมากขึ้น     ————————————————————————————————————————————————— ที่มา : …

ปลอดภัยแค่ไหน? แต่ละปีมี “ดาวเคราะห์น้อยอันตราย” พุ่งเฉียดโลกกี่ดวง?

Loading

  เปิดสถิติ ในแต่ละปี โลกของเราเผชิญเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเฉียดผ่านมากน้อยแค่ไหน และเป็นภัยคุกคามหรือไม่   ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มี “ดาวเคราะห์น้อย” หรือเศษก้อนหินที่เหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะ อยู่เป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน มีขนาดและความเร็วแตกต่างกันออกไป ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดแก่โลกก็แตกต่างตามไปด้วย   บ่อยครั้งที่เราจะเห็นพาดหัวข่าวที่บรรยายถึงดาวเคราะห์น้อย ว่ามีขนาดเท่า “รถบัส” “รถบรรทุก” หรือ “ตู้ขายของอัตโนมัติ” รวมถึงระบุระดับความอันตรายว่าเป็น “ผู้ล้างเมือง” “ผู้พิฆาตดาวเคราะห์” หรือ “เทพแห่งความโกลาหล”   แน่นอนว่าภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยนั้นเป็นเรื่องจริง นักวิทยาศาสตร์และดาราศาตร์ต่างทำงานอย่างหนักเพื่อคำนวณวิถีว่ามีดาวเคราะห์น้อยดวงไหนบ้างที่จะชนโลกหรือเข้าใกล้โลก และพยายามคิดหาวิธีป้องกันมัน   แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ตัวเลขความเสี่ยงภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยอยู่ที่เท่าไหร่? มีดาวเคราะห์น้อยกี่ดวงที่พุ่งชนโลก และกี่ดวงที่คาดว่าจะเฉียดผ่านเราไป?   ข้อมูลจากองค์การนาซา (NASA) ระบุว่า ดาวเคราะห์น้อยมีหลายขนาด ดวงที่เล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 4 เมตรคาดว่ามีมากกว่า 500 ล้านดวง และที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย 25 เมตรนั้น มีประมาณ 5 ล้านดวง ซึ่งทั้งสองขนาดนี้ตรวจจับได้ยากมาก   ส่วนขนาด 140 เมตร…