หายนะแน่ ! GISTDA เตือน เอกชนควรเตรียมพร้อมรับ พายุสุริยะ เหลือเวลาอีก 730 วัน

Loading

    GISTDA เตือนเอกชนเร่งหาทางป้องกัน “พายุสุริยะ” ที่เกิดขึ้นทุก 11 ปี คาดรอบนี้ค่อนข้างรุนแรงพร้อมยันเน็ตล่มแน่ หากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนสัญญาณหนักจนโรงไฟฟ้าระเบิด   ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA (จิสด้า) กล่าวในรายการสปริง ดิจิทัลไลฟ์ อัปเดต ที่จะออกอากาศในวันที่ 6 ก.ค.66 นี้ ว่า จากข้อมูลที่นาซาแจ้งเตือนมานั้น หากย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ให้มาพบว่า ปัญหาพายุสุริยะนี้ จะวนมาเกิดขึ้นทุก 11 ปี ในรูปแบบลมสุริยะและจะเกิดซ้ำอีก   ทั้งนี้ ลมสุริยะ จะเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กอย่างรวดเร็วกลายเป็นพายุสนามแม่เหล็ก ส่งผลกระทบให้ระบบการสื่อสาร คลื่นความถี่สูงและต่ำหาย ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายและไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้   ส่งผลกระทบต่อดาวเทียมสื่อสาร ทำให้โทรศัพท์มือถือไม่สามารถใช้งานได้ แต่อาจไม่ถึงขั้นส่งผลให้ตัวเครื่องระเบิด แต่ถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงแบบสุด ๆ คือเกิด พายุแม่เหล็กโลก หรือ Geomagnetic strom ที่จะรุนแรงจนเกิดกระแสเหนี่ยวนำ ทำให้โรงงานไฟฟ้าระเบิดได้   หากถามว่าปัญหานี้น่ากลัวไหม ต้องบอกว่า ต้องเตรียมพร้อมรับมือและวางแผนแก้ไขปัญหาล่วงหน้า…

วิธีใช้พาวเวอร์แบงค์ให้ปลอดภัย ป้องกันพาวเวอร์แบงค์ระเบิดหรือไหม้ได้แค่ทำแบบนี้

Loading

    วิธีใช้พาวเวอร์แบงค์ให้ปลอดภัย ป้องกันพาวเวอร์แบงค์ระเบิดหรือไหม้ โดย PowerBank หรือแบตเตอรี่สำรอง เป็นอุปกรณ์ในการชาร์จสมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากสามารถชาร์จที่ไหนก็ได้ในกรณีโทรศัพท์มือถือแบตจะหมด แต่ก็ต้องใช้และจัดเก็บอย่างระมัดระวังเพราะหากชาร์จไฟและใช้ PowerBank ไม่ถูกวิธี ก็ทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน   วิธีใช้พาวเวอร์แบงค์ให้ปลอดภัย   1. ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย   สังเกตแบตเตอรี่สํารองต้องไม่บวมหรือ มีรอยปริ และไม่มีความร้อนสูง สามารถกักเก็บประจุไฟฟ้าได้ตามปกติ   2. ไม่ใช้แบตเตอรี่สํารองที่เสื่อมสภาพ   โดยทั่วไปแบตเตอรี่สํารองมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี   3. ไม่ใช้งานสมาร์ตโฟน ระหว่างชาร์จไฟแบตเตอรี่สํารอง   เพราะแบตเตอรี่สํารองจะทํางานหนักจนทำให้เกิดความร้อนสูง และอาจระเบิดได้   4. ไม่วางแบตเตอรี่สํารอง ไว้ใกล้แหล่งความร้อนสูง   เช่น เตาไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ ไว้ในรถที่จอดกลางแจ้ง วางไว้กลางแดด เพราะจะทําให้ แบตเตอรี่สํารองระเบิด ก่อให้เกิดอันตรายได้   5. หลีกเลี่ยงการทําให้แบตเตอรี่สํารองเสื่อมสภาพเร็วขึ้น   เช่น ทำแบตเตอรี่สำรองตกกระแทกพื้น…

สังคมโลก : การทูตเรือดำน้ำ

Loading

แนวคิดที่เรียกว่า “การทูตเครื่องบินทิ้งระเบิด” ซึ่งสหรัฐใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ บี-52 กับ บี-1 ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ พร้อมกับส่งข้อความเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการป้องปราม ไปยังจีนและเกาหลีเหนือ หรือรัสเซีย ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรของสหรัฐ   แม้การป้องปราม หรือการสร้างความมั่นใจ จะทำได้โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด แต่ดูเหมือนตอนนี้ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์ (เอสเอสบีเอ็น) กำลังเข้าสู่ภารกิจเดียวกัน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น “การทูตเรือดำน้ำ”   เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สหรัฐกับเกาหลีใต้ร่วมลงนามในเอกสารฉบับใหม่ที่เรียกว่า “ปฏิญญาวอชิงตัน” ซึ่งสหรัฐให้คำมั่นที่จะยกระดับการมองเห็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ในคาบสมุทรเกาหลีให้มากขึ้น ตลอดจนขยายและกระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น   นอกเหนือจากการตัดสินใจก่อตั้งหน่วยงานใหม่ระหว่างสองประเทศตามปฏิญญาวอชิงตัน ซึ่งเรียกว่า “กลไกความร่วมมือที่ปรึกษานิวเคลียร์” (เอ็นซีจี) แนวคิดของการส่งเอสเอสบีเอ็นไปเทียบท่าในเกาหลีใต้ ถูกมองว่าเป็นมาตรการสร้างความมั่นใจใหม่ที่รัฐบาลโซลได้รับจากสหรัฐ โดยแลกกับการที่เกาหลีใต้ต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (เอ็นพีที)   อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่เสียทีเดียว เนื่องจากมันเคยปรากฏในรายงาน การทบทวนสถานการณ์นิวเคลียร์ (เอ็นพีอาร์) เมื่อเดือน ต.ค. 2565 ว่าสหรัฐจะทำงานร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วน เพื่อหาโอกาสในการเพิ่มการมองเห็นของทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจอันแน่วแน่ของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น การเทียบท่าของเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนำวิถี…

หยามกันเห็น ๆ ! กองทัพเกาหลีใต้เผยดาวเทียมสอดแนมโสมแดง ‘ไม่มีประโยชน์’ ในด้านการทหาร

Loading

    กองทัพเกาหลีใต้แถลงวันนี้ (5 ก.ค.) ว่าสามารถเก็บกู้ซาก “ดาวเทียมสอดแนม” ที่เกาหลีเหนือยิงล้มเหลวและตกลงสู่ทะเลเมื่อเดือน พ.ค.ได้แล้ว โดยเบื้องต้นพบว่ามันไม่สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการทหารได้อย่างมีนัยสำคัญ   กองทัพเกาหลีใต้ได้ส่งทั้งเครื่องบิน เรือ และนักประดาน้ำออกไปเก็บกู้ชิ้นส่วนจรวดของเกาหลีเหนือ ภายหลังปฏิบัติการปล่อยดาวเทียมที่ล้มเหลวเมื่อวันที่ 31 พ.ค.   “จากการวิเคราะห์ชิ้นส่วนหลัก ๆ ของยานขนส่งอวกาศและดาวเทียมที่เราเก็บกู้ขึ้นมาได้ ผู้เชี่ยวชาญของเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ประเมินว่า มันไม่มีประโยชน์ในด้านการสอดแนมทางทหารเลยแม้แต่นิดเดียว” กองทัพโสมขาวระบุ พร้อมประกาศยุติการค้นหาซากจรวดและดาวเทียมโสมแดงลงในวันนี้ (5)   ผู้เชี่ยวชาญของกองทัพเกาหลีใต้ยอมรับว่า นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถเข้าถึงดาวเทียมที่เกาหลีเหนือพยายามปล่อยสู่วงโคจรในอวกาศ   ลี ชุนกึน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลีใต้ ระบุว่า จากการประเมินในเบื้องต้นพบว่าดาวเทียมโสมแดงมีศักยภาพในด้านของความแม่นยำและการติดตามเป้าหมายต่ำมาก   ยาง อุก นักวิจัยจากสถาบันนโยบายศึกษาอาซานในกรุงโซล ชี้ว่า “ความแม่นยำของอุปกรณ์ทัศนศาสตร์ที่ติดตั้งบนดาวเทียมดวงนี้ไม่เหมาะสำหรับใช้งานด้านการทหารเลย”   กองทัพเกาหลีใต้พยายามติดตามเส้นทางของจรวดเกาหลีเหนือ และไปพบซากชิ้นส่วนทรงกระบอกขนาดใหญ่ลอยอยู่ในทะเลเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่มันถูกปล่อยออกจากฐานยิง   ชิ้นส่วนดังกล่าวได้จมลงสู่ก้นทะเล และถูกเก็บกู้ขึ้นมาได้ในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา   รัฐบาลเกาหลีเหนือออกมาแถลงยอมรับตรง ๆ ว่าภารกิจส่งดาวเทียมไม่สำเร็จตามที่หวัง และถือเป็น…

ประธานาธิบดียูเครน เตือนรัสเซียอาจวางระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครน

Loading

    สงครามรัสเซียยูเครนยังคงดุเดือดโดยเฉพาะในภูมิภาคดอนบาส ตอนนี้ยูเครนเตือนว่ารัสเซียอาจใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นอาวุธในการทำสงคราม   เมื่อวานนี้ขณะที่แถลงรายงานสถานการณ์ประจำวัน โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนได้ระบุว่า หน่วยข่าวกรองของยูเครนตรวจพบว่ารัสเซียได้วางวัตถุคล้ายระเบิดบนหลังคาของอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 และ 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซีย ในเมืองเอเนอร์กอดาร์ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน   โดยประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนย้ำชัดเจนว่า ความปลอดภัยของโลกขึ้นอยู่กับการโต้ตอบของประเทศต่างๆ ต่อการกระทำของรัสเซีย โดยต้องทำให้รัสเซียตระหนักว่าโลกพร้อมที่จะตอบโต้กับการก่อการร้ายที่รัสเซียทำ     นอกจากนี้ ผู้นำยูเครนกล่าวเสริมว่า สารกัมมันตภาพรังสีจะคุกคามทุกคนบนโลกโดยไม่เลือกปฏิบัติ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สมควรได้รับการปกป้องจากอุบัติเหตุทางรังสีทุกรูปแบบ   รายงานดังกล่าวของหน่วยข่าวกรองยูเครนสอดคล้องกับข้อมูลของกลุ่มอาเตช กลุ่มขบวนการใต้ดินที่ต่อต้านรัสเซียในพื้นที่ต่างๆ ที่รัสเซียยึดครอง รายงานว่าพบเห็นรถเคลื่อนที่ของห้องปฏิบัติการทางรังสีรัสเซียวิ่งอยู่ในพื้นที่เมืองเอเนอร์กอดาร์และเมืองมาริอูปอล เมืองท่าติดทะเลอาซอฟ โดยรถดังกล่าวคาดว่าถูกส่งมาจากเมืองวอรอเนซ ทางตอนใต้ของรัสเซีย พร้อมระบุว่า รัสเซียอาจวางแผนยั่วยุในพื้นที่โรงไฟฟ้าหรืออีกกรณีคือรัสเซียอาจขนยายบางสิ่งออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปยังท่าเรือเมืองมาริอูปอล   ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่วัน สำนักข่าวสกายนิวส์เคยรายงายโดยอ้างอิงหน่วยข่าวกรองของยูเครนที่ให้ข้อมูลว่า บริษัทโรซาตัมของรัสเซียที่เข้ามาทำหน้าที่ดูแลโรงไฟฟ้าซาโปริซเซียหลังจากกองทัพรัสเซียยึดได้ ได้ออกคำสั่งขอให้บรรดาเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าทยอยออกจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ก่อนคืนวันที่ 5 กรกฎาคมหรือวันนี้   ขณะเดียวกัน วันนี้สำนักข่าวหลายสำนักของรัสเซีย เช่น อินเตอร์แฟกซ์ ทาสส์ รายงานว่า รัฐบาลยูเครนวางแผนโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียในช่วงดึกวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ด้านสำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์ระบุว่า รีนัต คาร์ชา…

รุนแรงขึ้น! กราดยิง 3 เหตุการณ์ ก่อนหยุดยาววันชาติสหรัฐฯ ‘ไบเดน’ ชี้ต้องปฎิรูปกม.

Loading

    เหตุความรุนแรงจากอาวุธปืนในสหรัฐฯ Gun Violence Archive เอ็นจีโอที่รวบรวมสถิติเหตุรุนแรงจากปืนในสหรัฐฯ ระบุว่า ช่วงครึ่งปีแรก มากกว่า 340 ครั้ง   ก่อนวันหยุดยาว วันชาติสหรัฐฯ 4 ก.ค.66 เกิดเหตุกราดยิงในฟิลาเดลเฟีย บัลติมอร์ และฟอร์ตเวิร์ธ รัฐเท็กซัส ทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 ราย บาดเจ็บอีกเกือบ 40 คน ทั้ง 3 เหตุการณ์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ ระบุว่า เป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึงความล้มเหลวยาวนานหลายทศวรรษในการควบคุมความรุนแรงจากอาวุธปืนในสหรัฐฯ   ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ แถลงเมื่อวันอังคาร 4 ก.ค.66 ประณามความรุนแรงและเรียกร้องอีกครั้งให้เข้มงวดกับกฎหมายปืนที่หละหลวม ประเทศของเราต้องทนกับเหตุการณ์กราดยิงที่น่าสลดใจ เรียกร้องให้สมาชิกพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันในสภาคองเกรส หารือกันเกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายควบคุมอาวุธปืนเพื่อสร้างความปลอดภัยในสังคม เนื่องจาก ความรุนแรงจากการใช้อาวุธปืนได้ทำลายชุมชนชาวอเมริกัน   เหตุกราดยิงในเมืองฟอร์ตเวิร์ธ รัฐเท็กซัส มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และ บาดเจ็บ…