ทำความเข้าใจ ‘ระบบราชการดิจิทัล’ คู่ ‘เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

Loading

  หลังจากที่ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้การให้บริการของหน่วยงานราชการเริ่มเปลี่ยนไป หลายหน่วยงานให้บริการผ่านระบบออนไลน์ ยกเลิกการใช้เอกสารแบบกระดาษ ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วขึ้น   การสร้างจุดเปลี่ยนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเคยจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขับเคลื่อนโดย 4 หน่วยงานสำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติ   ขณะเดียวกัน เพื่อผลักดันให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐทุกๆ ระดับเปลี่ยนวิถีการทำงานเป็นดิจิทัลนั้น ทั้ง 4 หน่วยงาน ย่อมต้องปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ ETDA ที่มีบทบาทสำคัญเป็นทั้งผู้ร่วมขับเคลื่อน และหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว   “พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” ลดข้อจำกัด เร่งสปีด ราชการดิจิทัล   จุดประสงค์หลักของการทำ ‘พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565’ นี้คือ การปรับเปลี่ยนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงานราชการในรูปแบบออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น เพื่อส่งต่อการให้บริการแก่ประชาชนได้ดีกว่าที่เคย   เมื่อระบบการทำงานของหน่วยงานราชการเปลี่ยนสู่ e-Government…

กฎหมาย Digital Platform คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร ก่อนบังคับใช้ 21 สิงหาคม 2566

Loading

ภาพ : กรุะทรวงดีอีเอส กฎหมาย Digital Platform คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร โดยกระทรวงดิจิทัลฯ หรือ ดีอีเอส ประกาศ กฎหมาย Digital Platform จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ พร้อมประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลาง อาทิ โซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ sharing economy บริการสืบค้น (search engine) บริการรวบรวมข่าว โฮสติ้ง คลาวด์ แจ้งการประกอบธุรกิจต่อสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ด้วย   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เพื่อรองรับ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย Digital Platform ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล…

“เทคโนโลยี” ที่ใช้ค้นหาแอตแลนติส และวัตถุโบราณใต้ทะเลทราย

Loading

  ในเทพนิยาย “หนึ่งพันหนึ่งราตรี” (One Thousand and One Nights) ซึ่งเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านของชาวอาหรับ และในคัมภีร์กุรอ่านของชาวมุสลิม ต่างก็กล่าวถึงเมือง Ubar ว่า เคยตั้งอยู่ในอาณาจักรอาหรับโบราณเมื่อ 5,000 ปีก่อน และเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก เพราะเป็นศูนย์กลางการค้ากำยาน อันเป็นยางไม้ที่มีกลิ่นหอม จึงเป็นที่นิยมใช้ในพิธีบวงสรวงทางศาสนาและพิธีศพ ตลอดจนถึงการใช้เป็นยาอายุวัฒนะด้วย การมีสรรพประโยชน์เช่นนี้ จึงทำให้กำยานมีคุณค่ามากประดุจทองคำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนิยมปลูกกันมากในบริเวณเทือกเขา Al Qarah ของ Saudi Arabia และแม้แต่คัมภีร์ไบเบิลก็ยังกล่าวถึงปราชญ์จากเมือง Ubar ว่า ได้นำกำยานไปถวายเป็นของขวัญแด่ทารกเยซู เมื่อพระองค์ทรงประสูติใหม่ ๆ     ประวัติศาสตร์อาหรับยังได้จารึกอีกว่า Ubar เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงทางการค้าของชนชาติต่าง ๆ ในเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ประชากรแห่งเมือง Ubar จึงมีฐานะร่ำรวย แต่ในเวลาต่อมา พฤติกรรมของชาวเมืองตลอดจนถึงเจ้าเมืองได้เสื่อมลงมาก ความต่ำทรามของผู้คนในลักษณะนี้ได้ทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงพิโรธ จึงทรงบันดาลให้พายุทะเลทรายพัดถล่มเมือง จนหายสาบสูญไปอย่างที่ไม่มีใครได้พบเห็นเมืองอีกเลย     เรื่องเล่าขานนี้ได้จุดประกายให้บรรดานักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และนักผจญภัยทั้งหลายพยายามค้นหานคร…

สหรัฐฯ ได้ข้อสรุป “บอลลูนจีน” ที่ยิงตกไป ไม่ได้สอดแนมข้อมูล

Loading

  เพนตากอนเปิดเผยข้อสรุปการสืบสวนกรณี “บอลลูนจีน” ระบุว่า บอลลูนดังกล่าว “ไม่ได้รวบรวมข้อมูลใด ๆ”   จากกรณี “บอลลูนจีน” ที่ถูกยิงตกเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นบอลลูนสอดแนมที่พยายามรวมรวมข้อมูลทางทหารของสหรัฐฯ ล่าสุดวานนี้ (29 มิ.ย.) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน เปิดเผยข้อสรุปการสืบสวนว่า บอลลูนดังกล่าว “ไม่ได้รวบรวมข้อมูลใด ๆ”   บอลลูนนี้ได้ลอยเข้าสู่น่านฟ้าของสหรัฐฯ เหนืออะแลสกาเมื่อวันที่ 28 ม.ค. จากนั้นเคลื่อนไปทางตะวันออกนานกว่าสัปดาห์ โดยบินผ่านฐานทัพอากาศมาล์มสตรอม ซึ่งจัดเก็บวัตถุนิวเคลียร์บางส่วนไว้ จนสหรัฐฯ ตัดสินใจยิงทิ้งในที่สุด     เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน   เจ้าหน้าที่เพนตากอนระบุว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ได้วิเคราะห์เศษซากบอลลูนที่รวบรวมได้หลังถูกยิงตก   โฆษกเพนตากอน นายพลจัตวา แพ็ต ไรเดอร์ กล่าวว่า “สหรัฐฯ ตระหนักดีว่าบอลลูนนี้มีความสามารถในการรวบรวมข่าวกรอง แต่เราได้ประเมินแล้วว่า มันไม่ได้รวบรวมข้อมูลใด ๆ ขณะที่ลอยอยู่เหนือสหรัฐฯ”   อย่างไรก็ตาม…

Phishing เตือนภัยกลโกงในโลกออนไลน์

Loading

  ในช่วงนี้กระแสโกงเงินในโลกออนไลน์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นมัลแวร์ดูดเงิน การเข้าควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล ซึ่งได้สร้างความเสียหายและความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก วันนี้แอดมินจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหนึ่งในกลโกงที่พบได้บ่อยที่สุดบนโลกออนไลน์อย่าง “Phishing” (ฟิชชิ่ง)   Phishing คืออะไร Phishing คือรูปแบบการหลอกลวงผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้วิธีทางจิตวิทยาร่วมด้วย ทั้งกลอุบายหลอกล่อผู้ใช้งาน และการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร หรือบัญชีโซเชียลมีเดีย โดยทั่วไปจะนิยมให้กดที่ ‘ลิงก์’ เพื่อย้ายไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นและทำการกรอกข้อมูล โดยเว็บไซต์นั้นก็จะทำเลียนแบบจนเกือบเหมือนกับฉบับเลย   Phishing เป็นคำเปรียบเทียบที่พ้องเสียงมาจาก Fishing ที่แปลว่า การตกปลา โดยในการตกปลานั้นต้องมีเหยื่อล่อให้ปลามาติดเบ็ด จึงเปรียบเทียบถึงการสร้างสถานการณ์โดยการส่งข้อความ อีเมล หรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อเป็นเหยื่อล่อให้ผู้ใช้งานเข้ามาติดเบ็ด   ที่มาของคำว่า Phishing คำว่า “Phishing” เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 1990 เมื่อแฮ็กเกอร์ได้ใช้อีเมลปลอมในการล้วงข้อมูลของเหยื่อที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แฮ็กเกอร์ในยุคนั้นถูกเรียกว่า “Phreaks” (Freaks+Phone) และได้กลายมาเป็นคำว่า “Phishing” (Fishing+Phone) อย่างทุกวันนี้   ตัวอย่างของ Phishing ที่ต้องระวัง 1. Deceptive…

เปิดโปงอาชญากรไซเบอร์จีนตามพรมแดนไทย-เมียนมา มุ่งโจมตีเหยื่อทั่วโลก

Loading

Chinese restaurants with signage in Chinese and Burmese are seen in Shwe Kokko, a newly built town in Myanmar’s Karen state. (VOA Burmese)   องค์กรอาชญากรรมไซเบอร์จากจีนที่ปฏิบัติการอยู่ตามแนวพรมแดนไทย – เมียนมา กำลังคุกคามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกด้วยหลอกลวงออนไลน์และการฉ้อโกงทางการเงิน โดยใช้ “ทาสทางไซเบอร์” ในการก่ออาชญากรรมต่าง ๆ อ้างอิงจากรายงานของสถาบันแห่งสันติภาพสหรัฐฯ หรือ USIP (United States Institute of Peace) ในกรุงวอชิงตัน   รายงานที่ชื่อ “A Criminal Cancer Spreads in Southeast Asia” ระบุว่า อาชญากรไซเบอร์เหล่านั้นถูกขับไล่ออกจากจีน และขณะนี้ดำเนินการอยู่ตามแนวพรมแดนของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ไทย…