บลิงเคนยันจีนมี “ฐานสายลับ” ในคิวบา ลั่นสหรัฐพยายามจัดการ

Loading

  รัฐมนตรีการต่างประเทศของสหรัฐ ซึ่งจะเยือนกรุงปักกิ่งในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ยืนยันว่า คิวบาเป็นสถานที่ตั้ง “ฐานปฏิบัติการสอดแนม” ของจีน และยืนยันว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง “กำลังจัดการ”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ว่านายแอนโทนี บลิงเคน รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวถึงรายงานที่ว่า จีนมีฐานปฏิบัติการสายลับในคิวบา “มานานหลายปี” และมีการปรับปรุงเพิ่มความทันสมัย เมื่อปี 2562 เพื่อยกระดับภารกิจดังกล่าว สะท้อน “หนึ่งในความพยายามของรัฐบาลปักกิ่ง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเก็บข้อมูลข่าวกรอง”   ขณะเดียวกัน บลิงเคนยืนยันว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน สั่งให้ “จัดการ” นับตั้งแต่รับตำแหน่งผู้นำสหรัฐ เมื่อเดือน ม.ค. 2564 หลังรัฐบาลชุดก่อนหน้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ “ไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง” และกล่าวอีกว่า วัตถุประสงค์ของจีนในเรื่องนี้ คือการ “สร้างและประคับประคองอำนาจทางทหารจากระยะไกล”   Secretary of State Blinken says former President…

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ ก.ยุติธรรม กำหนดอาณาเขต ‘เรือนจำ อำเภอเบตง’

Loading

    เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กระทรวงยุติธรรม กำหนดอาณาเขต “เรือนจำ อำเภอเบตง”   เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดอาณาเขตเรือนจำ อำเภอเบตง ตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 54/2559 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ได้กำหนดอาณาเขต เรือนจำอำเภอเบตง ขึ้นที่ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เนื้อที่ 1 ไร่ 99.5 ตารางวา เพื่อควบคุม อบรม และฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง นั้น   เนื่องจากได้มีการปรับปรุงขยายพื้นที่ภายในสถานกักขังอำเภอเบตง เป็นผลให้อาณาเขตเรือนจำ อำเภอเบตงเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อให้เรือนจำอำเภอเบตง มีอาณาเขตถูกต้องตามความเป็นจริง และเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานเรือนจำ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 ยุบเลิกการกำหนดอาณาเขตเรือนจำ อำเภอเบตง ซึ่งตั้งขึ้นตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่…

โบกมือลาพาสเวิร์ด! กูเกิลเปิดตัว “กุญแจรหัสผ่าน” เชื่อปลอดภัย-สะดวกขึ้น

Loading

    นับเป็นข่าวดี สำหรับผู้ที่ไม่ชื่นชอบการจำรหัสผ่านต่าง ๆ เพราะบริษัท กูเกิล (Google) มีทางออกของปัญหานี้ โดยที่จะเพิ่มสิ่งที่เรียกว่า “passkeys” หรือกุญแจรหัสผ่านที่ง่ายต่อการใช้งาน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยที่มากขึ้น   Passkeys ถือเป็นทางเลือกที่มีความปลอดภัยมากกว่าการพิมพ์รหัสผ่าน หรือการใช้รหัสยืนยันทางข้อความ เพราะผู้ใช้งานไม่ต้องเห็นข้อมูลรหัสผ่านโดยตรง บริการออนไลน์อย่างเช่น Gmail จะใช้ Passkeys สื่อสารผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อถือได้ เช่น โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ที่ถูกใช้งานเป็นประจำ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าสู่ระบบ   สิ่งที่ใช้ในการยืนยันตัวตนบนอุปกรณ์ใช้งาน คือรหัสผ่านแบบปลดล็อคประเภท PIN (Personal Identification Number) หรือหมายเลขรหัสประจำตัว รวมไปถึงการยืนยันผ่านไบโอเมตริก เช่น การสแกนลายนิ้วมือหรือใบหน้า รวมถึงการยืนยันผ่านทางกายภาพที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น   Google ได้ออกออกแบบกุญแจรหัสผ่านนี้ ให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น โทรศัพท์ไอโฟน (iPhone) คอมพิวเตอร์แม็คส์ (Macs) คอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส (Windows) และโทรศัพท์ระบบแอนดรอยน์ (Android) ของ Google เอง  …

โยนบาปกันไปมา! สื่อสหรัฐฯ เผยทีมสืบสวนเยอรมนีพบโปแลนด์เกี่ยวข้องเหตุบึ้มท่อนอร์ดสตรีม

Loading

    คณะสืบสวนเยอรมนีที่กำลังดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน บ่งชี้ว่าทีมลอบก่อวินาศกรรมชุดหนึ่งใช้โปแลนด์เป็นฐานปฏิบัติการ ในการวางระเบิดสร้างความเสียหายแก่ท่อลำเลียงนอร์ดสตรีมในทะเลบอลติก เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ตามรายงานของวอลล์สตรีท เจอร์นัล สื่อมวลชนสหรัฐฯ เมื่อวันเสาร์ (10 มิ.ย.)   ทีมสืบสวนได้ทำการปะติดปะต่อเส้นทางการเดินเรือเป็นเวลา 2 สัปดาห์ของเรือยอชต์ “อันโดรเมดา” ความยาว 50 ฟุต ซึ่งต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับเหตุลอบก่อวินาศกรรมท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 และ 2 ตามรายงานของวอลล์สตรีท เจอร์นัล   วอลล์สตรีท เจอร์นัล อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดการสืบสวน บ่งชี้ว่า ลูกเรือที่ลอบก่อวินาศกรรมได้วางระเบิดท่อลำเลียงนอร์ดสตรีมใต้ทะเลลึก ก่อนล่องเรือต่อในเส้นทางที่มุ่งหน้าสู่โปแลนด์ พร้อมระบุเยอรมนีกำลังพยายามเปรียบเทียบตัวอย่างดีเอ็นเอที่พบบนเรือกับ “ทหารยูเครนอย่างน้อยๆ 1 นาย”   รอยเตอร์สอบถามในเรื่องนี้ไปยังสำนักงานตำรวจสืบสวนกลางของเยอรมนี และโฆษกรัฐบาลโปแลนด์ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมา อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของโปแลนด์รายหนึ่งอ้างชี้ว่ารายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็นผลลัพธ์ของโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย   “รัสเซียใช้ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนงำชาวโปแลนด์และชาวยูเครน ในการทำลายท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 และ 2 ซึ่งนำเสนอซ้ำๆ ในสื่อมวลชน เป็นเครื่องมือครอบงำอย่างไม่ลดละ ในการสร้างความคิดฝังใจหรือข้อสันนิษฐานในหมู่ผู้รับข่าวสารว่าวอร์ซอและเคียฟอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้” สตานิสลอว์ ซารีน…

น่ากลัวสุด แอปฝังมัลแวร์ บน Andriod ยอดโหลดทะลุ 421 ล้านครั้ง

Loading

  นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Dr. Web ได้ค้นพบแอปที่มีสปายแวร์แฝง ซึ่งมียอดดาวน์โหลดรวมกันมากถึง 421 ล้านครั้ง และบางแอป Google ได้ห้ามติดตั้งบน Playstore แล้ว แต่มันก็ยังสามารถดาวน์โหลดผ่าน APK ได้อยู่   หากติดตั้งแอปเหล่านี้ จะสามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวบนอุปกรณ์และสามารถส่งกลับให้กับเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลได้ โดยบางแอป จะมีเล่ห์เหลี่ยม ที่ให้ Mini- Game และสามารถรับรางวัล “รายวัน” ได้ เพื่อทำให้ผู้ใช้สนใจมากขึ้น   เบื้องหลังของมัลแวร์จะมีการเลี่ยงการตรวจพบ โดยเมื่อติดตั้งแล้ว จะเข้าไปตรวจสอบข้อมูล เซ็นเซอร์ของอุปกรณ์ Android (ไจโรสโคป, แมกนีโตมิเตอร์) เพื่อยืนยันว่า เครื่องดังกล่าวไม่ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมแบบ Sandbox ซึ่งนักวิจัยส่วนใหญ่จะใช้ Sandbox ในการตรวจจับหรือดักดูการทำงานของมัลแวร์ในแอปต่าง ๆ   ทั้งนี้ Dr. Web ได้คัดเลือกแอปที่มียอดดาวน์โหลดสูงที่สุดทั้งหมด 10 แอปมาให้ครับ   Noizz: แอปตัดต่อวีดีโอพร้อมเพลง (100,000,000 downloads)…

เนเธอร์แลนด์เตรียมออกกฎหมายคัดกรองนักศึกษาต่างชาติที่เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง

Loading

    เว็บไซต์ Financial Times รายงานเมื่อ 12 มิ.ย.66 ว่า หลายมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ไม่อนุมัติปริญญาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับนักศึกษาของจีนบางคน ลดจำนวนนักศึกษาจีน และลดความร่วมมือด้านการวิจัยกับมหาวิทยาลัยในจีน เนื่องจากเกรงว่าอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลจีน (China Scholarship Council : CSC) ซึ่งผู้รับทุนต้องสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเดินทางกลับจีนภายใน 2 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษา รวมถึงรายงานตัวต่อสถานทูตจีนในประเทศที่ศึกษา ด้านนาย Robbert Dijkgraaf รมว.ศธ.ของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่ต้องการให้บุคคลที่ได้รับทุนด้านเทคโนโลยีขั้นสูงจากจีนเข้ารับการศึกษา และได้ทำการตรวจสอบว่ามีนักวิจัยจาก CSC กี่คนและทำงานอยู่ในสาขาใดในเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งกำลังเตรียมออกกฎหมายคัดกรองบุคลากรทางการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้าถึงพื้นที่หวงห้ามและเทคโนโลยีละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการจารกรรม นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ยังได้รับแรงกดดันจากสหรัฐฯ ในการจำกัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงไปยังจีนด้วย       —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                     …