‘มัลแวร์’ รัสเซียตัวใหม่ ทำลายระบบเครือข่ายไฟฟ้า

Loading

    มัลแวร์ (Malware) ยังคงเป็นภัยคุกคามตัวฉกาจที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อบุกโจมตีเหยื่อและแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่หยุดหย่อนอยู่ตลอดเวลา   มีการตรวจพบมัลแวร์ตัวใหม่ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับรัสเซีย โดยฟังก์ชั่นการทำงานหลักคือ “การใช้ทำลายระบบเครือข่ายไฟฟ้า” โดยมัลแวร์ในเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ หรือ Operational Technology (OT) อย่าง COSMICENERGY ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อขัดขวางระบบการทำงานด้านพลังงานไฟฟ้า   โดยการใช้คำสั่งตาม IEC 60870-5-104 (IEC-104) กับอุปกรณ์สแตนดาร์ด เช่น ระบบควบคุมและหน่วยทำงานระยะไกล (RTU) และแน่นอนว่า เหล่าแฮ็กเกอร์ก็จะสามารถส่งคำสั่งจากระยะไกลในการสั่งงานไปยัง Switch และ Circuit Breaker ให้ระบบไฟฟ้าเริ่มหรือหยุดทำงานได้อย่างง่ายดาย และที่น่าสนใจก็คืออุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการส่งและจ่ายไฟฟ้าในยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย   จากการตรวจสอบของนักวิจัยพบว่า การโจมตีครั้งนี้มีความคล้ายกับการโจมตีที่ยูเครนในปี 2559 ที่เข้าโจมตีโครงข่ายไฟฟ้าเป็นเหตุการณ์ Industroyer ซึ่งมีผลทำให้ไฟฟ้าดับที่กรุงเคียฟทันทีและเชื่อกันว่า Sandworm กลุ่ม APT ของรัสเซียเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนั้น   มัลแวร์สามารถควบคุมสวิตช์ของสถานีไฟฟ้าย่อยและเบรคเกอร์ของวงจรได้โดยตรงรวมทั้งจัดการออกคำสั่งเปิด-ปิด IEC-104 เพื่อเป็นการโต้ตอบกับ RTU และใช้เซิร์ฟเวอร์ MSSQL เป็นตัวจัดการระบบเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ…

ผ่าแนวคิด สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ‘บิ๊กดาต้า’ ประเทศไทย!!!

Loading

  “ณัฐพล” ผอ.ดีป้า แจงพร้อม ถ่ายโอน ทรัพย์สิน บุคลากร และ งบประมาณปี 2565 ให้ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นองค์กรบิ๊กดาต้าของประเทศไทย หลังราชกิจจานุเบกษา ประกาศ จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ครั้งแรก รวมข้อมูลให้ทั้งภาครัฐ เอกชน ร่วมมือใช้ประโยชน์   นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ สขญ.ที่จะเป็น บิ๊กดาต้า ประเทศไทย เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐบาล หรือบิ๊กดาต้า ภาครัฐ แต่ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณทำให้ยังไม่สามารถตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาได้   ดีป้าจึงรับเข้ามาเป็นแผนกหนึ่งของดีป้าตั้งแต่ปี 2562 จากงบประมาณกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) มาโดยตลอด ปัจจุบันมีบุคลากรประมาณ 70 อัตรา จากนักเรียนทุนที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล มีทรัพย์สินประมาณ 200 ล้านบาท   ดังนั้น เมื่อมีการยกระดับสขญ.เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ ดีป้ามีความพร้อมในการถ่ายโอนทรัพย์สิน บุคลากร…

สหราชอาณาจักรเตรียมปรับปรุงกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อความมั่นคงของชาติ

Loading

    เว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักร รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า สหราชอาณาจักรเตรียมปรับปรุงกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภัยคุกคามผสมผสาน (hybrid threats)  ที่ใช้ช่องทางเศรษฐกิจเพื่อบ่อนทำลายและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ จะเพิ่มมาตรการเชิงรุก 3 ประการ ประการแรก จัดตั้งหน่วยงานรักษาความปลอดภัยแห่งชาติสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง สังกัดสำนักงานคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่ตรวจสอบความเสี่ยงและประเมินบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ประการที่สอง รัฐบาลมีอำนาจในการห้ามบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าบางบริษัททำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานเฉพาะของรัฐบาล ประการสุดท้าย รัฐบาลจะถอดอุปกรณ์เฝ้าระวังที่ผลิตโดยบริษัทภายใต้รัฐบาลจีนออกจากสถานที่ราชการที่มีความละเอียดอ่อน นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้ชนะสัญญา และเสริมสร้างให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างโปร่งใสมากขึ้น       —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                               เว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักร         …

ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎหมายคัดกรองบุคคลที่เข้าถึงความลับทางเทคโนโลยีขั้นสูงก่อนการปฏิบัติงาน

Loading

    เว็บไซต์ Nikkei Asia รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการตรวจสอบภูมิหลังกับเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนที่เข้าถึงข้อมูลละเอียดอ่อนเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยก่อนการปฏิบัติงาน และเพื่อให้บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งประยุกต์ใช้งานได้ทั้งในเชิงพาณิชย์และด้านการทหาร (dual-use advanced technology) สามารถแข่งขันในระดับสากล และเข้าถึงข้อมูลลับที่แบ่งปันกันระหว่างญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ รวมถึงเข้าร่วมในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลต่างประเทศได้ เนื่องจากบางประเทศมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม G7 ที่ยังขาดมาตรการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว ทั้งนี้ ญี่ปุ่นตั้งเป้าออกกฎหมายเกี่ยวกับการคัดกรองบุคคลในปี 2567 โดยมีสหรัฐฯ และยุโรปเป็นต้นแบบ กฎหมายเดิมซึ่งออกในปี 2557 นั้น ใช้กับประเด็นที่เกี่ยวกับการป้องกัน การทูต การต่อต้าน การจารกรรม และการต่อต้านการก่อการร้าย แต่ยังคลุมเครือถึงประเด็นเทคโนโลยีของพลเรือน เช่น อวกาศ ไซเบอร์ และปัญญาประดิษฐ์         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

จีน-รัสเซียทำการลาดตระเวนทางอากาศเหนือทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนตะวันออก

Loading

  จีนและรัสเซียดำเนินการลาดตระเวนร่วมทางอากาศเหนือทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนตะวันออกเมื่อวันอังคาร ขณะที่เกาหลีใต้ท้วงว่าสองชาติบินเข้าใกล้เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ จึงส่งเครื่องบินรบเข้าประจำการเพื่อตอบโต้   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า รัฐบาลปักกิ่งและมอสโกดำเนินการลาดตระเวนทางอากาศร่วมครั้งที่ 6 ภายใต้แผนความร่วมมือทางทหารประจำปีระหว่างจีนและรัสเซีย ตามแถลงการณ์ของกระทรวงกลาโหมจีน   แถลงการณ์ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซ้อมดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นเหนือน่านน้ำที่มีพรมแดนติดกับญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี และไต้หวัน   ขณะที่กองทัพเกาหลีใต้กล่าวว่าเครื่องบินทหารของรัสเซีย 4 ลำและของจีน 4 ลำได้บินเข้าใกล้เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (เอดีไอซี-ADIZ) ในช่วงเที่ยงวันอังคาร   เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ คือพื้นที่ที่นอกเหนือจากน่านฟ้าดินแดน เป็นพื้นที่ทางอากาศเหนือเขตแดนทางบกและทางทะเลรวมถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเล หรือพื้นที่อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ถูกกำหนดขึ้นมาโดยแต่ละประเทศเพื่อสังเกตเและเฝ้าระวังอากาศยาน รวมถึงเข้าควบคุมอากาศยานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติ แต่การกำหนดเขตประเภทนี้ไม่ได้รับรองไว้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศใด ๆ   กองทัพเกาหลีใต้ระบุว่า ตรวจพบเครื่องบินไอพ่นของจีนและรัสเซียก่อนที่จะบินล้ำเข้าสู่เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ   “เราใช้เครื่องบินรบของกองทัพอากาศในการดำเนินการตามขั้นตอนทางยุทธวิธีเพื่อเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน” กองทัพเกาหลีใต้กล่าวเสริม พร้อมชี้แจงว่าท้ายที่สุดแล้วเครื่องบินไอพ่นต่างชาติ 8 ลำไม่ได้ละเมิดน่านฟ้าของประเทศแต่อย่างใด           —————————————————————————————————————————————— ที่มา : …

(ชมคลิป) เขื่อนใหญ่ในเคียร์ซอนแตกน้ำทะลักท่วมเมือง ยูเครน-รัสเซียต่างกล่าวหากันเป็นตัวการระเบิดทำลาย

Loading

    เขื่อนโนวาคาคอฟกา ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ในแคว้นเคียร์ซอนทางภาคใต้ยูเครนที่รัสเซียยึดครองอยู่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ส่งไปยังคาบสมุทรไครเมียและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหญ่ที่สุดในยุโรป ถูกระเบิดเสียหายยับเยินในวันอังคาร (6 มิ.ย.) ทำให้มวลน้ำมหาศาลทะลักเข้าท่วมเมืองที่อยู่ใกล้เคียง ตลอดจนพื้นที่ซึ่งอยู่ตอนล่างลงมา ประชาชนจำนวนมากต้องเร่งอพยพหลบภัย ทางด้านประมุขยูเครนกล่าวหารัสเซียเป็นผู้ระเบิดเขื่อนจากด้านใน ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมหมีขาวตอบโต้ว่าเคียฟคือตัวการก่อเหตุ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเคลื่อนย้ายกำลังทหารเพื่อปฏิบัติการเล่นงานกองกำลังรัสเซีย       เขื่อนโนวาคาคอฟกา มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับรัสเซีย โดยเป็นแหล่งน้ำหลักซึ่งจัดส่งน้ำให้แก่คาบสมุทรไครเมีย ตลอดจนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาโปริซเซีย ที่เวลานี้ต่างอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อนนี้ก็เป็นหนึ่งในลักษณะหลักทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคใต้ของยูเครน โดยมีความยาว 240 กิโลเมตร และกว้าง 23 กิโลเมตร   การระเบิดเขื่อนแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำดนิโปร ที่ปัจจุบันกลายเป็นเส้นแบ่งพื้นที่ยึดครองของกองกำลังมอสโกกับของฝ่ายเคียฟ ในบริเวณภาคใต้ของยูเครน ทำให้เกิดภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมครั้งใหม่ในจุดศูนย์กลางของเขตสงคราม และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่แนวรบ ขณะที่ยูเครนกำลังเตรียมพร้อมเปิดปฏิบัติการตอบโต้ครั้งใหญ่ที่รอคอยมานานเพื่อชิงดินแดนที่ถูกยึดไปคืนจากรัสเซีย   เขื่อนโนวาคาคอฟกาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียตั้งแต่ช่วงต้นของสงคราม แม้กองทัพยูเครนชิงดินแดนด้านเหนือของแม่น้ำดนิโปรได้ตั้งแต่ปีที่แล้วก็ตาม และต่างฝ่ายกล่าวหากันมาตลอดว่า อีกฝ่ายวางแผนทำลายเขื่อน   ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่เรียกประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติของยูเครน เพื่อหารือเกี่ยวกับ “อาชญากรรมสงคราม” ของรัสเซียครั้งนี้ โพสต์บนแอปเทเลแกรมเมื่อวันอังคารว่า การทำลายเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำคาคอฟกาของผู้ก่อการร้ายรัสเซีย ตอกย้ำว่า รัสเซียจำเป็นต้องถูกขับไล่พ้นจากดินแดนยูเครน   ผู้นำเคียฟอ้างว่า รัสเซียระเบิดโครงสร้างภายในเขื่อน…