สะดุ้งทั้งโลก! รัสเซียแฉตรวจพบสหรัฐฯ ปฏิบัติการจารกรรมผ่านการแฮ็กไอโฟน

Loading

  หน่วยงานความมั่นคงรัฐบาลกลางรัสเซีย (FSB) ออกมาเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (1 มิ.ย.) ตรวจพบปฏิบัติการจารกรรมของสหรัฐฯ ที่เข้ายึดไอโฟนหลายพันเครื่อง โดยใช้ซอฟต์แวร์สอดแนมล้ำสมัย   แคสเปอร์สกี แลป ผู้ให้บริการแอนติไวรัสและความมั่นคงทางไซเบอร์ข้ามชาติ สัญชาติรัสเซีย เปิดผยว่าอุปกรณ์มือถือของพนักงานหลายสิบคนถูกเข้าควบคุมในปฏิบัติการดังกล่าว ในขณะที่ FSB เผยแพร่ถ้อยแถลงเสริมว่าอุปกรณ์ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ หลายพันชิ้นถูกแพร่เชื้อไวรัส ในนั้นรวมถึงผู้บอกรับสมาชิกภายในรัสเซีย เช่นเดียวกับบรรดานักการทูตต่างชาติในรัสเซียและอดีตสหภาพโซเวียต   “FSB ตรวจพบปฏิบัติการข่าวกรองของหน่วยพิเศษอเมริกา ที่ใช้อุปกรณ์มือถือของแอปเปิล” หน่วยงานความมั่นคงรัฐบาลกลางรัสเซียระบุในถ้อยแถลง   ถ้อยแถลงของ FSB ระบุว่า แผนการดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “การร่วมมือใกล้ชิด” ระหว่างแอปเปิลกับสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) หน่วยงานสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบด้านวิทยาการรหัสลับ ข่าวกรองและความปลอดภัยด้านโทรคมนาคม อย่างไรก็ตามทาง FSB ไม่ได้ให้หลักฐานเกี่ยวกับความร่วมมือของแอปเปิล หรือปฏิบัติการสอดแนมใด ๆ   จากนั้นไม่นาน แอปเปิลเผยแพร่ถ้อยแถลงปฏิเสธคำกล่าวหาดังกล่าว โดยบอกว่า “เราไม่เคยร่วมมือกับรัฐบาลไหน ๆ ในการแทรกซึมผ่านประตูหลังเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ของแอปเปิล และไม่เคยมีความตั้งใจทำเช่นนั้นด้วย” ในขณะที่ทาง NSA…

เมื่อเบอร์มือถือ=ตัวตนของเรา

Loading

สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้     ในวันที่โทรศัพท์มือถือไม่ใช่เพียงแค่อุปกรณ์สื่อสารที่ไว้แค่ใช้โทรติดต่อหากันอย่างเดิม หากแต่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อมต่อไปยังโลกทั้งใบ ผ่านแอปพลิเคชันและช่องทางโซเชียลมีเดีย ขณะเดียวกันเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้อยู่นั้น ยังเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสำหรับการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมด้านการเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ด้วยการกรอกรหัส OTP (One Time Password) ที่จะได้รับผ่านทาง SMS โทรศัพท์และเบอร์มือถือจึงเป็นเสมือนเครื่องมือยืนยันตัวตนในยุคดิจิทัล   เมื่อย้อนเวลาไปในปี 2557 สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ หรือแม้แต่การขอคืนเงินค่าใช้บริการ และยังมีประโยชน์ในมิติเชิงสังคมและความมั่นคงของประเทศในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องนำข้อมูลไปปราบปรามหรือจับกุมผู้กระทำความผิดได้   และต่อมาเมื่อปี 2562 สำนักงาน กสทช. ได้ยกระดับการลงทะเบียนซิมการ์ดโดยให้มีการพิสูจน์ยืนยันตัวตนด้วยอัตลักษณ์ (Biometric) เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างหรือสวมสิทธิ์ในการลงทะเบียนซิมการ์ดอันอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้บริการตลอดจนปัญหาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ   อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นจากช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย ก็มาพร้อมกับภัยที่มิจฉาชีพปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกลวงให้ทันสมัยเช่นกัน กสทช. จึงได้กำหนดนโยบายจัดระเบียบการลงทะเบียนซิมการ์ดเพิ่มเติม โดยหากกรณีที่ประชาชนต้องการใช้ซิมการ์ดมากกว่า 5 เบอร์ต่อ…

โจรใต้ป่วนไม่เลิก! ลอบวางระเบิดชุดรปภ.พระบิณฑบาต ‘อส.ทพ.-สงฆ์’ เจ็บ 5

Loading

  โจรใต้ป่วนหนัก ลอบวางระเบิด รถตู้ชุด รปภ.พระบิณฑบาต กลางชุมชนบ้านปลายนา รือเสาะ นราธิวาส พระเจ็บ 3 รูป อส.ทพ.เจ็บ 2 บ้านเรือน-รถยนต์ประชาชน เสียหาย   เมื่อเวลา 06.25 น. วันที่ 2 มิ.ย. 66 พ.ต.อ.ธัญญะ ลัมบุญ ผกก.สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส รับแจ้งมีเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ทหาร ชุด รปภ.พระสงฆ์ สังกัด กองร้อยทหารพรานที่ 4603 ขณะขับรถตู้นำพระสงฆ์วัดไพโรจน์ประชารามไปบิณฑบาต เหตุเกิดบริเวณปากซอยเจริญราษฎร์ 2 ข้างร้านมุสรือเสาะการเกษตร บ้านปลายนา หมู่ 2 ต.รือเสาะออก ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารและพระสงฆ์บาดเจ็บ 5 ราย จึงพร้อมด้วย พ.อ.สิทธิชัย บำรุงเขต ผบ.ฉก.กรม ทพ.46 เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดอโณทัย และเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด นปพ.กองกำกับการตำรวจภูธร จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน จ.นราธิวาส…

เปิด 5 แนวทาง “ทรู”ใช้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้า 50.5 ล้านเลขหมาย

Loading

  1 มิถุนายน 2566 ครบ 1 ปีที่กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) มีผลบังคับใช้ คงมีคำถามมากมายว่าแต่ละองค์กรทำอะไรไปบ้าง ซึ่งทรู คอร์ป หนึ่งในองค์กรที่มีลูกค้าจากการควบรวมทรู-ดีแทค มากถึง 50.5 ล้านเลขหมาย ได้ออกแนวทางหรือมาตรการอะไรในการดูแลลูกค้าทรู-ดีแทค เรื่องการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลไปบ้างแล้ว   ในช่วงปีที่ผ่านมา ทรู คอร์ปอยู่ในกระบวนการควบรวมทรู-ดีแทค ซึ่งมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทั้ง 2 องค์กรต่างให้ความสำคัญสูงสุดกับนโยบายการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งของลูกค้าและพนักงานในองค์กร ซึ่งภายหลังการรวมธุรกิจ ทรู คอร์ปได้นำสิ่งที่ดีที่สุด เข้มงวดที่สุดของแต่ละองค์กรมากำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy and Procedure เพื่อให้เป็นไปตามฟุตพรินต์มาตรฐานการปกป้องข้อมูลที่เป็นสากล และสอดคล้องกับกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป โดยทรู คอร์ป ได้ดำเนินการ 5 แนวทางสำคัญ เพื่อดูแลคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ดังนี้  …

ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า พร้อมวิธีป้องกัน

Loading

    ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps เชื่อว่าหลายท่านใช้ Google Maps ในช่วงระหว่างเดินทาง หาร้านค้าเด็ด สถานที่โดนๆ เนื่องด้วยความนิยมของข้อมูล Google Maps ที่ใช้งานฟรี ให้ข้อมูลฟรีแบบนี้ กลายเป็นเป้าหมายหลักของมิจฉาชีพ กับการโกงด้านข้อมูลบน Google Maps ที่เรียกว่า Google Maps Scam มาดูกันว่าสิ่งที่ต้องระวังและลักษณะการโกงบน Google Maps มีอะไรบ้าง ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า   นี่คือตัวอย่างกลโกง 5 ข้อ ที่พบบน Google Maps ดังนี้   จ่ายเงินเพื่อเสนอรายชื่อใน Google Maps ให้โดดเด่นขึ้น   รายชื่อบน Google Maps ค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับทุกธุรกิจ ช่วยให้ลูกค้าค้นพบธุรกิจและรู้ว่าจะเข้าถึงพวกเขาเมื่อใดและอย่างไร มิจฉาชีพจึงหาทางเข้าหาเหยื่อโดยอุบายให้เสนอรายชื่อบน Google Maps และบางครั้งก็เสนอตำแหน่งที่โดดเด่น…

10 เทรนด์เทคโนโลยีองค์กรรัฐไฮเทค ปี 2566

Loading

    การ์ทเนอร์เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญต่อภาครัฐ ประจำปี 2566 กระตุ้นผู้บริหารไอที (CIO) ใช้ทุกเทรนด์ปรับองค์กรรัฐให้ทันสมัย (Modernization) มีข้อมูลเชิงลึก (Insights) และเปลี่ยนผ่านให้ทันโลก (Transformation) ระบุทั้ง 10 แนวโน้มเป็นแนวทางให้ผู้นำองค์กรภาคสาธารณะเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (หรือ Post-Digital Government) และมุ่งที่เป้าหมายของภารกิจทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง   นายอาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ผู้บริหาร CIO ภาครัฐควรพิจารณาผลกระทบของแนวโน้มเทคโนโลยีที่มีต่อองค์กร และนำมาปรับใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อพิจารณารูปแบบการลงทุนพร้อมปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำและสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น   “ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังให้โอกาสสำคัญอีกหลายอย่างสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีภาครัฐต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่วๆ ไป ในขณะที่ยังต้องเดินหน้าปรับปรุงการส่งมอบบริการและรับมือกับผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อภารกิจหลัก”   เบื้องต้น การ์ทเนอร์คาดว่าในปี 2568 ราว 75% ของผู้บริหาร CIO ในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัยนอกเหนือจากในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไอที ประกอบด้วยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร การผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัปพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…