หน่วยข่าวกรองรัสเซียเผยแผนสอดแนม iPhone ของ NSA สหรัฐฯ

Loading

    สำนักงานข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย (FSB) อ้างว่าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) มีแผนใช้มัลแวร์ปริศนาเพื่อเจาะแบ็กดอร์ที่ทำขึ้นเองใน iPhone   FSB เผยว่ามี iPhone หลายพันเครื่องที่ถูกเจาะไปแล้ว ในจำนวนนี้มี iPhone ของนักการทูตรัสเซีย สมาชิก NATO อิสราเอล ซีเรีย และจีน รวมอยู่ด้วย   FSB ชี้ว่าแผนการครั้งนี้เผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง Apple และ NSA โดยอ้างว่า Apple เอื้อให้หน่วยข่าวกรองอเมริกันมีโอกาสในการสอดแนมเป้าหมายของทำเนียบขาวและบรรดาพันธมิตรที่ต่อต้านรัสเซีย และประชาชนของตัวเองด้วย   ทั้งนี้ FSB ให้ข้อมูลว่าการค้นพบในครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้นำของรัสเซีย         ที่มา Reuters         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :             …

“นินทา” บริษัทบนออนไลน์ ระวัง! ถูกสอดแนมด้วย Bossware ตรวจจับคนชอบเผือก

Loading

    ในไทยอาจยังไม่มี แต่บริษัทในสหรัฐกว่า 70% จะเริ่มใช้ “Bossware” ซอฟต์แวร์สอดแนมการ “นินทา” บนแอปฯ ประชุมทางไกล/กรุ๊ปแชทคุยงานทางไกล (Hybrid Work Gossip) ของลูกจ้าง ตามแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ในอีก 2 ปีข้างหน้า   Key Points:   – รู้ว่าไม่ดี แต่ก็หยุดไม่ได้ เมื่อ “การนินทา” เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และมักเกิดขึ้นเพื่อทำลายความจำเจของกิจวัตรประจำวัน หรือเพื่อเติมชีวิตชีวาให้แก่วงสนทนา   – แต่ในยุคนี้ที่มีสื่อสังคมโซเชียลเชื่อมต่อผู้คนได้แบบไร้พรมแดน ยิ่งทำให้การนินทาว่าร้ายบนโลกออนไลน์เกิดขึ้นได้ง่าย และแพร่กระจายได้รวดเร็วหลายพันเท่า โดยเฉพาะหากการนินทานั้นพาดพิงถึงบริษัทจนเกิดความเสียหาย   – ด้วยความกังวลดังกล่าว ทำให้หลายบริษัทในสหรัฐอเมริกา หาวิธีการสอดแนมและตรวจสอบการนินทาบนโลกออนไลน์ของลูกจ้าง ผ่านซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “Bossware” หลายคนรู้อยู่แก่ใจว่าการ “นินทา” คนอื่นมันไม่ดี แต่ถามว่ามนุษย์ออฟฟิศหยุดนินทาได้ไหม? เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ตอบเสียงดังฟังชัดว่า “หยุดไม่ได้จริงๆ” ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในทางจิตวิทยามีคำอธิบายว่า การนินทาอยู่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด…

“อเมซอน” ต้องจ่าย 1,072 ล้านบาท ข้อหาสอดแนมลูกค้าผ่านกล้องวงจรปิดและลำโพง

Loading

    อเมซอน ตกลงจ่ายเงิน 30.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อยุติข้อกล่าวหา ละเมิดความเป็นส่วนตัวลูกค้า ทั้งการสอดแนมผู้หญิงผ่านกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในห้องนอนและห้องน้ำหลายเเห่งเป็นเวลาหลายเดือน และบันทึกเสียงผู้ใช้งานลำโพงนานเกินความจำเป็น   สำนักข่าวอัลจาซีราห์ รายงานว่า บริษัทเทคยักษ์ใหญ่อเมซอนตกลงจ่ายเงิน 5.8 ล้านดอลลาร์ หลังคณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐ (เอฟทีซี) เผยว่า อดีตพนักงานอเมซอนสอดแนมลูกค้าผู้หญิงหลายคนเป็นเวลาหลายเดือน ในปี 2560 โดยใช้กล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย บริษัทริง ติดตั้งไว้ในห้องนอนและห้องน้ำ   อเมซอนยังตกลงจ่ายเงินอีก 25 ล้านดอลลาร์ สำหรับข้อกล่าวหาละเมิดความเป็นส่วนตัวเด็ก เนื่องจากไม่สามารถลบคลิปเสียงจากลำโพงสั่งการด้วยเสียงอัจฉริยะอเล็กซา เมื่อผู้ปกครองเด็ก ๆ ร้องขอให้ลบ และบริษัทยังเก็บบันทึกเสียงไว้นานเกินความจำเป็น   “ชามูแอล เลวีน” ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของเอฟทีซี กล่าวว่า “อเมซอนละเมิดความเป็นส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ การเพิกเฉยต่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของบริษัทริงทำให้ผู้บริโภคถูกสอดแนมและล่วงละเมิด”   สำนักงานใหญ่อเมซอน กล่าวว่า “อุปกรณ์และบริการของบริษัท สร้างมาเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของลูกค้า และให้ลูกค้าควบคุมประสบการณ์การใช้งานด้วยตนเอง”     สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ริง (Ring) บริษัทในเครืออเมซอน เผยว่า…

ฮือฮาไปทั่ว! ทรัมป์ยอมรับเองแอบเอา “เอกสารลับแผนโจมตีอิหร่าน” กลับบ้าน “พลเอกมิลลีย์” ยืนกรานไม่ได้พิมพ์แผนเอง

Loading

    เอเจนซีส์ – ฮือฮาทั่วสหรัฐฯ เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้หลักฐานเด็ดเป็นเสียงอดีตประธานานธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับเมื่อปี 2021 กลางที่ประชุมในสนามกอล์ฟรัฐนิวเจอร์ซีย์ว่า เขามีเอกสารลับเพนตากอนถึงแผนการโจมตีอิหร่านเสนอโดยประธานคณะเสนาธิการร่วมทหารสหรัฐฯ พล.อ.มาร์ค มิลลีย์ ที่เขาเก็บไว้หลังจากพ้นตำแหน่ง แต่ทว่า พล.อ.มิลลีย์ยืนยันว่าไม่ใช่เป็นคนทำรายงานชิ้นนั้นตามคำอ้างของอดีตผู้นำสหรัฐฯ   CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (31 พ.ค.) ว่า อัยการสหรัฐฯ ได้หลักฐานเด็ดที่เป็นเสียงแอบบันทึกไว้เมื่อกรกฎาคมปี 2021 ในสนามกอล์ฟของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เมืองเบดมินสเตอร์ (Bedminster) รัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งผู้เข้าร่วมที่นอกเหนือจากผู้ช่วยของทรัมป์ ยังมี 2 คนที่เข้าร่วมทำงานเกี่ยวข้องกับหนังสืออัตชีวประวัติของอดีตหัวหน้าคณะทำงานของทรัมป์ มาร์ค เมโดว์ส (Mark Meadows) และรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร มาร์โก มาร์ติน (Margo Martin)   แหล่งข่าวกล่าวว่า คนที่เข้าร่วมวงการสนทนาที่สนามกอล์ฟไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงชั้นความลับสหรัฐฯ และเมโดว์สไม่ได้เข้าร่วมอยู่ด้วย   ซึ่งในเวลานี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนว่าอดีตผู้นำสหรัฐฯ ละเมิดกฎหมายว่าด้วยการเก็บข้อมูลรัฐหรือไม่หลังจากที่เขาพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ…

กรมเจ้าท่า ประชุม”ยกระดับการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือ”ประเทศไทย

Loading

    กรมเจ้าท่า ประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับ”นายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP)” ตามข้อกำหนดและข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางทะเลสากล ยกระดับการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศของไทย   วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า (ด้านปลอดภัย) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับนายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP) โดยมีนายจรินทร์ บุตรวงษ์ รักษาการหัวหน้ากลุ่มตรวจท่า พร้อมด้วยเจ้าพนักงานตรวจท่า กลุ่มตรวจท่า สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมบุษบง 3 โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ     สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับนายงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ (PFSO WORKSHOP) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน Department for Transport ประเทศอังกฤษ และกรมเจ้าท่า ประเทศไทย โดย กลุ่มตรวจท่า สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ…

แนวทางบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  ความท้าทายสำคัญในการรับมือกับ ภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นความท้าทายของทุกประเทศทั่วโลกนั่นคือ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ แม้ว่าจะมีความพยายามแก้ปัญหานี้โดยการเร่งผลิตทรัพยากรบุคคล   เรียกว่าแทบทุกมหาวิทยาลัยจะมีหลักสูตรด้านนี้ รวมถึงศูนย์ฝึกอบรมระยะสั้น ตลอดจนการเรียนผ่าน online ฯลฯ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ดี จากผลสำรวจของ (ISC)2* พบว่าในปีพ.ศ. 2565 มีตำแหน่งงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ว่าง ยังไม่สามารถหาคนมาลงได้ถึง 3.4 ล้านตำแหน่งทั่วโลก   ความท้าทายนี้เริ่มตั้งแต่การสรรหา การพัฒนา ตลอดจนการรักษาบุคลากรที่มีประสบการณ์ให้ทำงานอยู่กับเรา สู้กับการแย่งชิงตัวพนักงาน ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงขึ้นอย่างมาก   นอกจากนี้ปัญหาที่แทรกซ้อนขึ้นมาคือ แม้จะมีความก้าวหน้าของเครื่องมือและเทคโนโลยีด้านการป้องกันภัยไซเบอร์ แต่หากเราไม่สามารถสรรหาบุคลากรเก่ง ๆ มาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ การลงทุนนั้นก็ไม่คุ้มค่าและไม่สามารถลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ลงไปได้   ผลของการขาดแคลนบุคลากร ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ตกอยู่ในความเสี่ยง และกำลังเดินเข้าสู่วังวนแห่งหายนะ (vicious cycle) กล่าวคือ เมื่อมีบุคลากรไม่เพียงพอ ทำให้บุคลกรที่มีอยู่ต้องรับภาระทำงานยาวขึ้นในแต่ละวัน ไม่สามารถหาวันลาพักผ่อนหรือวันหยุดได้   ประกอบกับภัยคุกคามที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นแรงกดดันให้เกิดภาวะ burnout หมดพลัง หมดไฟ และหมดแรงจูงใจให้สู้กับงาน จึงทยอยลาออกจากงานไป…