นักคิดค้น ‘ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง’ ของรัสเซีย ถูกกล่าวหาลอบเผยความลับให้จีน

Loading

  ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียถูกจับกุมในข้อหาขายชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความเร็วเหนือเสียงอีกสองคนถูกกล่าวหาว่าลักลอบเปิดเผยความลับให้แก่จีน จากการเปิดเผยของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่ได้ข้อมูลมาจากแหล่งข่าวใกล้ชิดเรื่องนี้   รอยเตอร์ระบุว่า อเลกซานเดอร์ ชิปลียุค ผู้อำนวยการสถาบันทฤษฎีและกลศาสตร์ประยุกต์คริสติอาโนวิช หรือ ITAM (Khristianovich Institute of Theoretical and Applied Mechanics) ในไซบีเรีย ต้องสงสัยว่ามอบเอกสารลับให้แก่จีนระหว่างการประชุมด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนเมื่อปี 2017   ผอ.ของ ITAM วัย 56 ปี ยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง พร้อมระบุว่า ข้อมูลที่เขาส่งมอบให้กับจีนนั้นไม่ใช่ข้อมูลลับและสามารถหาได้ทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต อ้างอิงจากแหล่งข่าวซึ่งรอยเตอร์ไม่ขอเปิดเผยชื่อเนื่องจากกังวลด้านความปลอดภัย   ชิปลียุค ถูกจับกุมเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วโดยไม่มีการเปิดเผยถึงข้อกล่าวหาที่มีต่อเขาในตอนนั้น ซึ่งกรณีของชิปลียุคถือเป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่มีนักวิทยาศาสตร์รัสเซียหลายคนถูกจับกุมในรอบไม่กี่ปีมานี้จากข้อกล่าวหาว่าลอบเปิดเผยความลับให้รัฐบาลจีน     ดมิทรี เพสคอฟ โฆษกรัฐบาลรัสเซีย กล่าวถึงกรณีนักวิทยาศาสตร์รัสเซียถูกจับกุมว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัสเซียติดตามตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ “ทรยศมาตุภูมิ” โดยตลอด และถือเป็นหน้าที่สำคัญ   และเมื่อรอยเตอร์สอบถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศจีนถึงข้อกล่าวหานี้ ได้รับคำตอบว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียอยู่บนพื้นฐานของการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่เผชิญหน้า และไม่เป็นเป้าหมายของบุคคลที่สาม   ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน เน้นย้ำว่า…

มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีโรงพยาบาล: ไซเบอร์ฆ่าคนได้จริง

Loading

    คืนวันที่ 11 กันยายน ของปี 2020 คงเป็นหนึ่งในค่ำคืนอันโศกเศร้ามากที่สุดของครอบครัวของผู้ป่วยวัย 78 ปีรายหนึ่ง ซึ่งป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่ต้องมาจบชีวิตลง เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟได้ เพราะระบบขัดข้องจากการมัลแวร์เรียกค่าไถ่     หญิงสูงวัยผู้นี้ต้องไปจบชีวิตบนรถพยาบาลระหว่างเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในเมืองวุพเพอร์ทาลที่อยู่ไกลออกไปกว่า 30 กิโลเมตร ทำให้การรักษาล่าช้าไปเป็นชั่วโมง   หากไม่มีแฮกเกอร์หิวเงินที่ปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าสู่ระบบโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟ ผู้ป่วยรายนี้ก็คงได้รับการรักษาจนกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวได้อีกครั้ง   แฮกโรงพยาบาลกระทบถึงชีวิตคนไข้   ระบบการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งหันมาพึ่งพาระบบไอทีเพิ่มมากขึ้น ทั้งระบบคลาวด์ เครือข่ายฐานข้อมูลภายใน ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับการทำงาน ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ารับการรักษาให้มากขึ้น   แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ โดยเฉพาะมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่ไม่เฉพาะแต่สร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังสร้างความสูญเสียให้เกิดกับคนไข้ที่มารับการรักษาด้วย   เนื่องจากการโจมตีแต่ละครั้งทำให้โรงพยาบาลต้องหันกลับใช้ระบบการทำงานด้วยมือ กระดาษ และปากกา ทำให้ระบบการทำงานช้าลง และแบกรับภาระคนไข้ไม่ได้เท่าที่เคย   ในกรณีโศกนาฎกรรมที่ดึสเซิลดอร์ฟ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำให้โรงพยาบาลรับคนไข้ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งจากที่เคยรับได้ถึงวันละมากกว่า 1,000 คน และยังไม่สามารถรับคนไข้ใหม่ได้อีกด้วย   บางโรงพยาบาลอย่างในฝรั่งเศส แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นต้องส่งคนไข้ที่อยู่ในการดูแลไปโรงพยาบาลอื่น ๆ…

‘การ์ทเนอร์’ เปิด 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ เขย่าลงทุนไอที ‘ภาครัฐ’

Loading

    การ์ทเนอร์ เผย 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ที่มีความสำคัญต่อกิจการภาครัฐปี 2566 แนวทางที่ผู้นำองค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (Post-Digital Government)   อาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ เปิดมุมมองถึง ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ว่า ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น   แต่ยังให้โอกาสสำคัญสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไป   พิทักษ์ ‘ซิเคียวริตี้’ องค์กร   สำหรับเทคโนโลยีที่ ซีไอโอ ภาครัฐควรพิจารณาและนำมาปรับใช้ เพื่อปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำ และสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น ประกอบด้วย     Adaptive Security : การ์ทเนอร์คาดว่า ปี 2568 ราว 75% ของซีไอโอในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัย โดยจะมีทั้งเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ เทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร   รวมไปถึงการผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…

‘Royal ransomware’ โจมตีระบบไอทีเมืองแดลลัส

Loading

  ในวันนี้ ผมขอหยิบยกข่าวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐเกี่ยวกับกรณีที่เมืองแดลลัส (Dallas) รัฐเท็กซัส ถูกโจมตีจาก “Royal ransomware” ทำให้ต้องปิดระบบไอทีบางส่วนชั่วคราวเพื่อเป็นการสกัดการแพร่กระจายของการโจมตีในครั้งนี้   อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า เมืองแดลลัส เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของสหรัฐ มีประชากรประมาณ 2.6 ล้านคน ซึ่งจุดนี้เองน่าจะเป็นสาเหตุที่ให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลือกเมืองแดลลัสเป็นเป้าหมายในการโจมตี   โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่า ระบบการสื่อสารของตำรวจและระบบไอทีของเมืองถูกชัดดาวน์ เนื่องจากมีความสงสัยว่ามีการบุกโจมตีของแรนซัมแวร์   จากสถานการณ์นี้มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ของ 911 ต้องจดบันทึกรายงานเหตุต่าง ๆ ที่ประชาชนแจ้งเข้ามาและส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแทนการส่งผ่านระบบสั่งการทางคอมพิวเตอร์โดยตรง และมีการปิดเว็บไซต์ของกรมตำรวจแดลลัสเพื่อความปลอดภัยก่อนกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งในเวลาต่อมา   นายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลเมืองได้รับการแจ้งเหตุการณ์การโจมตีตามแผนการตอบสนองภัยคุกคาม (IRP) โดยเครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยของแดลลัสได้แจ้งเตือนไปยังศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (SOC) ว่ามีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์และได้รับการยืนยันว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนหนึ่งถูกแฮ็กซึ่งส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ  รวมถึงเว็บไซต์กรมตำรวจอีกด้วย   โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดการแยกแรนซัมแวร์เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เริ่มจากการลบแรนซัมแวร์ออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่ติดไวรัสและกู้คืนบริการต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาใช้งานได้อย่างปกติ และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็เร่งประเมินผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับประชาชน   กล่าวคือ หากประชาชนพบกับปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการสามารถโทรติดต่อ 311 แต่ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินให้โทรติดต่อ 911 และมีผลกระทบกับระบบศาลของเมืองแดลลัสที่ต้องยกเลิกการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนเพราะระบบไอทีใช้งานไม่ได้   มีรายงานเกี่ยวกับการออกปฏิบัติการของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์พบว่า รัฐบาลท้องถิ่นถูกแรนซัมแวร์บุกโจมตีเพิ่มเรื่อย ๆ…

นักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศป่วนการจราจรในสนามบินเจนีวา

Loading

    กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศทำกิจกรรมประท้วงบนรันเวย์ที่สนามบินเจนีวา ทำให้การจราจรทางอากาศหยุดชะงักชั่วครู่ ก่อนที่จะค่อย ๆ กลับมาดำเนินการได้   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566 เกิดเหตุวุ่นวายบนรันเวย์ของสนามบินเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมบุกรบกวนการจราจรทางอากาศ ด้วยการทำกิจกรรมประท้วง   สนามบินเจนีวาประกาศแจ้งเตือนเหตุขัดข้องทางการบินผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย กล่าวว่า “เนื่องจากมีการบุกรุกของกลุ่มคนมายังบริเวณรันเวย์ของสนามบิน ทำให้การจราจรทางอากาศจำเป็นต้องหยุดลงชั่วคราว ก่อนจะกลับมาดำเนินงานได้อีกครั้งตั้งแต่เวลา 12:40 น. (17.40 น. ตามเวลาประเทศไทย) เป็นต้นไป”   การแจ้งเตือนดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่กลุ่มสิ่งแวดล้อมประกาศว่า นักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศอีกกลุ่มหนึ่งราว 100 คนจาก 17 ประเทศได้ขัดขวางการประชุมและนิทรรศการธุรกิจการบินแห่งยุโรป (EBACE) ซึ่งเป็นงานขายเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และนักเคลื่อนไหวเข้ายึดครองเครื่องบินไอพ่นที่จัดแสดงสำหรับงานนี้ที่สนามบินเจนีวาอย่างสงบ   เจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณสิบกว่านายเข้าแทรกแซงสถานการณ์ป่วนอย่างรวดเร็ว และเคลื่อนย้ายนักเคลื่อนไหวออกจากสถานที่ รวมทั้งคนจำนวนหนึ่งที่ประท้วงด้วยการผูกตัวเองติดกับเครื่องบินจัดแสดง โดยโฆษกของหน่วยตำรวจเจนีวาระบุว่า มีผู้ถูกควบคุมตัวราว 80 คน   ภาพที่เผยแพร่บนทวิตเตอร์แสดงให้เห็นนักเคลื่อนไหวตั้งเครื่องกีดขวางรอบเครื่องบินไอพ่น พร้อมชูป้ายสีสันสดใสที่มีคำว่า “ห้ามใช้เครื่องบินเจ็ตส่วนตัว” และ “เครื่องบินไอพ่นส่วนตัวเผาผลาญอนาคตของเรา”   พวกเขายังฉาบเครื่องบินบางลำด้วยข้อความคล้ายฉลากเตือนบนซองบุหรี่ โดยระบุว่าเป็น…

ระทึก เรือสอดแนมทันสมัยที่สุดของปูติน โดนโจมตีด้วยโดรน ในทะเลดำ

Loading

    เรือสอดแนมทันสมัยที่สุดของปูติน ถูกโจมตีด้วยโดรน ขณะแล่นอยู่ในทะเลดำ แหล่งข่าวในรัสเซียเผยเรือลาดตระเวน ‘Ivan Khurs’ ของกองทัพรัสเซียได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีทหารบาดเจ็บหรือเสียชีวิต   เมื่อ 24 พ.ค. 2566 เดลี่เมล รายงาน หนึ่งในเรือลาดตระเวนสอดแนมทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือรัสเซีย ถูกโจมตีด้วยโดรนทางทะเลถึง 3 ลำ ขณะเรือลาดตระเวนทันสมัยที่สุดลำนี้ของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน กำลังแล่นอยู่ในทะเลดำ   Rybar Telegram สื่อที่เป็นพันธมิตรกับกระทรวงกลาโหมรัสเซีย รายงานทางแอปแชท Telegram (เทเลแกรม) ว่า เรือลาดตระเวนของกองทัพรัสเซีย ‘Ivan Khurs’ ถูกโจมตีด้วยโดรนทางทะเล 3 ลำ ขณะกำลังแล่นอยู่บริเวณน่านน้ำสากล ห่างจากช่องแคบบอสฟอรัสไปทางเหนือประมาณ 40 ไมล์ทะเล   Rybar Telegram ชี้ว่า มีเหตุผลที่จะทำให้เชื่อว่าโดรนเหล่านี้ถูกยิงมาจากเรือพาณิชย์ พร้อมทั้งยังระบุด้วยว่า เรือลาดตระเวนรัสเซียได้ตอบโต้การถูกโจมตีครั้งนี้ที่เรือได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีทหารบาดเจ็บหรือเสียชีวิต   ด้านช่อง One Telegram อ้างว่า…