ผู้นำเกาหลีเหนือเยี่ยมชมดาวเทียมจารกรรมดวงแรก

Loading

    โซล 17 พ.ค. – นายคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือเยี่ยมชมดาวเทียมจารกรรมทางทหารดวงแรกของเกาหลีเหนือและเปิดไฟเขียวให้เดินหน้าตามแผนปฏิบัติการในอนาคต   สำนักข่าวกลางเกาหลี หรือ เคซีเอ็นเอ ของทางการเกาหลีเหนือรายงานวันนี้ว่า นายคิมได้พบหารือกับคณะกรรมการชั่วคราวเพื่อเตรียมการปล่อยดาวเทียมในวันอังคารก่อนที่จะเข้าชมดาวเทียม เมื่อเดือนก่อน นายคิมกล่าวว่า การสร้างดาวเทียมเสร็จสิ้นแล้วและอนุมัติให้ปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศได้ เคซีเอ็นเอ รายงานว่า ในระหว่างการเยี่ยมชมดาวเทียมในวันอังคาร นายคิมรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมการและเขายังได้ตรวจดูดาวเทียมลาดตระเวนทางทหารหมายเลข 1 ซึ่งจะพร้อมสำหรับการส่งขึ้นสู่อวกาศ หลังจากตรวจสอบการประกอบดาวเทียมในขั้นสุดท้ายและทดสอบสภาพแวดล้อมในอวกาศแล้ว นอกจากนั้น นายคิมยังให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการในอนาคตของคณะกรรมการเตรียมการฯ     การพัฒนาดาวเทียมลาดตระเวนทางทหารเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญด้านกลาโหมที่นายคิมกำหนดไว้ในปี 2021 รัฐบาลเกาหลีเหนือยังไม่ได้กำหนดวันปล่อยดาวเทียมดวงนี้แต่นายคิมกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า ดาวเทียมจะถูกส่งเข้าสู่วงโคจรตามวันที่ได้วางแผนไว้แล้ว               —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                       …

เครมลิน “จับตาใกล้ชิด” หลังซีไอเอออกคลิป “ขอข้อมูล” จากชาวรัสเซีย

Loading

    หน่วยข่าวกรองสหรัฐทำคลิป “เชิญชวน” ชาวรัสเซีย ร่วมแบ่งปันข้อมูลที่ “อาจกลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในอนาคต”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ว่า จากกรณีสำนักข่าวกรองกลาง ( ซีไอเอ ) ออกคลิปเป็นภาษารัสเซีย ส่งเสริมให้ประชาชนในรัสเซียติดต่อ “ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย” มายังซีไอเอ เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน โดยมีการระบุอย่างมีนัยว่า “ข้อมูลเหล่านั้นอาจมีประโยชน์มากกว่าที่คิด”   คลิปดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ออกมาประมาณ 15 เดือน หลังรัสเซียเปิดฉากปฏิบัติการทางทหารในยูเครน และรัฐสภารัสเซียมีมติเมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา เพิ่มบทลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดในข้อหากบฏจาก 20 ปี เป็นบทลงโทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น       นายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รัฐบาลมอสโก “ไม่ได้ให้ความสนใจ” แต่เชื่อมั่นว่า คลิปที่ออกมา “จะเป็นการโน้มน้าว” ให้หน่วยข่าวกรองของรัสเซีย “จับตาสถานการณ์ตามแนวทางที่จำเป็น” เนื่องจากการที่อีกฝ่ายทำคลิปแบบนี้ออกมา ยิ่งบ่งชี้ชัดเจนว่า ซีไอเอและแนวร่วมไม่เคยลดกิจกรรมด้านข่าวกรองบนแผ่นดินรัสเซียเลยแม้แต่น้อย…

ปากีสถาน : ปิดกั้นอินเทอร์เน็ตได้ แต่หยุดการประท้วงไม่ได้

Loading

  ทางการปากีสถานจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ท่ามกลางความรุนแรงของการประท้วงที่ลุกลามไปทั่วประเทศ หลังมีการจับกุมตัวนายอิมราน ข่าน อดีตนายกฯ ของปากีสถาน   การต่อสู้ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนนายอิมราน ข่าน และกองทัพอันทรงอำนาจของปากีสถาน ยังคงครองพื้นที่สมรภูมิรบ 2 ช่องทาง ได้แก่บนถนน และในโลกโซเชียลมีเดีย แต่การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตดูจะไม่เป็นผล เพราะยิ่งสร้างกระแสไม่พอใจของผู้ที่ประสบความเดือดร้อนเป็นวงกว้างขึ้นทุกที   สถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองของปากีสถานปะทุขึ้นอย่างรุนแรง หลังจากที่นายอิมราน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีถูกจับกุมเมื่อวันอังคารที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยในเมืองละฮอร์กลุ่มผู้สนับสนุนนายข่านต่างเคลื่อนไหว และยิ่งทำให้การประท้วงไปในทิศทางที่รุนแรงขึ้น   ภาพของผู้ประท้วงที่ขว้างปาก้อนหิน เพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ที่ใช้แก๊สน้ำตา มีการเผยแพร่ไปในโลกโซเชียลมีเดีย ขณะที่คลิปขณะที่นายอิมราน ข่านถูกควบคุมตัวโดยทหารก็กลายเป็นคลิปไวรัล   เพื่อหวังควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงตัดสินใจปิดกั้นอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าเฟซบุ๊ก ยูทูบ หรือทวิตเตอร์ แม้แต่คลื่นโทรศัพท์ก็ถูกบล็อกในบางพื้นที่อย่างไม่มีกำหนด เพื่อหวังลดกระแสความร้อนแรงลง แต่ผลกลับออกมาในทิศทางตรงข้าม เมื่อเกิดการประท้วงเป็นวงกว้างทั่วประเทศ ประชาชนบางส่วนเข้าระบบ VPNs โดยมีการใช้งานพุ่งสูงขึ้นถึง 1,300 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใครที่ยังสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ก็ใช้การสื่อสารผ่าน วอตส์แอป     “ข่าวจริง”…

เมื่อ “กูเกิล” ประกาศ “ลบ” บัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 ปี ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่ถูกลบ

Loading

  เมื่อ ‘กูเกิล’ ประกาศ ‘ลบ’ บัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 ปี ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่ถูกลบ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า “กูเกิล” บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของโลก ประกาศเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมว่า กูเกิล จะเริ่มการลบบัญชีที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมาอย่างน้อย 2 ปีทิ้ง โดยระบุว่า เป้าหมายเพื่อป้องกันเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ไม่ว่าเป็น จีเมล์ ดอกส์ ไดรฟ์ มีท คาเลนดาร์ ยูทูป และกูเกิล โฟโต้   โดยนโยบายดังกล่าวจะเริ่มมีผลในทันที แต่ทางกูเกิลระบุว่า จะยังไม่เริ่มการลบบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหว จนกว่าจะถึงเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งทางกูเกิลมีแผนที่จะส่งคำเตือนไปยังผู้ใช้งานต่าง ๆ และติดต่อไปยังบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นระยะ ๆ   ทั้งนี้ กูเกิลระบุว่า บัญชีแรก ๆ ที่จะถูกยกเลิก คือบัญชีที่ถูกสร้างขึ้น แล้วไม่เคยเข้ามาใช้งานเลย ซึ่งนโยบายนี้จะมีผลกับบัญชีส่วนบุคคลเท่านั้น ส่วนบัญชีขององค์กรต่าง ๆ อย่างโรงเรียน หรือภาคธุรกิจต่าง ๆ จะไม่มีผลแต่อย่างใด…

สังคมโลก : บัญญัติ 2630

Loading

    “บัญญัติ 2630” คือ กฎหมายฉบับใหม่ของบราซิล ซึ่งบรรดานักวิจารณ์เรียกว่าเป็น “กฎหมายการเซ็นเซอร์” ส่วนผู้เสนอยกย่องว่า มันเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกัน “ข่าวสารอันเป็นเท็จ” และพฤติกรรมสุดโต่งบนโลกออนไลน์ \ กฎหมายดังกล่าวได้รับการเสนอ เมื่อปี 2563 เพื่อจัดการกับข้อมูลเท็จทางออนไลน์จำนวนมาก โดยกฎหมายผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา และอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร   อย่างไรก็ตาม กฎหมายกลับมาป็นจุดสนใจอีกครั้ง หลังมวลชนฝ่ายสนับสนุน นายฌาอีร์ โบลโซนารู อดีตประธานาธิบดีฝ่ายขวาจัด ก่อการจลาจลในกรุงบราซิเลีย เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งพวกเขาถูกยุยงปลุกปั่นด้วยข้อมูลบิดเบือนบนสื่อสังคมออนไลน์ที่กล่าวอ้างว่า ประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ผู้นำบราซิลคนปัจจุบัน ฉ้อโกงการเลือกตั้งในปี 2565   แม้รัฐบาลฝ่ายซ้ายของลูลา และกลุ่มประชาสังคมหลายกลุ่ม สนับสนุนกฎหมายฉบับใหม่นี้ แต่บริษัทเทคโนโลยี, สมาชิกสภานิติบัญญัติซึ่งเป็นชาวคริสต์นิกายโปรแตสแตนต์ และกลุ่มผู้สนับสนุนโบลโซนารู แสดงท่าทีคัดค้าน โดยกล่าวว่า กฎหมายใหม่จะสร้าง “กระทรวงความจริง” เพื่อปิดกั้นความคิดเห็นของประชาชน   มาตรการข้างต้น กลายเป็นประเด็นใหญ่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลและศาลของบราซิล…

อดีตหัวหน้าทีมคลาวด์ Ubiquiti รับโทษจำคุก 6 ปีฐานเอาข้อมูลไปเรียกค่าไถ่บริษัท

Loading

  ศาลสหรัฐฯ พิพากษาลงโทษ Nickolas Sharp หัวหน้าทีมคลาวด์ของบริษัท Ubiquiti ในช่วงปี 2020 โทษฐานที่ดึงข้อมูลออกจากคลาวด์ด้วยตัวเองและนำข้อมูลไปเรียกค่าไถ่กับ Ubiquiti เป็นเงิน 50BTC   Sharp ถูกจับกุมตั้งแต่ปลายปี 2021 โดยตัวเขาเองถูกค้นคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นปี 2021 เมื่อถูกค้นก็พยายามปล่อยข่าวปลอมเกี่ยวกับ Ubiquiti ว่าบริษัทมีช่องโหว่และถูกแฮ็กอย่างรุนแรง จนทำให้หุ้นของ Ubiquiti ตกลงอย่างหนัก มูลค่าบริษัทหายไป 4 พันล้านดอลลาร์หรือกว่าแสนสามหมื่นล้านบาท   คดีนี้จบลงหลัง Sharp รับสารภาพ 3 ข้อหา ได้แก่ การแฮ็กระบบ, ฉ้อโกง, และให้การเท็จต่อ FBI ผู้พิพากษา Katherine Polk Failla ลงโทษจำคุก 6 ปี คุมความประพฤติหลังออกจากคุกอีก 3 ปี, ยึดทรัพย์สินทั้งหมดที่เกี่ยวกับการกระทำผิด, และจ่ายค่าเสียหายอีก 1.59 ล้านดอลลาร์    …