เกาหลีเหนือยัน ข้อตกลงสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ‘ยกระดับความตึงเครียด’

Loading

    เกาหลีเหนือออกโรงวิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ที่จะเปิดทางให้กรุงวอชิงตันส่งเจ้าหน้าที่และยุทโธปกรณ์เข้ามาในคาบสมุทรเกาหลี ว่าเป็นชนวนที่ทำให้ความตึงเครียดในภูมิภาคนี้ยกระดับขึ้นจน “เข้าใกล้การเกิดสงครามนิวเคลียร์” แล้ว ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่อ้างข้อมูลจากสื่อ KCNA ของกรุงเปียงยางในวันจันทร์   ระหว่างที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และประธานาธิบดียูน ซุก ยอล ร่วมประชุมสุดยอดผู้นำ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่กรุงวอชิงตัน ผู้นำสหรัฐฯ ได้ให้สัญญาว่า จะเปิดทางให้กรุงโซลได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแผนการด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความขัดแย้งกับเกาหลีเหนือ ขณะที่ หลายฝ่ายมีความวิตกกังวลมากขึ้นต่อการเผชิญหน้าระหว่างโครงการพัฒนาอาวุธของกรุงเปียงยางและศักยภาพด้านนิวเคลียร์ของอเมริกา   ทั้งนี้ สองผู้นำได้ตกลงที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความสามารถด้านกลาโหมของเกาหลีใต้และสหรัฐฯ จะนำส่งปัจจัยทางยุทธศาสตร์ของตนมาให้อย่างสม่ำเสมอ โดยภายใต้คำสัญญานี้ กองทัพเรือสหรัฐฯ จะส่งเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธวิถีโค้งมายังเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ด้วย   สื่อ KCNA รายงานโดยอ้างอิงความเห็นของ เช จู ฮยอน นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศว่า ข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้แสดงให้เห็นถึงความสมัครใจของพันธมิตรทั้งสองที่จะ “ดำเนินการอุกอาจและเป็นปฏิปักษ์อย่างที่สุด” ต่อเกาหลีเหนือ   รายงานข่าวนี้ยังระบุด้วยว่า การที่สหรัฐฯ จะส่งปัจจัยทางยุทธศาสตร์ของตนมาในแถบคาบสมุทรเกาหลีเป็นเหมือน “ปลักหล่มของการไม่มีเสถียรภาพ” ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง “กลุ่มก้อนทางทหารพิเศษจำเพาะเชิงรุก” ในภูมิภาคนี้   นอกจากนั้น…

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและการแจ้งเหตุการละเมิด

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องปฏิบัติ เมื่อดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล   หน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กร คือ การจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม (Security of Processing/Data Security)   และในกรณีที่ “มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย” ดังกล่าวที่องค์กรดำเนินการไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือเกิดข้อผิดพลาด อันอาจนำไปสู่เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach)   องค์กรก็จะมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด (Data Breach Notification)   หน้าที่ในส่วนของ “การมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย” และ “การแจ้งเหตุการละเมิด” จึงเป็นสองหน้าที่ที่มาควบคู่กันเสมอ   ในระบบกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่าเมื่อองค์กรนำเข้าและใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษา และเมื่อไม่สามารถดูแลได้จนนำมาซึ่งการเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   องค์กรก็ต้องรีบดำเนินการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามเงื่อนไขของกฎหมาย   เพื่อให้มีการประเมินและพิจารณาความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยเร็ว   พร้อมทั้งดำเนินการเยียวยาแก้ไขความเสียหายและผลกระทบใด ๆ ที่อาจมีต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการปกป้องส่วนได้เสียต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการ/ประชาชน   ตามประกาศฯ มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ข้อ…

แฮ็กเกอร์บอกเอง มีอะไรซ่อนอยู่บน DarkWeb

Loading

    เว็บไซต์ Vice ได้เปิดเผยคลิปที่สัมภาษณ์ Hacker คนหนึ่ง ที่เคยเป็น BlackHat มาก่อน ซึ่งสิ่งที่เขานำมาแชร์เป็นเบื้องลึกที่น่าสนใจของ DarkWeb ว่า มันมีอะไรอยู่ในนั้น ทำไมแฮ็กเกอร์ นักฆ่า เจ้าพ่อค้ายาเสพติด และกลุ่มอื่น ๆ ถึงชอบเข้าไปใช้งานกันนักหนา   เขาบอกว่า ปัจจุบัน ถ้าเป็นแฮ็กเกอร์ จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ Whitehat กับ Blakchat ก็ตามชื่อเลยครับ ฝั่ง BlackHat ก็จะทำให้ในสิ่งที่ผิดกฏหมายนั่นแหละ ปัจจุบันแฮ็กเกอร์สายหมวกดำ จะเน้นใช้ Ransomware ในการหาเงินให้กับตัวเอง และมีอีกบางกลุ่มที่อยากเห็นโลก “มอดไหม้” ด้วยมือของเขาเอง (ทำแล้วสนุกนั่นแหละ) พร้อมกับอธิบายว่า ระบบใด ๆ ก็ตามที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตี   เขาเคยเฝ้าดูโรงพยาบาลที่ถูกโจมตีด้วย Ramsomware และเห็นถึงทางเลือกของคนป่วยแค่ 2 แบบคือ ยอมจ่ายเงินเพื่อกู้คืนระบบกลับมา หรือยอมเสี่ยงชีวิต…

ยูเครนคือสมรภูมิ ประลองอาวุธ AI

Loading

    สมรภูมิรบในยูเครนได้กลายเป็น “โชว์รูม” แห่งอาวุธที่ใช้เทคโนโลยีก้าวล้ำกว่าสงครามโลกครั้งที่สองหลายมิติ   เป็นสนามประลองที่เราได้เห็นการใช้ “โดรนกามิกาเซ่” ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าสงครามครั้งก่อนๆ   เราเห็นการใช้ AI เพื่อประเมินข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการวางยุทธศาสตร์การสู้รบ   เราเห็นเครือข่ายดาวเทียม StarLink ของ SpaceX ของอีลอน มัสก์ ที่มีดาวเทียมจิ๋วๆ จำนวนมากลอยอยู่เหนือยูเครนเพื่อให้ทหารได้ใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินแม้ในแนวรบที่ห่างไกล   การที่กองทัพยูเครนไม่ถูกทหารรัสเซียถล่มโจมตีจนต้องยกธงขาวในสองสามสัปดาห์แรกก็เพราะหน่วยงานด้านเทคโนโลยีของยูเครนโดยการสนับสนุนจากตะวันตกส่งข้อมูลสำคัญๆ บนคลาวด์เพื่อจะปกป้องข้อมูลหลักๆ ไม่ให้ถูกทำลายด้วยขีปนาวุธรัสเซียที่ถล่ม “โครงสร้างพื้นฐาน” ด้านทหารและความมั่นคงของยูเครน   กระทรวงดิจิทัลของยูเครนที่เพิ่งตั้งขึ้นก่อนสงครามเกิดประมาณสองปีปรับตัวทันทีที่ทหารรัสเซียบุก…ด้วยการใช้ Apps ที่ชื่อ Diia เพื่อเก็บข้อมูลจาก open source intelligence หรือข้อมูลข่าวกรองที่ได้จากแหล่งข่าวที่เปิดเผย   เมื่อมี apps นี้แล้วประชาชนยูเครนทั้งหลายสามารถที่จะส่งรูปและคลิปวิดีโอขึ้นไปเพื่อรายงานที่ตั้งของฝ่ายศัตรูให้หน่วยงานทางการได้รับรู้   เหมือนประชาชนเป็นสายข่าวทหารให้กับทั้งกองทัพผ่านมือถือของตน   พอรัสเซียส่งโดรนที่ทำจากอิหร่านมาโจมตีเป้าหมายในสนามรบ ยูเครนก็โต้ตอบด้วยการส่งโดรนของตนที่ออกแบบมาเพื่อการสกัดโครนคู่ต่อสู้โดยเฉพาะ   และทหารยูเครนก็ได้รับการฝึกฝนให้ใช้อาวุธจากตะวันตกที่ตนไม่คุ้นเคยมาก่อน   เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการแข่งขันใช้นวัตกรรมแบบ “แมวกับหนู” ระหว่างรัสเซียกับยูเครนในสนามรบ   เมื่อยูเครนตัวเล็กกว่า…

ช่องทางทำกิน!! ชี้คนไทยฟ้องแพ่งรัฐได้หากพบทำข้อมูลรั่วสูงสุด 5 ล้านบาท

Loading

    ขู่องค์กรเตือนหน่วยงานเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้มาตรฐานทำรั่วไหลโดนปรับทางปกครอง- ปชช.ฟ้องแพ่งได้ ย้ำตามกฎหมายต้องรีพอร์ตสำนักงานสคส. ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งทางเจ้าของข้อมูล ให้รับทราบด้วย   นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลที่เกิดขึ้น มีสาเหตุจากระบบการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรต่างๆ ที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูล ยังไม่ได้มาตรฐาน และบุคคลในองค์กรเป็นผู้ทำรั่วไหลเอง รวมถึงการถูกแฮ็กเกอร์ทำการแฮ็กข้อมูลในระบบ ฯลฯ ซึ่งตาม พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ พีดีพีเอ ผู้ควบคุมข้อมูลจำเป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีความปลอดภัย ไม่ให้รั่วไหล   หากเกิดกรณีทำข้อมูล ของประชาชนรั่วไหลแล้ว ต้องแจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งทางเจ้าของข้อมูลให้รับทราบด้วย ซึ่งหากการสอบสวนผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) พิจารณา ออกมาว่าองค์กรนั้นๆ มีความบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำ มีความผิดจริง ก็จะมีโทษปรับทางปกครองตั้งแต่ 1 ล้านบาท สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท…

อิตาลีปลดล็อคให้ ChatGPT กลับมาใช้ได้ใหม่

Loading

    สำนักข่าวเอพีรายงานวันศุกร์ว่า “แช็ตจีพีที” (ChatGPT) โปรเเกรมปัญญาประดิษฐ์เเช็ตบอต สามารถกลับมาใช้ได้ในประเทศอิตาลีอีกครั้งหลังจากที่บริษัทผู้พัฒนาแอปฯ ทำตามข้อเรียกร้องเจ้าหน้าที่กำกับดูเเลกฎหมายของอิตาลี   บริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) ผู้พัฒนาแช็ตจีพีที กล่าวว่าฝ่ายตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลายข้อของทางการอิตาลีเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว ก่อนถึงกำหนดเส้นตายวันที่ 30 เมษายน โดยก่อนหน้านี้หน่วยงานกำกับดูเเลกฎหมายของอิตาลี สั่งระงับใช้เเช็ตบอตดังกล่าวชั่วคราว   โอเพนเอไอซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐฯ ระบุในอีเมลแจ้งการกลับมาใช้ได้ใหม่ของเเอปฯ ในประเทศอิตาลี ว่า “เรายังคงมุ่งมั่นในการปกป้องความเป็นส่วนตัว” ของผู้ใช้   การแบนเกิดขึ้นเมื่อเดือนที่เเล้ว เมื่อหน่วยงานกำกับดูเเลกฎหมายที่ชื่อ Garante ของอิตาลีห้ามโอเพนเอไอประมวลผลข้อมูลผู้ใช้เป็นการชั่วคราว ขณะที่ทางการทำการสอบสวนว่ามีการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องธุรกรรมการเงิน   โดยทั่วไประบบปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยข้อมูลออนไลน์ เช่น หนังสือดิจิทัล การเขียนและโพสต์บล็อก รวมถึงภาพต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญด้านประเด็นสังคมและจริยธรรมบนโลกไซเบอร์กังวลว่าระบบดังกล่าวอาจนำความเสี่ยงมาสู่สังคม   ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปกำลังร่างกฎเพิ่มเติมให้ใหม่ขึ้นสำหรับการกำกับดูเเลปัญญาประดิษฐ์   ในครั้งนี้เจ้าหน้าที่อิตาลีกล่าวว่า ไม่ต้องการสกัดกั้นการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ แต่ย้ำถึงความสำคัญเรื่องการปฏิบัติตามมาตรฐานที่เคร่งครัดว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้   ประเด็นที่โอเพนเอไอยอมปรับเพื่อให้เเอปฯ แช็ตจีพีที กลับมาใช้ได้ใหม่คือ การเพิ่มเติมเนื้อหาเว็บของตนเกี่ยบกับการเก็บและใช้ข้อมูลเพื่อฝึกในการทำงานของแช็ตจีพี เป็นต้น…