กลุ่มแฮ็กเกอร์สนับสนุนอาหรับโจมตีเว็บไซต์การท่า

Loading

    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 เมษายน) แฮ็กเกอร์โจมตีเว็บไซต์ของการท่าเรืออิสราเอลด้วยวิธีการ Distributed Denial-of-Service (DDoS) จนล่ม   Anonymous Sudan กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ต่อต้านนโยบายปาเลสไตน์ของอิสราเอลออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีในครั้งนี้   กลุ่มดังกล่าวยังอ้างว่าได้โจมตีเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยข่าวกรองภายในประเทศ (Shin Bet) สำนักงานหลักทรัพย์อิสราเอล และการท่าของเมืองไฮฟา ด้วย   แต่เว็บไซต์เหล่านี้ยังทำงานได้อย่างเป็นปกติอยู่         ที่มา The Jerusalem Post         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                                 …

สรุป อุตสาหกรรม Cybersecurity ฉบับภาษาคน

Loading

  เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของคนไทย 55 ล้านบัญชี ถูกแฮก โดยแฮกเกอร์ที่ชื่อ “9Near”   ข้อมูลเหล่านั้นประกอบไปด้วย ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ รวมถึงเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งถ้าข้อมูลจำนวนมากนี้หลุดออกไป ก็ถือเป็นความอันตรายต่อคนไทยทั้งประเทศ และอาจสร้างความเสียหายเป็นหลักพันล้านบาท   หากดูในภาพรวมจะพบว่า ในปีที่ผ่านมา Cyberattack หรือการโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลก มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 350,000 ล้านบาท..   สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้อุตสาหกรรม “Cybersecurity” หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ เติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว   Cyberattack และ Cybersecurity คืออะไร   และมีรูปแบบไหนบ้าง​ ?   ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง   เรามาเริ่มกันที่ Cyberattack หรือ การโจมตีทางไซเบอร์ กันก่อน ภาษาบ้าน ๆ เลยก็คือ โจรที่พยายามจะเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา   โดยทั่วไปแล้วคนเหล่านี้…

ห้ามพูด! มีระเบิด-เครื่องบินจะตก คำต้องห้ามใน “สนามบิน” ฝ่าฝืนติดคุก 5 ปี

Loading

    พูดเล่นไม่ได้! “ระวังมีระเบิด-ก่อการร้าย-เครื่องบินจะตก” เหล่านี้เป็นตัวอย่างของ “คำต้องห้าม” ที่ห้ามพูดในสนามบินและบนเครื่องบิน หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท   จากกรณีอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังเอ่ยคำต้องห้ามในสนามบิน แม้เพื่อนๆ ในกลุ่มจะเตือนแล้วแต่ก็ยังพูดต่อ เมื่อคลิปเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็เกิดดราม่าในโลกโซเชียลแทบจะทันที   รู้หรือไม่? ในสนามบินหรือบนเครื่องบิน เป็นสถานที่ที่มีความเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัยสูง ดังนั้นการกระทำหรือคำพูดต่างๆ ที่สื่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปในทางที่เป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องของคำพูดที่แม้จะเป็นเพียงการพูดเล่น แต่นั่นอาจทำให้คุณทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว   โดยสาเหตุที่มีกฎหมายควบคุมไม่ให้ผู้โดยสารเผลอพูด “คำต้องห้าม” บางคำในสนามบินหรือบนเครื่องบินนั้น ก็ด้วยเหตุผลสำคัญหลายข้อ ได้แก่   1. เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและระเบียบวินัยอันดีภายในสนามบินและบนเครื่องบิน   2. เพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดการกระทำดังกล่าวอันเป็นการแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการบินลดลง   3. เพื่อจัดการกับบุคคลที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมภายในสนามบินและบนเครื่องบิน เช่น ใช้คำพูดลวนลามหรือข่มขู่ให้กลัว   4. เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้แก่เครื่องบิน สนามบิน บุคคล และทรัพย์สินต่างๆ บนเครื่องบินหรือที่สนามบิน     ส่วนคำพูด…

ธุรกิจในอาเซียนระวัง !! แคสเปอร์สกี้ชี้ ‘โจมตีออนไลน์พุ่ง 45%

Loading

    ปี 2565 ดูจะเป็นปีที่ยุ่งสุดๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายโจมตีบริษัทองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) พบการขยายตัวของภัยคุกคามทางเว็บแบบก้าวกระโดดถึง 45%   ภัยคุกคามทางเว็บ หรือภัยคุกคามออนไลน์ หมายถึงความพยายามที่จะดาวน์โหลดอ็อปเจ็กต์อันตรายจากเว็บไซต์ที่ติดเชื้อหรือมีอันตราย ซึ่งจงใจสร้างขึ้นมาโดยยูสเซอร์ที่ประสงค์ร้าย เว็บไซต์ที่ตกอยู่ในอันตรายทั้งหลายประกอบด้วย เว็บไซต์ที่ยูสเซอร์ใส่คอนเท็นท์ลงไปด้วย เช่น ฟอรั่ม และเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ต่างๆ   ภัยคุกคามทางเว็บนั้นเกิดได้เพราะมีช่องโหว่จากทางเอ็นด์ยูสเซอร์ นักพัฒนาเว็บเซอร์วิส ผู้บริหารเว็บเซอร์วิส และตัวเว็บเซอร์วิสเอง ไม่ว่าจะมาจากความจงใจหรือสาเหตุอื่นใด ผลจากภัยคุกคามทางเว็บนั้นก็ส่งผบกระทบอันไม่พึงประสงค์ต่อทั้งตัวบุคคลและองค์กร     ช่วงสูงสุดของโรคระบาดเมื่อปี 2563 นั้น แคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตีผ่านเว็บจำนวน 10,200,817 ครั้งเพื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในปี 2564 พบว่า จำนวนการโจมตีเว็บลดลงนิดหน่อยอยู่ที่ 9,180,344 ครั้ง และทะยานเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2565 ที่จำนวน 13,381,164 ครั้ง   ในปี 2565 สิงคโปร์มีตัวเลขการเติบโตของภัยคุกคามทางเว็บที่โจมตีธุรกิจในอัตราก้าวกระโดดสูงที่สุด นับแบบ YOY ยอดรวมของจำนวนภัยคุกคามทางเว็บต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า…

กองทัพรัสเซียใช้ “T-14 Armata” รถถังรุ่นดีที่สุดที่รัสเซียมี

Loading

  สื่อรัสเซียเผย กองทัพรัสเซียใช้รถถัง “T-14 Armata” ซึ่งเป็นรุ่นที่ดีสุดของกองทัพในปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนด้วย   RIA สำนักข่าวของรัฐรัสเซีย รายงานว่า ในปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน กองทัพรัสเซียได้มีการใช้รถถังประจัญบาน “T-14 Armata” ด้วย โดยมันเป็นรถถังที่ได้ชื่อว่าเป็นรุ่นล่าสุดและดีที่สุดของรัสเซียในปัจจุบันแล้ว   แต่สำนักข่าว RIA ระบุว่า รถถัง T-14 Armata เหล่านี้ยังไม่ได้เข้าร่วมในปฏิบัติการจู่โจมโดยตรง มีเพียงการใช้โจมตีโครงสร้างทางทหารบางแห่งของยูเครนเท่านั้น พร้อมบอกว่า รถถังได้รับการติดตั้งส่วนป้องกันเสริมที่ด้านข้าง     รัสเซียเปิดตัวรถถัง T-14 ครั้งแรกในปี 2015 และนำมาแสดงโชว์ในพิธีสวนสนามเนื่องในวันสำคัญของชาติหลายครั้ง สมรรถนะมีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้รับการติดตั้งป้อมปืนไร้คนขับ พร้อมลูกเรือควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ระยะไกลจากแคปซูลหุ้มเกราะที่แยกอยู่ด้านหน้าของตัวถัง และลูกเรือได้ผ่านการฝึกประสานงานการสู้รบแล้ว   ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา หน่วยข่าวกรองทางทหารของสหราอาณาจักรรายงานว่า กองกำลังรัสเซียในยูเครนไม่เต็มใจที่จะยอมรับรถถังรุ่นนี้ เนื่องจากมีสภาพที่ย่ำแย่ นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่า การนำ T-14 มาใช้น่าจะเป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับรัสเซีย และเป็นการตัดสินใจเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อเป็นหลัก   “การผลิตน่าจะอยู่ในหลักสิบต่ำเท่านั้น ในขณะที่ผู้บังคับการไม่น่าจะไว้ใจยานเกราะนี้ในการรบ … รถถังรุ่นนี้ใช้เวลา…

รู้เขาหลอก! นักข่าวอาวุโสมะกันชื่อดังแฉตะวันตกทราบดี อาวุธที่ส่งให้ยูเครนถูกยักย้ายไปขายในตลาดมืด

Loading

    ซีย์มอร์ เฮิร์ช นักข่าวอาวุโสชื่อดังชาวอเมริกัน แฉตะวันตกรู้ดีว่าอาวุธจำนวนมากที่ส่งให้เคียฟถูกพวกผู้บังคับบัญชาทหารยูเครนแอบส่งขายให้พ่อค้าอาวุธในโปแลนด์ โรมาเนีย และอีกหลายประเทศ ขณะเดียวกัน เขาด้วยชี้ว่า นิวยอร์กไทมส์ซึ่งเขาเคยทำงานด้วยตอนนี้กลายพันธุ์เป็นสื่อโปรไบเดนเต็มตัว   เฮิร์ช เจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับแอฟชิน แรตแทนซี ในรายการ “โกอิ้ง อันเดอร์กราวด์” ว่า ตะวันตกรับรู้เรื่องการซื้อขายอาวุธในตลาดมืดนี้ และสื่ออเมริกันก็เคยรายงานข่าวการสูญหายของอาวุธที่จัดส่งไปให้ยูเครนตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว   นักข่าวอาวุโสผู้นี้อ้างว่า เกือบจะทันทีหลังจากความขัดแย้งระหว่างเคียฟกับมอสโกระเบิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 อาวุธที่ตะวันตกและพันธมิตรส่งให้เคียฟใช้ในสงคราม กลับหลั่งไหลท่วมตลาดมืดในโปแลนด์ โรมาเนีย และประเทศอื่นๆ ซึ่งบ่อยครั้งเป็นฝีมือทหารยูเครนระดับนายพัน และระดับอื่นๆ ที่เอาอาวุธที่ได้รับมาไปขายในตลาดมืดหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง   เฮิร์ชตั้งข้อสังเกตว่า ปีที่ผ่านมามีความกังวลในตะวันตกว่า อาวุธบางส่วนที่ส่งให้ยูเครน เช่น ขีปนาวุธแบบประทับบ่า “สตริงเกอร์” อาจถูกนำไปใช้ในการยิงเครื่องบินที่กำลังบินอยู่ในระดับสูงมากๆ   เขาเสริมว่า เครือข่ายโทรทัศน์ซีบีเอสเคยนำเสนอข่าวนี้แต่ถูกบีบให้ดัดแปลงแก้ไข เนื่องจากสื่อรายนี้สนับสนุนจุดยืนของอเมริกาในการ “ยืนข้างยูเครน และจงเกลียดจงชังรัสเซีย”   สิ่งที่เฮิร์ชพาดพิงถึงนี้น่าจะเป็นสารคดีเรื่อง “การติดอาวุธยูเครน” ที่ซีบีเอสแพร่ภาพเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยปรากฏว่าเนื้อหาบางตอนที่ตัดมาโปรโมต ซึ่งรวมถึงคำพูดเปิดเผยของโจนาส โอห์แมน ผู้ก่อตั้งกลุ่มบลู-เยลโลว์…