องค์การสหประชาชาติ ตำหนิสหรัฐอเมริกาเรื่องเอกสารลับที่รั่วไหล

Loading

    หลายสัปดาห์หลังจากมีการเผยแพร่เอกสารลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จำนวนมากบนสื่อสังคมออนไลน์ องค์การสหประชาชาติ ออกถ้อยแถลงตำหนิสหรัฐฯ กรณีที่มีการสอดแนมเลขาธิการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ   นายสเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกสหประชาชาติ กล่าวว่า สหประชาชาติมีความเห็นว่า การสอดแนมเจ้าหน้าที่บุคลากรของสหประชาชาติ ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของสหรัฐอเมริกาที่ระบุไว้ในกฎบัตรของสหประชาชาติและอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสหประชาชาติ และสหประชาชาติได้ส่งบันทึกไปยังคณะผู้แทนทางการทูตของสหรัฐฯ ในสหประชาชาติเกี่ยวกับเอกสารลับแล้ว   โดยในเอกสารลับส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ ที่ถูกนำมาเผยแพร่ เป็นการสอดแนมการสนทนาและการทำงานของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยมีการแสดงความเห็นว่า นายกูเตอร์เรส “อ่อนข้อ” ให้กับรัสเซียมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้มาตรการคว่ำบาตร ทั้งมีรายละเอียดการสนทนาส่วนตัวระหว่างนายกูเตอร์เรสกับนางอมินา โมฮัมเหม็ด รองเลขาธิการสหประชาชาติ   อย่างไรก็ตาม สำนักงานของนายกูเตอร์เรส ระบุว่า การทำงานของเขาอยู่ในสายตาของสาธารณชนมาเป็นเวลานาน จึงไม่แปลกใจหากจะมีการสอดแนมและดักฟังการสนทนาส่วนตัว แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือความบกพร่องหรือไร้ความสามารถที่ทำให้การสนทนาส่วนตัวถูกนำไปเผยแพร่ และถูกบิดเบือน               —————————————————————————————————————————————— ที่มา :           …

ชาติแรก! ญี่ปุ่นประกาศอพยพพลเมือง หนีแดนมิคสัญญีซูดาน

Loading

    เมื่อวันที่ 19 เมษายน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเตรียมอพยพพลเมืองของตนเองออกจากประเทศซูดาน ที่ยังคงเต็มไปด้วยการปะทะสู้รบระหว่างกองทัพซูดานกับกองกำลังกึ่งทหารอย่างรุนแรงต่อเนื่องมาเป็นวันที่ 5 นับเป็นชาติแรกที่ประกาศแผนจะอพยพพลเมืองของตนออกจากประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งแห่งนี้   นายฮิโรคาซุ มัตสึโนะ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า มีพลเมืองญี่ปุ่นราว 60 คนที่อยู่ในประเทศซูดานขณะนี้ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสถานทูตญี่ปุ่นด้วย และระบุว่า กระทรวงกลาโหมได้เริ่มเตรียมการที่จำเป็นสำหรับการอพยพแล้ว โดยสถานการณ์ความมั่นคงในขณะนี้กำลังเลวร้ายลง ซึ่งรัฐบาลจะทำอย่างเต็มที่ในการรักษาความปลอดภัยให้กับชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในต่างประเทศ     ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ได้ร้องขอให้พลเมืองของตนเองที่พำนักอยู่ในประเทศซูดาน ติดต่อแจ้งชื่อและรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับทางสถานทูตของตนเองเอาไว้   โดยสถานทูตสหรัฐในกรุงคาร์ทูม ได้เริ่มรวบรวมรายละเอียดข้อมูลของพลเมืองชาวอเมริกัน พร้อมขอให้พวกเขาเหล่านั้นอยู่ภายในอาคารและอยู่ให้ห่างจากหน้าต่าง   “เนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงที่ไม่แน่นอนในกรุงคาร์ทูมและการปิดสนามบิน ยังไม่มีแผนสำหรับการอพยพที่มีการประสานกับรัฐบาลสหรัฐ” สถานทูตสหรัฐประกาศผ่านทางทวิตเตอร์   ขณะที่นานาชาติเรียกร้องให้ยุติท่าทีเป็นปฏิปักษ์กันในซูดาน โดยที่ประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ชาติ (จี 7) ได้เรียกร้องในวันอังคาร (18 เม.ย.) ให้คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายหยุดยิงในทันที   ขณะที่ในวันพุธ (19 เม.ย.) มีรายงานว่าประชาชนหลายพันคนพากันอพยพออกจากกรุงคาร์ทูม…

วิญญาณนักสืบต้องมา! Google maps ตามตำแหน่งให้คุณได้

Loading

  หากตกอยู่ในสถานการณ์ต้องติดตามลูกหนี้ ตามเพื่อน ตามแฟน แต่ติดต่อไม่ได้ แล้วอยากจะรู้ว่าคนที่คุณตามหาเค้าอยู่ที่ไหน ลองใช้กูเกิลแมพ แบบไม่ต้องรอเช็คอินก็ตามหาได้แล้วว่าเค้าอยู่ที่ไหนกัน   ปัญหาการโทรหาไม่รับ ติดต่อไม่ได้ เฟซบุ๊กโดนบล็อก แต่ต้องตามหาเพื่อน แฟน หรือลูกหนี้ ลองใช้วิธีนี้กันดู เพราะวิธีนี้ใช้ตั้งค่าการแจ้งเตือนเข้า-ออกสถานที่นั้น ๆ และการรายงานผลแบบเรียลไทม์ได้เลย   วิธีตั้งค่า   1.กดที่รูปโปรไฟล์บัญชี Google maps ที่มุมบนด้านขวามือ   2.กดที่การแชร์ตำแหน่ง (Location Sharing)   3.กดแชร์ตำแหน่งกับปลายทาง   โดยเราจะสามารถเลือกได้ว่า จะแชร์กี่นาที หรือแชร์ตลอดเวลา จากนั้นกดตรงเพิ่มเติมเพื่อใส่ e-mail คนที่เราจะแชร์ตำแหน่งได้เลย   หรือถ้าคุณต้องการดู Timeline ว่าในแต่ละวันไปไหนมาบ้าง วิธีเข้าไปดู คือ   1.กดที่รูปโปรไฟล์บัญชี Google maps ที่มุมบนด้านขวามือ   2.กดที่เส้นทางของคุณ (Your Timeline)  …

ชี้แฮ็กข้อมูลส่วนบุคคลพุ่งทั่วโลก แนะวีธีลดความเสี่ยงตกเป็นเหยื่อ

Loading

    ผู้เชี่ยวชาญชี้ภัยคุกคามด้านการแฮ็กข้อมูลส่วนบุคคล เกิดขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มมากขึ้น แนะวีธีป้องกันความเสี่ยง ไม่ตกเป็นเหยื่อ   นายชาญวิทย์ จิวริยเวชช์ ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบระบบความปลอดภัยบนคลาวด์และโอที ของ ฟอร์ติเน็ต บริษัทผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยว่า จากการติดตามภัยคุกคามด้านการแฮ็กข้อมูลส่วนบุคคล ถือเป็นภัยทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลจาก Identity Theft Resource Center ในปี 65 ที่ผ่านมา มีการโจมตีด้านข้อมูลส่วนบุคคลถึง 1,800 ครั้ง มีข้อมูลที่ถูกขโมยโดยมีผู้เสียหายถึง 422 ล้านคนทั่วโลก โดยข้อมูลที่โดนขโมยมีทั้งชื่อ นามสกุล อีเมล วันเดือนปีเกิด เบอรโทรฯ ข้อมูลทางเงิน และข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ   “การเแฮ็กข้อมูล ทางแฮ็กเกอร์จะเจาะระบบ โดยใช้เครื่องมือสแกนช่องโหว่ไปเรื่อย ๆ จนพบ ซึ่งช้อมูลส่วนบุคคลถือว่ามีความสำคัญเพราะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ โดยจุดประสงค์ของแฮ็กเกอร์ในการขโมย คือ เอาข้อมูลไปขายให้ได้เงิน หรือต้องการสวมรอยเข้าระบบต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงต้องการทำให้เจ้าของข้อมูลเสียชื่อเสียง ฯลฯ ซึ่งข้อมูลบางอย่างมีความสำคัญมาก เช่น ข้อมูลสุขภาพ…

10 วิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ ที่ชอบหลอกดูดเงิน

Loading

    ปัญหาการหลอกดูดเงินจากมิจฉาชีพออนไลน์ ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องกังวลอยู่เสมอ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ออกคำเตือนและวิธีป้องกันการโดนหลอกนี้   ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย มิจฉาชีพซึ่งแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่องค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความต่างๆ รวมทั้งชักชวนให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์   โดยมิจฉาชีพจะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง ซึ่งมักจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ ห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพออนไลน์ สามารถนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ ทำการโอนเงินออกจากบัญชี   แนวทางการป้องกันจากมิจฉาชีพออนไลน์   – ไม่กดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือที่ส่งมาทางสื่อสังคมออนไลน์ ไม่กดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่างๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ ให้รางวัล หรือโปรโมชันต่างๆ   – หากได้รับโทรศัพท์จากหมายเลขที่ไม่คุ้นเคย และมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ให้ขอชื่อนามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับของเจ้าหน้าที่ โดยให้แจ้งว่าจะติดต่อกลับไปภายหลัง   – ตรวจก่อนว่ามาจากหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่ โดยการโทรศัพท์ไปสอบถามผ่านหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ หรือผ่านเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานนั้น โดยตรง รวมถึงตรวจสอบว่ามีการประกาศแจ้งเตือนการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวหรือไม่   – ระวัง LINE Official Account…

นักเรียนต่างชาติกังวลเรื่องความรุนแรงในรั้วมหาวิทยาลัย

Loading

  ความรุนแรงจากการใช้ปืนอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ขบวนพาเหรดในวันหยุด หรือร้านขายอาหาร และยังอาจเกิดขึ้นได้ในรั้วมหาวิทยาลัยอีกด้วย   เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มือปืนคนหนึ่งเข้าไปก่อเหตุในบริเวณมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บอีก 5 คน และเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย 3 คนถูกเพื่อนร่วมชั้นฆ่าตายขณะที่เดินทางกลับมาจากกรุงวอชิงตัน   นอกจากนี้ยังมีการใช้ความรุนแรงรูปแบบอื่น ๆ ตามรั้วมหาวิทยาลัย อย่างเช่นเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว มีการก่อเหตุโดยใช้มีดคร่าชีวิตนักศึกษา 4 คนจากมหาวิทยาลัยไอดาโฮ ในขณะที่พวกเขานอนหลับอยู่ในบ้านที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน ปัจจุบันยังคงมีการสืบสวนคดีนี้กันอยู่ ส่วนที่รัฐมิชิแกน ชายที่ก่อเหตุยิงนักเรียนฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา และที่รัฐเวอร์จิเนีย ตำรวจได้จับกุมนักเรียนที่ก่อเหตุยิงเพื่อนร่วมชั้นของเขาเอง   ข้อมูลจาก Violence Project ระบุว่า มีการก่อเหตุกราดยิงเก้าครั้งทั้งในหรือรอบ ๆ มหาวิทยาลัยในอเมริกาตั้งแต่ปี 1966   สำหรับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคในปี 2007 โดยนักศึกษาคนหนึ่งได้สังหารผู้คนไป 32 คนและบาดเจ็บอีก 17 คน   15 ปีต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและกฎเกณฑ์บางอย่าง แต่การก่อเหตุกราดยิงก็ยังคงเกิดขึ้น  …