เครมลินแบนใช้ iPhone หวั่นข้อมูลรั่วไหลสู่ชาติตะวันตก

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานโดยอ้างอิง Kommersant ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รัสเซีย ระบุว่า ทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ยุติการใช้ iPhone ของบริษัทแอปเปิ้ล เนื่องจากมีความกังวลว่าข้อมูลจาก iPhone อาจรั่วไหลไปยังหน่วยข่าวกรองของชาติตะวันตก   Kommersant รายงานว่า นายเซอร์เก คิริเยนโก รองผู้อำนวยการทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ในงานสัมมนาที่จัดขึ้นว่า เจ้าหน้าที่จะต้องเปลี่ยนโทรศัพท์ภายในวันที่ 1 เม.ย.   “สิ่งที่ต้องทำเกี่ยวกับ iPhone คือ ถ้าไม่ทิ้งไป ก็ให้เด็ก ๆ ใช้ โดยทุกคนต้องปฏิบัติภายในเดือนนี้” เจ้าหน้าที่กล่าว   Kommersant ระบุว่า ทำเนียบเครมลินจะจัดหาโทรศัพท์อื่นที่มีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างออกไปให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อทดแทน iPhone             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …

โดนปรับกว่า 18 ล้านบาท แมคโดนัลด์ สาขาเกาหลีใต้ถูกสั่งปรับ ฐานทำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ารั่วไหล

Loading

    วันที่ 22 มีนาคม 2566 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสั่งปรับแมคโดนัลด์ เกาหลีใต้เป็นเงิน 696 ล้านวอน (ราว 18.54 ล้านบาท) ฐานจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าอย่างหละหลวม หลังระบบถูกแฮ็กเกอร์เจาะข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า 4.87 ล้านราย พร้อมสั่งปรับอีกประมาณ 10 ล้านวอน (ราว 2.7 แสนบาท) ฐานละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้า   คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ระบุว่า แมคโดนัลด์ เกาหลีใต้ ไม่มีระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่แน่นหนาเพียงพอ โดยปล่อยให้ไฟล์สำรองที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าร้านอาหารและแมคเดลิเวอรี่ สามารถเข้าถึงได้ผ่านโปรโตคอลสำหรับการแชร์ไฟล์ ส่งผลให้ข้อมูลลูกค้ารั่วไหลไปกว่า 4.87 ล้านราย   นอกจากนี้ ยังพบว่าแมคโดนัลด์ เกาหลีใต้ ไม่ได้ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า 766,846 รายที่พ้นระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูล และได้ทำการแจ้งลูกค้าและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการรั่วไหลของข้อมูลล่าช้า         (1 วอน = 0.027 บาท)      …

มุ่งสู่ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

Loading

    ประเทศไทยมีความคืบหน้าเชิงประจักษ์ให้เห็น ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีความท้าทายหลายประการในการกำกับดูแลข้อมูลของภาครัฐ ที่ต้องได้รับการแก้ไข   เพื่อให้แน่ใจว่าพลเมืองทุกคนจะถูกรวมอยู่ในการสำรวจระดับชาติ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย   รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในปี 2565 ได้เสนอประเด็นสำคัญที่รัฐบาลไทยสามารถปรับปรุงได้ไว้หลายประการ รวมถึงมีเสียงสะท้อนจากผู้ใช้ข้อมูลของภาครัฐทั้งจากภาคเอกชน ประชาชน รวมถึงข้าราชการต่างกรมต่างกระทรวงกัน   ปัญหาหลักของข้อมูลไทยมีหลายประการ เฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล   ในปัจจุบัน คุณภาพของข้อมูลที่รวบรวมโดยหน่วยงานของรัฐต่างๆ นั้นยังไม่สอดคล้องกัน บางแห่งมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือยังทำความสะอาดข้อมูลไม่มากพอ ทำให้ยากต่อการนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย   ประเทศไทยยังขาดการเชื่อมต่อของฐานข้อมูล และมีการแบ่งปันข้อมูลอย่างจำกัดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากการทำงานแยกกันในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล   ทำให้ยากสำหรับผู้กำหนดนโยบายภาคธุรกิจและประชาชนในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายตามหน่วยงานอย่างสะดวกและทันท่วงที   ปัญหาอีกประการที่สำคัญ คือ การเข้าถึงข้อมูลที่จำกัด ในขณะที่ไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการเผยแพร่ข้อมูลสู่ภาคสาธารณะผ่านโครงการ Open Data Thailand แต่ยังพบว่าหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งยังไม่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ   ปัจจุบันมีชุดข้อมูลเพียง 8,180 ชุดข้อมูล เมื่อเทียบกับการเปิดเผยข้อมูลของสหรัฐเมริกา ผ่าน Data.gov ที่มีปริมาณชุดข้อมูล 335,000 ชุดข้อมูล หรือเทียบว่าไทยเปิดข้อมูลเพียงร้อยละ…

‘ยูจีน แคสเปอร์สกี้’ ปลุกโลกให้มี ‘Cyber Immunity’ สกัดภัยไซเบอร์

Loading

    แคสเปอร์สกี้ เผย จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยังคงเพิ่มขึ้นทวีคูณ เช่นเดียวกับความสนใจของ “อาชญากรไซเบอร์” ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้ เช่น ความเสียหายต่อโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกด้านพลังงาน ระบบเมืองอัจฉริยะ   Key Points :   – “ยูจีน แคสเปอร์สกี้” ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ แคสเปอร์สกี้ ยักษ์ใหญ่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์สัญชาติรัสเซีย เยือนไทย หนุน “Cyber Immunity” หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ สกัดภัยคุกคามออนไลน์   -ภัยคุกคาม เป้าโจมตี ภาคไอที โทรคมนาคม สุขภาพ บริการทางการเงิน โรงงานอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   -ปี 2022 พบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน เพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122 ล้านไฟล์   อุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยข้อมูล กำลังสร้างเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น…

เสียงดังคล้ายระเบิดสนั่น ควันโขมงที่สุไหงปาดี

Loading

  ชายแดนใต้อึมครึม เกิดเสียงดังสนั่นคล้ายระเบิดใน อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส พร้อมกลุ่มควันหนา สั่งคุมเข้มทุกหน่วยรักษาที่ตั้งเข้มแข็ง ป้องกันถูกลอบโจมตี เตรียมรุดตรวจที่เกิดเหตุวันรุ่งขึ้น ส่วนที่ปัตตานี ประกบยิง ผบ.ร้อยทหารพรานบาดเจ็บสาหัส   เมื่อเวลาประมาณ 21.25 น. วันอาทิตย์ที่ 26 มี.ค.66 เกิดเสียงดังคล้ายระเบิดในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ทำให้เกิดกลุ่มควันหนา มองเห็นจากระยะไกล หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยได้ประสานให้มีการตั้งด่าน เฝ้าระวังเส้นทาง และใช้มาตรการป้องกันที่ตั้ง ทั้งฐานปฏิบัติการ ฐานชุดคุ้มครองตำบล หรือ ชคต. และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หรือ ชรบ. ทุกแห่ง พร้อมปฏิบัติการรักษาที่ตั้งและตอบโต้อย่างมีประสิทธิภาพหากมีคนร้ายบุกโจมตีฐาน ส่วนการตรวจที่เกิดเหตุอย่างละเอียด จะดำเนินการในวันรุ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัย เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความสูญเสีย   ช่วงค่ำวันเดียวกัน เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ประกบยิง ร.ท.สิทธิชัย ทวิธางกูล ผู้บังคับกองร้อยทหารพรานที่ 2006 (ผบ.ร้อย ทพ.2006) ในพื้นที่บ้านโสร่ง หมู่ 3 ต.เขาตูม…

ไม่ใช่แค่ขู่! รัสเซียประกาศแผนติดตั้ง “อาวุธนิวเคลียร์” ในเบลารุส

Loading

    ปูตินแถลง บรรลุข้อตกลงติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของเบลารุส เป็นการนำอาวุธนิวเคลียร์ไปใกล้ชาติยุโรปมากขึ้น   หนึ่งในสิ่งที่ทั่วโลกมีความกังวลที่สุดเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน คือเรื่องของ “การใช้อาวุธนิวเคลียร์” ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้สงครามครั้งนี้รุนแรงขึ้นจนอาจยกระดับกลายเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 3”   ตลอดปีที่ผ่านมา คำขู่เรื่องอาวุธนิวเคลียร์ของฝ่ายรัสเซียดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ทีเล่นทีจริง ไม่มีใครเดาใจผู้นำรัสเซียอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน ออกว่า ท้ายที่สุดแล้วเขาจะตัดสินใจใช้อาวุธร้ายแรงนี้ในการทำศึกหรือไม่     อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวานนี้ (25 มี.ค.) ปูตินได้ออกมาแถลงผ่านช่องโทรทัศน์ของรัฐว่า “รัสเซียได้บรรลุข้อตกลงในการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของเบลารุส”   ความเคลื่อนไหวนี้เท่ากับว่า รัสเซียได้นำคลังแสงนิวเคลียร์บางส่วนไปไว้ใกล้กับยูเครน และยุโรป   ปูตินอ้างว่า การตัดสินใจนี้ไม่นับเป็นการละเมิดข้อตกลงไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยมีลักษณะเหมือนกับข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับพันธมิตรหลายชาติในยุโรปที่อนุญาตให้สหรัฐฯ ไปตั้งฐานอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศเหล่านั้นได้   “เรื่องนี้ไม่มีอะไรผิดปกติ ประการแรก สหรัฐฯ ทำสิ่งนี้มานานหลายทศวรรษแล้ว พวกเขาติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของประเทศพันธมิตรมานานแล้ว” ปูตินกล่าว   มีการประเมินโดยศูนย์ควบคุมอาวุธและการไม่แพร่ขยายอาวุธว่า สหรัฐฯ มีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 100 ชิ้นจัดเก็บอยู่ในฐานทัพยุโรป 6 แห่งใน 5 ประเทศ…