WhatsApp จะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายสหราชอาณาจักรที่จะลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

Loading

  ผู้บริหาร WhatsApp ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายด้านความปลอดภัยของสหราชอาณาจักรที่บริษัทมองว่าจะกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน   ร่างกฎหมายความปลอดภัยออนไลน์ (Online Safety Bill) มีเนื้อหาที่ระบุว่าเจ้าของแพลตฟอร์มการสนทนาจะต้องสามารถเข้าดูเพื่อกรองเนื้อหาการสนทนาของผู้ใช้บนแพลตฟอร์มได้ ผู้ใช้ก็จะเสียความเป็นส่วนตัวไป   ซึ่งหาก WhatsApp ยอมปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หมายความว่าต้องมีการนำวิธีการเข้ารหัสแบบ 2 ฝั่ง (E2EE) ที่เป็นเครื่องมือปกป้องความเป็นส่วนตัวระหว่างผู้สนทนาออกไป   วิล แคตคาร์ต (Will Cathcart) ผู้บริหาร WhatsApp ชี้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สำหรับเพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่จะกระทบผู้ใช้ส่วนอื่นของโลกด้วย   แคตคาร์ตอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อเสนอการแก้เนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวกับฝ่ายนิติบัญญัติ   แคตคาร์ตชี้ว่าบางประเทศแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นไม่ให้ใช้งานแพลตฟอร์มที่ไม่ยอมทำตามกฎหมายในลักษณะนี้ ตัวยกตัวอย่างอิหร่าน   “เราไม่เคยเห็นว่ามีประเทศประชาธิปไตยเสรีนิยมที่ทำแบบนั้น” แคตคาร์ตระบุ     ที่มา Silicon Republic       ————————————————————————————————————————- ที่มา :             …

คำถามนี้ “ดี” พี่ตอบให้: ความน่าเชื่อถือของ e-Signature และการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

กลับมาอีกครั้งกับคำถามที่ทุกคนต้องถาม ! “e-Signature” คำดี คำเดิม !!   ถึงแม้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะบอกชัดเจนว่า การเซ็นด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับลายเซ็นลงบนกระดาษ… แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่ามันน่าเชื่อถือจริงๆ หรือเปล่า ? ต้องเป็นข้อมูลแบบไหน / ลายเซ็นอิเล็กทรอนิก์แบบไหนกันนะ ถึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ ?? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของทุกคนกันค่ะ   1. ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ? ตอบ : ได้ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 วรรคแรก ระบุไว้ว่า “ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์… ”   แต่การที่ศาลจะเชื่อถือในพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือความพยายามหลักฐาน โดยศาลอาจพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น การสร้าง การเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ศาลอาจพิจารณาถึงความครบถ้วน…

ล่องหนได้ จีนสร้างเครื่องบินขับไล่ J-20 ติดอาวุธเลเซอร์ ไร้คนขับ

Loading

  มีข่าวว่าเครื่องบินขับไล่ใหม่ของจีนสามารถติดตั้งอาวุธพลังงานเลเซอร์ได้ แถมบินได้แบบล่องหนอีกด้วย   เครื่องบินขับไล่ล่องหนดังกล่าวเป็นรุ่น J-20 แต่ถูกพัฒนาและอัปเกรดจนเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 5 แล้ว ความสามารถหลัก ๆ ที่เพิ่มเข้ามาคือ ติดตั้งอาวุธเลเซอร์ได้ บินแบบล่องหนได้ รองรับการบินแบบไร้คนขับ และการควบคุมจากส่วนกลาง เป็นอากาศยานไร้คนขับที่ติดตั้งอาวุธที่ทันสมัยที่สุด   Directed-energy weapons หรือ อาวุธเลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ สามารถใช้ในการสกัดกั้นภัยคุกคามทางอากาศได้รวดเร็วกว่าขีปนาวุธ ป้องกันได้ยากกว่า อานุภาพสูง แต่มีข้อเสียคือใช้พลังงานมาก ซึ่งโดยปกติแล้ว จะติดตั้งอยู่ที่ภาคพื้นดิน แต่การที่เอามาที่ติดที่เครื่องบิน แสดงว่าเครื่องบินต้องมีแหล่งเก็บพลังงานมากกว่าเครื่องบินทั่วไปครับ   ไม่เพียงเท่านี้ J-20 สามารถติดตั้งเรดาร์และระบบควบคุมการยิงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป็นเครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าขนาดเล็กที่ว่องไว ทั้งหมดนี้จะช่วย J-20 สามารถดำเนินการประสานงานกับโดรน หรือเป็นจ่าสูงในการสั่งการฝูงโดรนที่ใช้ในการต่อสู้   ระหว่างนี้ เราจะห็นประเทศผู้นำโลกต่าง ๆ ทั้งจีน สหรัฐ อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ เริ่มจะพัฒนาอาวุธกันมากขึ้น ก็ได้แต่หวังว่า มันจะเป็นแค่การโชว์เพื่ออวดศักยภาพกันเท่านั้น อย่าให้มันถูกนำมาใช้จริงในสงครามเลย …  …

แคนาดากังวล จีนตั้ง ‘สถานีตำรวจ’ ในควิเบก

Loading

  ตำรวจสหพันธรัฐแคนาดา (Royal Canadian Mounted Police : RCMP) ตรวจสอบรายงาน “สถานีตำรวจ” ของจีน 2 แห่งในมอนทรีออล จังหวัดควิเบก ตามที่กลุ่มองค์กรเอกชนจากสเปน ระบุว่า ทางการจีนใช้เป็นศูนย์กลางในการคุกคามและติดตามชาวจีนในต่างประเทศ แต่ทางการจีนชี้แจงว่า เป็น “ศูนย์บริการ” สำหรับพลเมืองของตนในต่างประเทศ   นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด เปิดเผยว่า รัฐบาลแคนาดามีความกังวลเป็นอย่างมาก และหน่วยข่าวกรองกำลังมีการตรวจสอบ นอกจากนี้การสอบสวนยังเกิดขึ้นท่ามกลางข้อกล่าวหาที่ว่าจีนพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งล่าสุดของแคนาดา ซึ่งเป็นประเด็นที่สร้างความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศ   เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นายคริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอ ได้รายงานต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐฯ ว่า ทางการจีนมีการจัดตั้งสถานีตำรวจในดินแดนของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยและหลีกเลี่ยงกระบวนการมาตรฐานของการพิจารณาคดีและการบังคับใช้กฎหมาย   กลุ่มองค์กรเอกชน เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ส (Safeguard Defenders) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศสเปน เปิดเผยว่า ทางการจีนมีสถานีตำรวจมากกว่า 100 แห่งใน 53…

เที่ยวบินโคเรียนแอร์อพยพ 230 คน หลังพบ “กระสุนปืน” ในห้องโดยสาร

Loading

  ผู้โดยสารและลูกเรือรวม 230 คน บนเที่ยวบินของ “โคเรียนแอร์” ต้องอพยพ ระหว่างเตรียมออกเดินทางไปฟิลิปปินส์ หลังมีการตรวจพบ “กระสุนปืน” ภายในห้องโดยสาร   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ว่า สำนักงานตำรวจประจำท่าอากาศยานนานาชาติอินชอนออกแถลงการณ์ เรื่องการอพยพผู้โดยสาร 218 คน และลูกเรือ 12 คน ออกจากเครื่องบินโดยสารของสายการบินโคเรียน แอร์ เที่ยวบินที่ เคอี621 ซึ่งเตรียมออกจากท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน ไปยังท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน เมื่อช่วงเช้าของวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจากมีการตรวจพบ “กระสุนปืน” ภายในห้องโดยสาร   Live bullet found at Korean Air plane about to take off; passengers evacuated https://t.co/BWzOgBZq8P — Yonhap News Agency…

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! รวมคำถามฮิต e-Signature / Digital Signature

Loading

1. “รูปลายเซ็น ตัด แปะ” ลงในไฟล์ PDF และส่งทางอีเมลถือเป็น e-Signature หรือไม่ ? ตอบ : ก่อนอื่นต้องมาทบทวนความหมายของ e-Signature กันก่อน เนื่องจาก e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ถูกสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น   ดังนั้น จากคำถามข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปลายเซ็นที่ตัดแปะลงในไฟล์ PDF สามารถเป็น e-Signature ตามมาตรา 9 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งจะเรียกกันว่า “e-Signature แบบทั่วไป” นั่นเอง โดย e-signature ดังกล่าวตามกฎหมายจะต้องระบุองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้ ดังนี้ 1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นลายเซ็นคือใคร 2. สามารถระบุเจตนาตามข้อความที่เซ็นได้ ว่าเป็นการเซ็นเพื่ออะไร…