ข่าวกรองสหรัฐชี้ “ศัตรูของรัฐบาลวอชิงตัน” ไม่น่าเกี่ยวข้อง “ฮาวานาซินโดรม”

Loading

  สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ว่า เนื้อหาบางส่วนจากรายงานที่จัดทำร่วมกันโดยประชาคมหน่วยข่าวกรองของสหรัฐ 7 จาก 18 แห่ง ใช้เวลาสืบสวนสอบสวนนานกว่า 2 ปี ใน 90 ประเทศ รวมถึงสหรัฐ เกี่ยวกับภาวะ “ฮาวานา ซินโดรม” ซึ่งส่งผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่การทูต เจ้าหน้าที่ข่าวกรอง และพลเมืองสหรัฐทั่วไป รวมมากกว่า 1,500 คน “พบความเป็นไปได้ในระดับต่ำมาก” ที่ “ปรปักษ์ต่างชาติ” มีความเกี่ยวข้องกับอาการป่วยดังกล่าว   ขณะเดียวกัน คณะผู้จัดทำรายงาน “ยังไม่พบหลักฐานที่มีน้ำหนัก” ว่าประเทศซึ่งรัฐบาลวอชิงตัน “ถือเป็นฝ่ายตรงข้าม” ครอบครอง “อุปกรณ์หรือชุดเครื่องมือ” อาทิ “ตัวปล่อยสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า” ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการฮาวานา ซินโดรม   รายงานฉบับดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกับรายงาน ซึ่งสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) เผยแพร่เมื่อเดือน ม.ค. ปีที่แล้ว ว่าอาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วยฮาวานา ซินโดรม ส่วนใหญ่ “สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางการแพทย์”…

ขยายเวลา “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ชายแดนใต้ รอบที่ 71

Loading

  รัฐบาลเตรียมขยายเวลาการบังคับใช้ “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไปอีก 3 เดือน นับเป็นการต่ออายุครั้งที่ 71 นับตั้งแต่เริ่มประกาศครั้งแรกเมื่อเดือน ก.ค.2548   การขยายเวลาการบังคับใช้ “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ครั้งที่ 71 เป็นไปตามการเสนอของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (กบฉ.) ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยจัดประชุมที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม และ พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เข้าร่วมประชุมด้วย   โดยที่ประชุมได้รับทราบผลการปฏิบัติงานตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในห้วงวันที่ 20 ธ.ค.65 – 23 ก.พ. 66 และแนวโน้มสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากนั้นได้พิจารณาเห็นชอบ ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 (กอ.รมน.ภาค 4) เสนอขยายเวลาออกไปอีก…

แฮ็กเกอร์โจมตีเว็บไซต์โรงพยาบาล 9 แห่งในเดนมาร์ก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อเป็นกลุ่มสนับสนุนรัสเซีย

Loading

  หน่วยงานด้านสาธารณสุขในภูมิภาคส่วนกลางของเดนมาร์ก (Region Hovedstaden – Region H) เผยว่าการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ทำให้ระบบโครงข่ายของโรงพยาบาล 9 แห่งต้องปิดตัวลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (26 กุมภาพันธ์)   แต่ทาง Region H ยืนยันว่าคนไข้ที่อยู่ในระบบการรักษาไม่ได้รับผลกระทบต่อชีวิต รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลก็ยังทำงานได้ มีเพียงเว็บไซต์เท่านั้นที่ล่ม โดยได้มีการใช้ระบบโทรศัพท์แทน   กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Anonymous Sudan ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในช่องทาง Telegram ของทางกลุ่ม ซึ่งอ้างเหตุผลของการโจมตีว่าเป็นเพราะโรงพยาบาลหลายแห่งในเดนมาร์กเผาคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมเตือนว่าจะมีการโจมตีต่อไปอีก   ทางกลุ่มอ้างว่ามาจากซูดานและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ใช้ชื่อเดียวกัน แต่นักวิจัยทางไซเบอร์ชี้ว่ากลุ่มที่ก่อเหตุล่าสุดนี้เป็นชาวรัสเซียและมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต รวมทั้งยังน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ Killnet กลุ่มแฮ็กเกอร์สนับสนุนรัสเซียที่กำเนิดขึ้นในช่วงสงครามยูเครน   เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ Anonymous Sudan ออกมาอ้างความรับผิดชอบการโจมตีเว็บไซต์หน่วยข่าวกรองต่างประเทศเยอรมนี และเว็บไซต์ของคณะรัฐมนตรีเยอรมนี ซึ่งในตอนนั้นทางเยอรมนีชี้ว่าการโจมตีไม่ได้เป็นผลนัก   ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มบริษัทไซเบอร์สวีเดนสามารถปิดเซิร์ฟเวอร์ 61 แห่งที่เป็นของ Anonymous Sudan บนบริการคลาวด์ของ IBM ที่ตั้งอยู่ในเยอรมนีได้เป็นผลสำเร็จ…

ผู้พิพากษาศาลสูงสุดสหรัฐฯ ใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงาน – พบถุงบรรจุเอกสารลับที่รอการทำลายถูกเปิดทิ้งไว้บริเวณทางเดิน

Loading

    สำนักข่าว CNN (4 ก.พ.66) – ผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐฯ บางรายมักใช้อีเมลส่วนตัวในการส่งข้อมูลอ่อนไหว อีกทั้งเครื่องพิมพ์ของสำนักงานศาลสูงสุดไม่มีระบบบันทึกข้อมูลการใช้งาน (log) และยังสามารถสั่งพิมพ์เอกสารสำคัญต่าง ๆ จากนอกสำนักงานได้โดยไม่มีการติดตามตรวจสอบ ขณะที่ถุงบรรจุเอกสารลับสำหรับรอการทำลายถูกเปิดและวางทิ้งไว้บริเวณทางเดินโดยไม่มีใครสนใจ แหล่งข่าวซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ศาลสูงสุดระบุว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยภายในที่หละหลวมเช่นนี้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย อันนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ และเป็นอุปสรรคในการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดหากมีเหตุข้อมูลข่าวสารลับรั่วไหลเกิดขึ้น   ผู้พิพากษาฯ บางคนที่ปรับตัวตามเทคโนโลยีได้ช้ายังคงใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงาน แทนที่จะใช้เซิร์ฟเวอร์ที่มีการตั้งค่าระบบความปลอดภัยสำหรับป้องกันข้อมูลข่าวสารรั่วไหล ประกอบกับเจ้าหน้าที่ศาลฯ นั้นรู้สึกลำบากใจที่จะกล่าวเตือนให้บุคคลเหล่านี้ระมัดระวังที่จะทำข้อมูลสำคัญรั่วไหล สิ่งนี้สะท้อนว่า ผู้พิพากษาฯ ไม่ได้เป็นตัวอย่างในการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด นอกจากนี้ อดีตลูกจ้างศาลฯ ยังมองว่าผู้พิพากษาฯ ไม่ได้เป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลข่าวสารลับ”   การจัดการกับถุงกระดาษนิรภัย อดีตเจ้าหน้าที่ศาลฯ อธิบายว่า ถุงบรรจุเอกสารลับสำหรับรอการทำลายนั้น เป็นถุงกระดาษนิรภัยที่มีแถบสีแดงคาดไว้สำหรับใส่เอกสารสำคัญหรือเอกสารลับ ซึ่งจะนำไปทำลายโดยการเผาหรือการย่อย ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีมาตรการหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนทั้งการใช้งานและการทำลาย และผู้พิพากษาฯ แต่ละรายก็จะมีวิธีปฏิบัติแตกต่างกันไป ภายหลังทางศาลฯ ให้นำถุงกระดาษนิรภัยไปเทลงในถังขยะที่ล็อกไว้ที่ชั้นใต้ดินของอาคาร เพื่อรอให้บริษัททำลายเอกสารนำไปทำลายทิ้ง ก่อนที่จะนำไปทิ้งในถังขยะที่จัดไว้ เจ้าหน้าที่บางคนจะเย็บปิดปากถุงด้วยเครื่องเย็บกระดาษก่อนนำไปทิ้ง บางคนวางถุงไว้ใกล้โต๊ะทำงานรอจนกว่าเอกสารเต็มแล้วถึงจะนำไปทิ้ง นอกจากนี้ ยังพบถุงบางส่วนถูกทิ้งไว้ที่ทางเดินนอกห้องทำงาน ซึ่งคาดว่าน่าจะรอนำไปทิ้งที่ชั้นใต้ดิน แม้บริเวณดังกล่าวจะไม่ใช่พื้นที่สาธารณะแต่ก็ไม่ใช่   เรื่องยากนักที่คนทั่วไปจะเข้าถึงได้…

วิธีตั้งเวลาลบไฟล์ ในโฟลเดอร์ Download โดยอัตโนมัติ บน Windows11

Loading

      วิธีตั้งเวลาลบไฟล์ ในโฟลเดอร์ Download โดยอัตโนมัติ สำหรับผู้ใช้คอมใหม่หรือ Windows11 เชื่อว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องเคยดาวน์โหลด รูปภาพ เอกสาร เพลง อย่างแน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดบนบน Downloads ของ Windows แล้วไม่ค่อยได้ลบ และอาจไม่ค่อยได้เปิดดูบ่อย ๆ ทำให้มีไฟล์จำนวนมากอยู่ในโฟลเดอร์ดาวน์โหลด ซึ่งรกน้อยกว่า Desktop ที่เป็นไอคอนเยอะ ๆ แต่ก็กินเนื้อที่ไม่น้อยหากไฟล์ดาวน์โหลดนั้นเป็นไฟล์ขนาดใหญ่    บทความนี้จะเป็นการบอกเคล็ดลับการลบไฟล์ในโฟลเดอร์ Download โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องคอยลบเอง   วิธีตั้งเวลาลบไฟล์ ในโฟลเดอร์ Download โดยอัตโนมัติ บน Windows11     ไปที่ หน้า Settings > เลือก System > เลือก Storage > เลือก Storage Sense  …

ส่อง“สมาร์ทซิตี้”ในไทย…ลงทุนยกระดับชีวิตคนท้องถิ่น

Loading

    การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทย   การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ ที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน!?!   ซึ่งทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2564-2565 ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแล้ว 30 เมือง!?!   ทิศทาง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร? หาคำตอบได้ด้านล่างนี้?!?   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)” บอกว่า รัฐบาลมีนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้ยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เมืองเจริญทันสมัย และน่าอยู่ ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างทั่วถึง   “ภายในสิ้นปี 66 นี้มีเป้าหมายจะส่งเสริมเเมืองอัจฉริยะ เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 15 เมืองรวมเป็น 45 เมือง และประเมินว่าการพัฒนา เมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนรวม มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท และจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต”     อย่างไรก็ตาม…