กอ.รมน. ประชุมร่วม มิตรอาเซียน ป้องกัน ปัญหาก่อการร้าย-อาชญากรรมข้ามชาติ

Loading

  กอ.รมน. ประชุมร่วม มิตรประเทศอาเซียน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ   24 ก.พ. 66 – ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นางทศยาพร ดิเรกวุฒิ รองโฆษก (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า พล.อ.อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นประธานเปิดการประชุมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติกับกลุ่มประเทศอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 (ASEAN Counter Terrorism and Transnational Crime Coordination Conference – ACTC 2023) จัดโดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 กอ.รมน. ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการ บูรณาการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ   การประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน ประกอบด้วยผู้ช่วยทูตทหารอาเซียนประจำประเทศไทย ผู้แทนจากหน่วยงานความมั่นคง อาทิ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.), ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.), กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.),…

80% ของคดีฆาตกรรมในสหรัฐฯ เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ

Loading

  องค์กรสิทธิมนุษยชนเผย 80% ของคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงในสหรัฐฯ ปี 2022 เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ   ปี 2022 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดเหตุฆาตกรรมจำนวนมากในสหรัฐฯ โดยเฉพาะความรุนแรงจากอาวุธปืน ซึ่งเกิดบ่อยจนแทบจะกลายเป็นเหตุการณ์ปกติที่ไม่ควรปกติในดินแดนแห่งเสรีภาพไปแล้ว และหนึ่งในรากเหง้าของปัญหานี้ ก็คือรากเหง้าเชิงทัศนคติความเชื่อ   สมาคมต่อต้านการหมิ่นประมาท (ADL) เปิดเผยว่า ในปี 2022 สหรัฐฯ มีเหตุฆาตกรรมที่ถูกจัดประเภทว่า “เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรง” อยู่ทั้งหมด 25 คดี และมีมีหลายคดีที่ “มีมูลเหตุทั้งหมดหรือบางส่วนมาจากแนวคิดความเชื่อ”   และแนวคิดความเชื่อที่นำไปสู่ความรุนแรงมากที่สุดในสหรัฐฯ คือแนวคิดเหยียดเพศ และแนวคิดเหยียดเชื้อชาติที่เชื่อว่าคนผิวขาวเป็นผู้ที่มีสถานะสูงสุดในสหรัฐฯ หรือ White Supremacy นั่นเอง   ตัวอย่างเช่น เหตุกราดยิงในเดือน พ.ค. 2022 ที่เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ซึ่งผู้ที่มีความเชื่อ White Supremacy ก่อเหตุยิงคนผิวสีเสียชีวิต 10 คน และอีกเหตุการณ์ในเดือน พ.ย. 2022 ที่โคโลราโดสปริงส์…

คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งแบน “TikTok” บนอุปกรณ์ของหน่วยงาน

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป สั่งแบนการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok บนอุปกรณ์ของทางการทั้งหมด เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมธิการยุโรปซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ต้องทำการลบแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องวิดีโอสั้น ๆ ของจีน ออกจากอุปกรณ์ของที่ทำงาน รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ทำงาน ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   ด้านโฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยว่า มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องคณะกรรมธิการจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการกระทำใด ๆ ที่อาจเปิดทางให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ได้ พร้อมทั้งระบุด้วยว่า เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว และจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและอาจมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง     ขณะที่ทาง TikTok ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว โดยแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจดังกล่าว และระบุว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แม้ว่าก่อนหน้านี้ TikTok จะออกมาเปิดเผยต่อผู้ใช้งานในยุโรปว่า พนักงานในจีนอาจเข้าถึงข้อมูลได้ก็ตาม   โฆษกของบริษัท เปิดเผยว่า ได้ติดต่อไปชี้แจงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว พร้อมทั้งอธิบายว่าทางบริษัทปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน 125 ล้านคนทั่วสหภาพยุโรปที่เข้ามาใช้ TikTok ทุก ๆ เดือนได้อย่างไร   นอกจากนี้…

Passkey อนาคตแห่งการล็อกอินไร้รหัสผ่าน

Loading

    ช่วงสองสามปีที่ผ่านมาปัญหาบัญชีถูกแฮ็กยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของระบบความปลอดภัยจำนวนมาก แม้บริการต่าง ๆ จะพยายามต่อสู้กับการโจมตีบัญชีผู้ใช้ช่องทางต่าง ๆ ทั้งการเปิดการล็อกอินสองขั้นตอน หรือการตั้งกฎรหัสผ่านให้ยากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่า NIST จะบอกให้เลิกตั้งกฎไปแล้ว ขอแค่อย่าใช้รหัสที่เคยหลุดมาแล้วก็พอก็ตามที แต่ผลสุดท้ายเรายังเห็นผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านซ้ำกันไปมา ไม่ยอมเปิดใช้ฟีเจอร์ล็อกอินสองขั้นตอนหากไม่ใช่บัญชีองค์กรที่บังคับ หรือหากบังคับก็จะเลือกช่องทางที่สะดวกที่สุด เช่น SMS แต่ปลอดภัยน้อยที่สุด   ปัญหาของรหัสผ่านนั้นมีสองประเด็นใหญ่ ข้อแรกคือคนร้ายอาจจะล่วงรู้รหัสผ่านไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตาม เช่น ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านที่เดาได้ง่าย หรือผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านที่ซ้ำกันไปทั้งหมด ทำให้เมื่อเจาะรหัสผ่านจากบริการใด ๆ ก็เข้าใช้บริการอื่น ๆ ได้ทันที ข้อที่สองคือคนร้ายอาจจะหลอกล่อให้ผู้ใช้ใส่รหัสผ่านกับเว็บปลอม, แอปปลอม, หรือแม้กระทั่งหลอกให้เหยื่อบอกทางโทรศัพท์หรือแชทเอาตรง ๆ โดยปลอมตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   การเปิดใช้งานการล็อกอินหลายขั้นตอน (multi-factor authentication – MFA) นั้นสามารถช่วยตัดวงการโจมตีแบบแรกไปได้ นั่นคือแม้ว่าคนร้ายจะรู้รหัสผ่านของเหยื่อไม่ว่าช่องทางใด ๆ แต่ก็ไม่สามารถล็อกอินสำเร็จ แต่พอเป็นการโจมตีที่แบบที่สอง แม้จะโจมตีได้ยากกว่าแต่ผู้ใช้กลุ่มที่เปิดล็อกอินสองขั้นตอนก็มักเป็นเหยื่อที่มูลค่าสูง เช่น ใช้งานบัญชีคริปโต หรือมีบัญชีเข้าถึงระบบขององค์กรขนาดใหญ่   ช่วงปี 2015 กูเกิลและ Yubico…

พาไปดู IBM X-Force Command Center ณ บอสตัน ห้องปฏิบัติการรับมือภัยไซเบอร์สำหรับองค์กร

Loading

    ภัยไซเบอร์สำหรับองค์กรในปัจจุบัน ไปไกลมากกว่าแค่เป็นเรื่องของฝ่าย security หรือไอทีแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่พนักงานทั้งองค์กรก็ต้องรับรู้ถึงนโยบาย แนวทาง วิธีการป้องกันไปจนถึงการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุ ยิ่งองค์กรที่ใหญ่มากขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะคนในองค์กรหรือลูกค้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย   IBM ได้เปิดศูนย์ X-Force Command Center เอาไว้สำหรับพนักงานขององค์กรได้เรียนรู้การป้องกันและรับมือเมื่อเกิดเหตุจากภัยไซเบอร์โดยเฉพาะ โดยทาง IBM ประเทศไทยได้เชิญ Blognone ไปเยี่ยมชมศูนย์นี้ที่เมืองบอสตัน และได้ทดลองเข้าร่วมการฝึกปฏิบัติจาก IBM เลยขอเก็บภาพบรรยากาศนำมาเล่าครับ   เรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองและ role-play   ศูนย์ X-Force Command Center เป็นเหมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ สำหรับเรียนรู้และฝึกภาคปฏิบัติสำหรับองค์กร โดย IBM จะมีผู้เชี่ยวชาญมาค่อยไกด์ ชี้แนะและอธิบายการรับมือภัยไซเบอร์ในสถานการณ์จำลอง ผ่านการ role-play โดยผู้ที่เข้าร่วม จะถูกแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ ภายในองค์กร ตั้งแต่ HR, Finance, Legal, IT, PR, Marketing ฯลฯ…

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยใช้ Internet Banking ระวังเจอเว็บไซต์ธนาคารปลอม

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยใช้ Internet Banking ทำธุรกรรมออนไลน์ โจรมารูปแบบใหม่สร้างเว็บไซต์ธนาคารปลอม เหยื่อไม่ทันระวังเจอดูดเงินเกลี้ยง พร้อมแนะวิธีสังเกตป้องกันภัย   วันนี้ (24 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยใช้ Internet Banking ระวังเจอเว็บไซต์ธนาคารปลอม ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงกรอกข้อมูลทางการเงิน เงินหายออกจากบัญชี ดังนี้   ตามที่ในปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึง ตรวจสอบข้อมูล หรือขอเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถาบันการเงิน หรือธนาคารแต่อย่างใด สามารถใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสสร้างเว็บไซต์ปลอม ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกลวงประชาชนที่ไม่ทันสังเกต เข้ามากรอกทั้งข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น รหัสผู้ใช้งาน รหัสผ่าน หมายเลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิต/เครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัสใช้ครั้งเดียว (OTP) เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลที่ได้ไปถอนเงินของเหยื่อออกจากบัญชี หรือไปแฮ็กบัญชีสื่อสังคมออนไลน์…