ระทึก กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอินโดนีเซียจับนักบินนิวซีแลนด์เป็นตัวประกัน

Loading

    นักบินชาวนิวซีแลนด์ถูกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในอินโดนีเซียจับเป็นตัวประกัน หลังจากเขาขับเครื่องบินเล็กพร้อมผู้โดยสารไปลงจอดในจังหวัดปาปัว   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 7 ก.พ. 2566 ว่า นักบินชาวนิวซีแลนด์ชื่อว่า ฟิลิป เมอร์เธนส์ ขับเครื่องบินเล็กไปลงจอดในเขตเอ็นดูกา ซึ่งเป็นภูมิภาคภูเขาของจังหวัดปาปัว ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย ก่อนที่พวกเขาจะถูกโจมตี เครื่องบินถูกจุดไฟเผา และนายเมอร์เธนส์ถูกจับเป็นตัวประกัน   กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติปาปัวตะวันตก (WPNLA) ซึ่งรัฐบาลจัดเป็นกลุ่มก่อการร้าย ออกมาอ้างตัวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีที่เกิดขึ้น โดยนายเซบบี ซัมบอม โฆษกของกลุ่มกล่าวว่า นักบินรายนี้จะถูกประหารชีวิตหากอินโดนีเซียยังดื้อดึง และล้มเหลวในการเจรจาเรื่องเอกราชของปาปัวตะวันตก   ขณะที่ตำรวจอินโดนีเซียกล่าวว่า พวกเขากำลังสืบสวนเหตุการณ์นี้ แต่การเดินทางทำได้ยากลำบาก เนื่องจากพื้นที่เกิดเหตุสามารถเข้าถึงได้ทางอากาศเท่านั้น ขณะที่ไม่มีการยืนยันแน่ชัดถึงชะตากรรมของผู้โดยสารเครื่องบิน 5 ราย แต่เชื่อกันว่า ทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวแล้ว   ด้านรัฐบาลนิวซีแลนด์ระบุว่า พวกเขาทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว และสถานกงสุลของพวกเขาในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงอินโดนีเซีย กำลังให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของนักบินรายนี้   อนึ่ง ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี เครื่องบินที่นายเมอร์เธนส์ขับเป็นของสายการบิน ซูซี แอร์ (Susi Air) กำลังอยู่ระหว่างขนส่งเสบียงจากเมืองทิมิกา ซึ่งอยู่ติดกับเขตเอ็นดูกา…

นักวิจัยพบ OnePlus, Xiaomi, Realme ที่ขายในจีน เก็บและส่งข้อมูลผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

Loading

    นักวิจัยในสกอตแลนด์ 3 ราย เผยแพร่งานวิจัยที่ชื่อว่า Android OS Privacy Under the Loupe — A Tale from the East ที่ชี้ว่า สมาร์ทโฟน OnePlus, Xiaomi และ Oppo/Realme ที่ขายในจีน มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้รวมถึงส่งข้อมูลออกไปเป็นจำนวนมาก แม้มือถือเครื่องนั้น จะไม่ได้อยู่ในจีนก็ตาม   นักวิจัยเน้นทดสอบไปที่แอปที่ถูกติดตั้งมากับเครื่องเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นแอปของแบรนด์เองหรือแอป third-party เช่น Baidu Input, Baidu Navigation แอปข่าว แอปสตรีมมิ่ง หรือแอปช็อปออนไลน์ ซึ่งนักวิจัยก็พบว่า ทั้ง 3 แบรนด์ มีการส่งข้อมูลที่ระบุตัวตนออกไปอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งส่งไปให้ทั้งแบรนด์มือถือ ผู้ให้บริการแอปอย่าง Baidu หรือโอเปอเรเตอร์ แม้มือถือนั้นจะไม่ได้ใส่ซิมจีน ไม่ได้อยู่ในจีน หรือแม้กระทั่งไม่ใส่ซิมเลยก็ตาม   ตัวอย่างข้อมูลที่มีการส่งออกก็ เช่น…

อัยการเตือนระวังมือถือหาย ลักทรัพย์ในสนามบิน โทษหนักกว่าลักทรัพย์ธรรมดา

Loading

      รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดย้ำระวังโทรศัพท์ถูกขโมยในสนามบิน ชี้ความผิดลักทรัพย์ในท่าอากาศยานโทษหนักกว่าลักทรัพย์ธรรมดา ส่วนคนรับของโจรก็ไม่รอด ครอบครัวจะเดือดร้อนไปด้วย     วันนี้ (7 ก.พ.) เฟซบุ๊ก “โกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง” ของนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน และรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์ข้อความเตือนภัย หัวข้อ “ระวัง..! โทรศัพท์ถูกขโมยในสนามบิน” ระบุว่า “ทักษะในการติดตามคืนโทรศัพท์มือถือ iPhone ถูกขโมยในสนามบิน มี ญ (นามสมมุติ) ผู้โดยสารใส่โทรศัพท์ไว้ในกระเป๋าเดินทางโหลดสัมภาระถูกคนร้ายขโมยโทรศัพท์ระหว่างการเคลื่อนย้ายสัมภาระในสนามบิน สนามบิน แม้จะมีการท่าอากาศยานฯ* และสายการบิน ที่จะต้องช่วยกันดูแลทรัพย์สินของผู้โดยสารที่เข้าออกสนามบินแล้ว แต่เหตุการณ์ทรัพย์สินของผู้โดยสารหายจากกระเป๋าเดินทางก็ยังคงเกิดขึ้นให้เห็นได้เรื่อย ๆ   ทักษะของ ญ รายนี้คือการใช้โปรแกรมตามหา iPhone นำทางไปจนพบบ้านคนร้ายที่ขโมยหรือรับโทรศัพท์ที่ขโมยมา แจ้งตำรวจร่วมเข้าไปสอบถามจนได้โทรศัพท์คืน มีการอ้างว่ารับต่อมาจากคนทำงานในสนามบินสองถึงสามช่วง รับฟังได้ว่าถูกขโมยออกจากกระเป๋าสัมภาระที่โหลดลงใต้ท้องเครื่อง   ลักทรัพย์ในท่าอากาศยาน เป็นความผิดลักทรัพย์โทษหนักกว่าลักทรัพย์ธรรมดา มาตรา 335 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่…

ไต้หวันเร่งพัฒนาโดรน ถอดบทเรียนจากศึกยูเครน-เสริมเขี้ยวเล็บกองทัพ

Loading

    ไต้หวันเร่งพัฒนาโดรน – วันที่ 7 ก.พ. รอยเตอร์รายงานว่า ไต้หวันเตรียมเร่งพัฒนาเทคโนโลยีโดรนและถอดบทเรียนจากสงครามรัสเซียรุกรานยูเครน ท่ามกลางภัยคุกคามจากทางการจีนที่มองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน และยังคงเดินหน้ากดดันไต้หวันในเวทีโลก   ความเคลื่อนไหวของไต้หวันเกิดขึ้นหลัง “อากาศยานไร้คนขับ” (Unmanned Aerial Vehicle – UAV) หรือยูเอวี กลายเป็นหนึ่งในอาวุธที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสงครามดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยูเครน ถึงขั้นระบุไว้ว่า เป็นอาวุธแห่งสงครามในอนาคต     ไต้หวันซึ่งกำลังเผชิญภัยคุกคามทางทหารจากทางการจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นเคยเปิดเผยว่า จับตาสงครามรัสเซียรุกรานยูเครนอย่างใกล้ชิดเพื่อนำมาถอดบทเรียนไว้รับมือหากจีนตัดสินใจส่งกองทัพเข้ารุกรานเพื่อยึดครองเกาะไต้หวัน   ซุน หลี่ฟาง โฆษกกระทรวงกลาโหมไต้หวัน กล่าวว่า ไต้หวันอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีโดรน รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตโดรน   “การเร่งวิจัย พัฒนา และกระบวนการผลิตนี้เพื่อไว้ตอบโต้ภัยคุกคามจากศัตรูและนำบทเรียนการสู้รบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนมาใช้ในยุทธการรบแบบอสมมาตร์ (การรบระหว่างคู่ต่อสู้ที่มีระดับแสนยานุภาพห่างชั้นกันอย่างมหาศาล) ผ่านโดรนของไต้หวัน” นายซุน ระบุ   โฆษกกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ระบุด้วยว่า โครงการดังกล่าวมี จุงชาน สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งไต้หวันเป็นหัวหอก และจะมีบรรดาบริษัทเอกชนหลายแห่งเข้าร่วม   ด้านนายจื้อ หลี่ผิง ผู้อำนวยการแผนกวิจัยระบบอากาศยานของสถาบันข้างต้น ยืนยันว่า…

“สงครามลูกผสม” คืออะไร เยือนศูนย์ศึกษาภัยคุกคามโลกยุคใหม่ในฟินแลนด์

Loading

    เหตุระเบิดใต้น้ำปริศนา การโจมตีทางไซเบอร์ของกลุ่มคนนิรนาม และขบวนการบ่อนทำลายประชาธิปไตยในชาติตะวันตกอันแยบยล เหล่านี้ล้วนเป็น “ภัยคุกคามแบบผสมผสาน” (hybrid threats)   บีบีซีได้เยี่ยมชมศูนย์ทำงานที่มีเป้าหมายต่อสู้กับสงครามรูปแบบใหม่นี้ ซึ่งกำลังสร้างความวิตกกังวลให้ชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต และสหภาพยุโรป หรือ อียู ดร.เทยา ทิลลิไคเนน ให้คำนิยามคำว่า “สงครามลูกผสม” (hybrid warfare) เอาไว้ว่า “มันคือการสร้างความวุ่นวายต่อพื้นที่สารสนเทศ มันคือการโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ”   เธอคือผู้อำนวยการศูนย์เพื่อความเป็นเลิศในการต่อสู้ภัยคุกคามผสมผสานแห่งยุโรป (European Centre of Excellence for Countering Hybrid Threats หรือ Hybrid CoE) ที่ก่อตั้งขึ้นในกรุงเฮลซิงกิ ของฟินแลนด์ เมื่อ 6 ปีก่อน   ดร.ทิลลิไคเนน อธิบายว่า มันคือรูปแบบของภัยคุกคามที่ไม่ชัดเจน ซึ่งประเทศต่าง ๆ มองว่าเป็นภัยที่ยากในการต่อต้าน และการปกป้องตนเอง   แต่ภัยเหล่านี้เป็นอันตรายอย่างแท้จริง   เมื่อเดือน…

สถิติ Digital2023 เปรียบเทียบพฤติกรรม ใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยกับทั่วโลก

Loading

    We are social เพื่งออกรายงาน “Digital 2023 Global Overview” เป็นการสรุปสถิติการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเข้าถึงเนื้อหาและบริการดิจิทัล พฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ต การใช้สื่อสังคมออนไลน์   ข้อมูลปีนี้ที่น่าสนใจคือ แม้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกล่าสุดจะเพิ่มขึ้น 1.9% เป็น 5,158 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 64.4% ของประชากรทั้งโลก แต่ก็กลับพบว่าผู้คนโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าปีก่อนถึง 4.8% กล่าวคือ เฉลี่ยคนละ 6 ชั่วโมง 37 นาทีต่อวัน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น ทำให้คนพิจารณาการเล่นออนไลน์ในสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น   ในรายงานระบุว่าผู้คนทั่วโลกเข้าเว็บไซต์หรือเล่นแอปต่าง ๆ เพื่อพูดคุยหรือส่งข้อความหาเพื่อนสูงถึง 94.8% ตามมาด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย 94.6% และการค้นหาข้อมูล 81.8% อันดับที่สี่คือ การดูและสินค้าออนไลน์ 76% การค้นหาสถานที่หรือดูแผนที่ 55% การใช้อีเมล 48.9% การฟังเพลง…