บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

สหรัฐฯสังหาร“บิลาล อัล-ซูดานี” ผู้นำอาวุโสไอซิสในโซมาเลีย

Loading

  กองกำลังสหรัฐฯ สังหาร “บิลาล อัล-ซูดานี” ผู้นำอาวุโสกลุ่มไอซิส หลังต่อต้านการเข้าจับกุมในแหล่งกบดาน   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (26 ม.ค.) เจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐฯ 2 นาย รายงานว่า หน่วยปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐฯ สังหาร “บิลาล อัล-ซูดานี” ผู้นำอาวุโสกลุ่มรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย หรือ ไอซิส (ISIS) ในพื้นที่ห่างไกลทางตอนเหนือของโซมาเลีย ด้วยการโจมตีจากเฮลิคอปเตอร์ ไม่มีพลเรือนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต มีเพียงทหารนายหนึ่งโดนสุนัขทหารที่พามาด้วยกัดเท่านั้น     การโจมตีของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ เกิดขึ้นบริเวณถ้ำบนภูเขาในเขตพันต์แลนด์ ทางตอนเหนือของโซมาเลีย หลังเครือข่ายสายลับของสหรัฐฯ พบฐานปฏิบัติการและที่ซ่อนของอัล-ซูดานีพร้อมกลุ่มไอซิสในโซมาเลีย พร้อมเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวเป็นเวลาหลายเดือน   สำหรับหน่วยปฏิบัติการพิเศษมีแผนจับเป็น อัล-ซูดานี แต่มีการโจมตีใส่อย่างรุนแรงเมื่อมาถึงพื้นที่เป้าหมาย ทำให้ทางสหรัฐฯ ต้องตอบโต้ ส่งผลให้อัล-ซูดานีเสียชีวิต   ก่อนหน้านี้ทางหน่วยปฏิบัติการของสหรัฐฯ โจมตีแหล่งกบดานดังกล่าวและเกือบยึดคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ก ฮาร์ดไดรฟ์ และโทรศัพท์มือถือได้ โดยหวังล้วงข้อมูลของกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอเอส (IS) และขัดขวางการก่อการร้ายที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต   ทางกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ…

รายงานเผยเหยื่อ 3 หน้าที่ในองค์กรที่คนร้ายมองหา

Loading

  เหตุการณ์ Data Breach ต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีข้อผิดพลาดมาจากตัวบุคคล ซึ่งรายงานจาก NordLocker นี้พบว่า 3 ตำแหน่งหน้าที่การงานที่แฮกเกอร์มองหาเพื่อล่อลวงคือ   –  Marketing  เป็นโอกาสที่เข้าถึงได้ง่ายเพราะแทบจะเป็นหน้าตาของบริษัท ข้อมูลติดต่อก็เข้าถึงง่ายกว่าใคร อีกทั้งปกติต้องทำงานร่วมกับบริษัทลูกค้าหรือคู่ค้าอยู่แล้วทำให้การหลอกหลวงเปิดกว้างมากขึ้น   –  C-Level   ความจริงตำแหน่งระดับสูงมักถูกคุ้มกันมาก แต่ว่าบ่อยครั้งที่เลขาหรือผู้ช่วยของบุคคลสำคัญเหล่านี้ก็มีสิทธิ์เข้าถึงใกล้เคียงกัน แน่นอนว่า C-Level มีโอกาสเข้าถึงไฟล์ความลับได้มากกว่าใคร   –  IT  เป็นผู้เข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้มากมายเช่นกันเมื่อเทียบกันหน้าที่อื่น ๆ เนื่องจากเป็นผู้ดูแลแก้ปัญหาระบบอยู่แล้ว ดังนั้นหากคนร้ายทำสำเร็จก็จะเปิดประตูสู่เบื้องหลังอีก แม้กระทั่งการทำลายล้างให้หายไปอย่างกว้างขวาง     วิธีป้องกันตัว แนวทางการป้องกันอันดับหนึ่งยังคงไม่เปลี่ยนแปลงคือการเสริมสร้างความรู้เท่าทันให้พนักงานทุกงาน รวมถึงประยุกต์ใช้ Zero Trust Network Access เพื่อตรวจสอบตัวตนทุกครั้งไม่ว่าจากสิทธิ์หรืออุปกรณ์ใด ตลอดจนระบบ Backup & Recovery และกลไกของ MFA      …

สหรัฐสั่งจำคุกวิศวกรชาวจีน 8 ปี ในข้อหาเป็นสายลับ

Loading

  ศาลสหรัฐตัดสินจำคุกนายจี้ เชาฉวิน วิศวกรชาวจีนวัย 31 ปี เป็นเวลา 8 ปี เมื่อวันพุธ (25 ม.ค.) ในข้อหาให้ข้อมูลเกี่ยวกับพลเมืองสหรัฐที่หน่วยงานจีนสามารถรับเข้าทำงานได้   สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นายจี้เดินทางมายังสหรัฐด้วยวีซ่านักเรียนเมื่อปี 2556 และได้สมัครเข้าเป็นทหารกองหนุนของกองทัพสหรัฐ   ในเวลาต่อมา ถูกกล่าวหาว่าได้ระบุตัวนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชาวอเมริกันที่กระทรวงความมั่นคงแห่งชาติประจำมณฑลเจียงซูสามารถรับเข้าทำงานได้   ทั้งนี้ หน่วยงานดังกล่าวเป็นหน่วยข่าวกรองสำคัญของจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแผนการต่าง ๆ เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับความลับทางอุตสาหกรรมและการค้าของสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย   นายจี้ถูกจับกุมตัวในเดือนก.ย. 2561 ในข้อหาให้ข้อมูลชีวประวัติบุคคล 8 คนแก่หน่วยข่าวกรองจีน โดยทั้ง 8 คนเป็นชาวจีนหรือไต้หวันที่โอนสัญชาติมาเป็นพลเมืองสหรัฐ และบางคนในนั้นเป็นผู้รับเหมาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ   นายจี้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในเดือน ก.ย.ในข้อหาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลต่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย รวมถึงให้การเท็จในระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลา 2 สัปดาห์ที่ชิคาโก         ————————————————————————————————————————- ที่มา :             …

ส่องเทรนด์ ‘ภัยคุกคาม’ รับมือ อาชญากรรมไซเบอร์ทวีคูณ

Loading

  ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เป็นสิ่งที่องค์กรต้องรับมืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การขับเคลื่อนป้องกันต้องมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ People, Process และ Technology   ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด   ขณะเดียวกัน มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการตลาด ทำความเข้าใจลูกค้า อีกทางหนึ่งการทำงานของคนก็เปลี่ยนไปเป็นแบบรีโมทมากขึ้น ส่งผลทำให้องค์กรทุกขนาดต้องปรับตัววางแผนการทำงานผ่านคลาวด์   ข้อมูลโดยบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ ระบุว่า ปี 2568 องค์กรทั่วโลกจะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4% ขณะที่ประเทศไทยจะเติบโตขึ้นถึง 36.6%   ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด เปิดมุมมองว่า ไซเบอร์ซิเคียวริตี้จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในอนาคต   เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ระบบซิเคียวริตี้จะยื่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ     รับมือภัยคุกคามไร้ขอบเขต   องค์กรที่จะย้ายไปสู่คลาวด์ จะต้องมีการวางแผนและพร้อมวางรากฐานด้านความปลอดภัยไว้ตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมเตรียมรับมือความท้าทายใหม่ๆ ด้านซิเคียวริตี้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ดังนี้…

ยูเครนจับกุมสายลับสองหน้า ขายความลับทางทหารให้รัสเซีย

Loading

  หน่วยความมั่นคงยูเครนจับกุมเจ้าหน้าที่ข่าวกรองยศนายพัน พบถ่ายภาพเอกสารรายละเอียดที่ตั้งโครงสร้างทางทหารในภูมิภาคซาโปริซเซียให้รัสเซีย   เมื่อวานนี้ (26 ม.ค.) หน่วยความมั่นคงยูเครน (SBU) รายงานว่า ได้ทำการจับกุมเจ้าหน้าที่ข่าวกรองยศนายพันของ SBU นายหนึ่ง ฐานต้องสงสัยว่า “ก่อกบฏ” ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นความลับทางทหารให้กับผู้ที่อาจมีส่วนเกี่ยวพันกับรัสเซีย   SBU ยังพบของกลางในบ้านของเจ้าหน้าที่ข่าวกรองรายนี้ ทั้งซิมการ์ดที่ออกโดยผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของรัสเซีย ห่อเงินสดสกุลเงินต่างประเทศ สนับมือ มีด 2 เล่ม และคู่มือเรียนภาษาอังกฤษสำหรับชาวรัสเซีย     เจ้าหน้าที่ข่าวกรองรายนี้ได้ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพเอกสารที่มีรายละเอียดที่ตั้งของโครงสร้างทางทหารในภูมิภาคซาโปริซเซีย หนึ่งในพื้นที่แนวหน้าของยูเครนที่มีการสู้รบกับรัสเซีย และส่งข้อมูลผ่านบัญชีอีเมลที่ลงทะเบียนในโดเมนของรัสเซีย   พล.ต.วิกเตอร์ ยาฮุน อดีตรองหัวหน้า SBU กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้บ่งชี้ว่า ทางการยูเครนจำเป็นต้องตรวจสอบหน่วยงาน SBU อย่างละเอียดถี่ถ้วนและกวาดล้างคนทรยศทั้งหมด ทั้งนี้ เขามองว่า SBU มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากเกินไปกับหน่วยความมั่นคงรัสเซีย (FSB) มาอย่างยาวนาน ทำให้ถูกแทรกซึมได้ง่าย   นับตั้งแต่การรุกรานของรัสเซียเมื่อวันที่ 24 ก.พ. ปีที่แล้ว ยูเครนพบเจ้าหน้าที่กว่า 60…