AnyDesk เว็บไซต์ปลอมระบาดกว่า 1,300 เว็บ ตีเนียนให้ติดตั้งโปรแกรมดูดข้อมูล

Loading

    AnyDesk โปรแกรมยอดฮิตใช้เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์จากระยะไกล หากใครหาดาวน์โหลดมาใช้ต้องระวังให้ดี ๆ เพราะตอนนี้มีเว็บไซต์ปลอมระบาดอยู่เต็มไปหมด ซึ่งจะพาให้คนหลงดาวน์โหลดโปรแกรมมัลแวร์ Vidar ที่สามารถขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเรา นอกจากนี้ยังมีเว็บปลอมอื่นอ้างชื่อโปรแกรมดังอย่าง MSI Afterburner, 7-ZIP, VLC, OBS, และอื่น ๆ อีกมากมาย ควรระวังไว้ครับ   เว็บปลอม ANYDESK   กระแสโปรแกรมปลอม แอปปลอม ระลอกใหม่ ถูกค้นพบโดยนักวิเคราะห์ภัยไซเบอร์ crep1x ที่รวบรวมเว็บไซต์กว่า 1,300 รายการ ที่มี IP Address เดียวกัน โดยเว็บไซต์เหล่านี้ใช้ชื่อที่มีความใกล้เคียงกับโปรแกรมชื่อดัง AnyDesk แต่อาจเปลี่ยนคำสลับตัวอักษรเพื่อให้คนเข้าใจผิดหลงเข้ามาในเว็บ ที่สุดท้ายแล้วจะพามาโผล่หน้าเว็บ AnyDesk ปลอมตามภาพ     ดูจากชื่อเว็บแล้วยังเห็นชื่อโปรแกรมอื่นอย่าง MSI Afterburner, 7-ZIP, Blender, Dashlane, Slack, VLC, OBS,…

ผ่าแนวคิด “สกมช.” มือปราบภัยไซเบอร์ รับมือ ภัยคุกคามป่วนหนัก

Loading

  ภัยไซเบอร์ ที่คุกคามเข้ามาส่งผลกระทบให้กับคนไทยในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะมีรูปแบบเดิม ๆ คือ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง แล้ว ทุกวันนี้ออนไลน์ต้องเผชิญหน้ากับภัยจากการหลอกลวงให้โอนเงิน กดลิงก์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หรือ แม้แต่การเสียบสายชาร์จสมาร์ตโฟน ก็สามารถทำให้เงินหายเกลี้ยงบัญชีได้ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เพื่อรับผิดชอบในส่วนนี้โดยเฉพาะ   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสกมช. กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน   ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮก เฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญมากมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้…

6 ทริค จับไต๋มัลแวร์ อาการแบบไหน มั่นใจได้ว่า คอมโดนแฮ็ก

Loading

    มัลแวร์ สปายแวร์ แอดแวร์ แรนซัมแวร์ สารพัดไวรัสที่แพร่กระจายอยู่บนอินเทอร์เน็ต หลอกล่อให้เหยื่อหลงเชื่อ และเผลอกดดาวน์โหลดลงเครื่องแบบไม่ทันตั้งตัว สุดท้ายคอมโดนแฮ็ก   แม้คอมพิวเตอร์ของคุณจะมีโปรแกรมป้องกันไวรัสติดไว้ แต่ก็อย่าเพิ่งไว้วางใจ เพราะมัลแวร์ตัวใหม่ มันร้ายกว่าที่คิด   ทำอย่างไรถึงจะมั่นใจได้ว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ยังคงปลอดภัยจากไวรัส Techhub มีทริคสังเกตอาการที่เข้าข่าย ตกเป็นเหยื่อ     1. คอมเกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้ง มัลแวร์มักจะใช้พื้นที่บนฮาร์ดไดรฟ์ และใช้ RAM เพื่อทำงาน ทำให้การประมวลผลหรือ Performance ของคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลง หากคอมของคุณเริ่มใช้เวลานานขึ้นในการเปิดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชั่นใหม่ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้งานมันมากเกินไป อาจถึงเวลาที่ต้องใช้โปรแกรมตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว   2. เจอไอคอนหน้าตาแปลกๆ หรือแถบเครื่องมือใหม่ อยู่ดีๆ ก็มีไอคอนที่ไม่คุ้น โผล่ขึ้นมาบนหน้าจอแบบไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่เคยกดติดตั้งไว้ แต่มายังไงก็ไม่รู้ รวมถึงแถบเครื่องมือและส่วนขยายอื่นๆ ที่ถูกติดตั้งบนแถบเครื่องมือบนทูลบาร์ของเว็บเบราว์เซอร์ ให้สังเกตไว้ก่อนว่าอาจเป็นฝีมือของมัลแวร์ที่เปิดทำงานอยู่เบื้องหลังก็เป็นได้ ลองกด ctrl-alt-del และเข้าสู่ Task Manager แล้วดูความผิดปกติดูได้ ปลอดภัยไว้ก่อน  …

Nissan North American แจ้งเตือนลูกค้าเกือบ 18,000 รายที่ได้รับผลกระทบจากการแฮ็กข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

    Nissan North American เริ่มแจ้งเตือนไปยังลูกค้าเกี่ยวกับการแฮกข้อมูลลูกค้าที่อยู่ในการดูแลของผู้ให้บริการภายนอกบริษัท   บริษัทแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวไปยังสำนักอัยการของรัฐเมน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา โดยเผยว่ามีลูกค้า 17,998 รายที่ได้รับผลกระทบ   Nissan ระบุในคำแจ้งเตือนไปยังลูกค้าว่าได้รับแจ้งจากหนึ่งในผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่บริษัทใช้บริการอยู่ในวันที่ 21 มิถุนายน 2022 โดยผู้พัฒนารายดังกล่าวรับข้อมูลลูกค้าจาก Nissan ไปเพื่อใช้ในการพัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์โซลูชันให้แก่บริษัท   อย่างไรก็ดี Nissan อ้างว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเป็นเพราะการจัดการฐานข้อมูลที่ผิดพลาดของผู้พัฒนารายนี้ แต่ย้ำว่าได้เข้าจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และได้เริ่มการตรวจสอบเป็นการภายใน จนได้ข้อสรุปในวันที่ 26 กันยายนปีที่แล้วว่ามีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตแอบเข้ามาในระบบจริง   ข้อมูลที่แฮกเกอร์ได้ไปมีทั้ง ชื่อ-นามสกุล วันเกิด และบัญชี NMAC (หรือบัญชีการเงินของลูกค้า Nissan) พร้อมยืนยันว่าข้อมูลบัตรเครดิตและเลข Social Security ยังปลอดภัยดี อีกทั้งไม่พบว่ามีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในทางมิชอบแต่อย่างใด   ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและได้รับการแจ้งเตือนจะได้รับบริการคุ้มครองตัวตนของ Experian แบบฟรี ๆ 1 ปีเต็ม    …

“เอไอเอส”เตือนลูกค้าระวังมิจฉาชีพ แอบอ้างใช้ชื่อ “Serenade” หลอกให้กดลิงก์ลวงข้อมูล

Loading

    “เอไอเอส” ยืนยัน Serenade ไม่มีนโยบายส่ง SMS ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินเด็ดขาด เตรียมดำเนินคดีขั้นสูงสุด หลังจากประสานกับดีแทค ในฐานะต้นทาง   นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีลูกค้าแจ้งกรณีที่ได้รับ SMS หลอกลวงในลักษณะของการให้ทำธุรกรรมทางการเงิน จากมิจฉาชีพที่ส่ง (Sender) ในชื่อ Serenade โดยมีลิงก์เว็บไซต์ปลอมแนบท้าย เพื่อให้ลูกค้าหลงเชื่อและกดเข้าไป อันอาจนำไปสู่ความเสียหายจากการสูญเสียทรัพย์สิน หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ทาง เอไอเอส ขอเรียนยืนยันว่า กรณีนี้ไม่ได้เป็นการส่งจาก เอไอเอส และบริษัทไม่มีนโยบายในการส่ง เอสเอ็มเอส ให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงิน หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวอย่างเด็ดขาด   “เมื่อลูกค้าร้องเรียนเรื่องการได้รับ SMS ที่ส่งในชื่อ Serenade โดยมีข้อความหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ทางเอไอเอสได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด และพบว่า การส่ง SMS ดังกล่าว มาจากผู้ที่ซื้อบริการส่ง SMS ของ DTAC โดยแอบอ้างใช้ชื่อ Serenade เป็นชื่อผู้ส่ง…

สกมช.เตรียมแก้ กม.เพิ่มอำนาจปรับหน่วยงานระบบไอทีไม่ปลอดภัย

Loading

    เหตุเป็นช่องแฮกเกอร์เจาะข้อมูล หลังพบสถิติองค์กรไทยถูกแก๊งแรนซัมแวร์ขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ เดือนละ 5-6 บริษัท   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮกเฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   ทั้งนี้ เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้ เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีโทษปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท กับหน่วยงานที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว   อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สกมช.มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานระบบไอทีให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ…