ปี 2567 : ความท้าทายทั้งรัฐไทยและ BRN ต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

Loading

(Photo by Madaree TOHLALA / AFP)   เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ หอประชุมชูเกีรติ ปีติเจิรญกิจ (ตึก สนอ.หลังเก่า) มีเสวนาซึ่งจัดขึ้นโดย Peace Resource Collaborative – PRC ในหัวข้อ “เหลียวหลัง แลหน้า : ทิศทาง อนาคตกระบวนการสันติภาพปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้”   มีผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ คือ 1. คุณพลเทพ ธนโกเศศ ตัวแทนจากคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ 2. ตัวแทนคณะพูดคุยสันติภาพขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (BRN) 3. ผศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) 4. คุณ Saifulnizam Bin Muhamad รองหัวหน้าขบวนการยุวชนมุสลิมมาเลเซียประจำรัฐกลันตัน 5. Dr.…

ดำเนินการเชิงรุก เพิ่มความยืดหยุ่น การปฏิบัติงาน Cyber Security (2)

Loading

  ขั้นตอนในการสร้างแผนเชิงรุกเพื่อความยืดหยุ่น การปฏิบัติงาน Cybersecurity ลดความเสี่ยงภัยคุกคามที่มุ่งเป้าโจมตีธุรกิจ โดยเฉพาะภาคการเงินที่ตกเป็นเป้าหมายเพื่อทำลายความสามารถของประเทศ   จากสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้พูดถึงเรื่องการดำเนินการเชิงรุกเพื่อความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานทางไซเบอร์ซิเคียวริตี้โดยเฉพาะในองค์กรทางด้านการเงินและการตื่นตัวขององค์กรในต่างประเทศต่างๆ เพื่อช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบ วันนี้ผมขอพูดถึงขั้นตอนในการสร้างแผนเชิงรุกเพื่อความยืดหยุ่นกันต่อนะโดยเริ่มจาก   ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น : เริ่มต้นด้วยการจัดทำแผนโดยรวมและการเชื่อมต่อโครงข่าย การไหลของข้อมูล ข้อกำหนดด้านความต่อเนื่อง และช่องว่างในกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปัจจุบัน ทำความเข้าใจการพึ่งพาภายในและภายนอกองค์กร   รวมไปถึงระบุช่วงระดับการหยุดชะงักที่ยอมรับได้สำหรับการปฏิบัติการที่สำคัญ และเพื่อให้ได้รับมุมมองแบบองค์รวมเกี่ยวกับความสามารถขององค์กรในการต่อต้าน ปรับตัว และ/หรือฟื้นตัวจากภัยคุกคาม   สร้างแผนการตอบสนอง : สร้างช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับบุคคลภายในและภายนอก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายในทุกที่ทุกเวลา และวางแผนการตอบสนองกับการเชื่อมต่อจากบุคคลที่สามแบบ Zero Trust เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขายจะเข้าถึงได้แบบจำกัด   โดยใช้การเรียนรู้จากภัยคุกคามและแบบทดสอบในอดีตเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่จำเป็น ระบุบุคคลและทีมภายในองค์กรที่จะปฏิบัติตามแผนและกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบให้ชัดเจน   มีการคาดการณ์ว่า รายการวัสดุซอฟต์แวร์ (software bills of materials หรือ SBOM) จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากบริษัททางการเงินต้องพึ่งพาแอปและซอฟต์แวร์ของบุคคลที่สามมากขึ้น โดย การ์ทเนอร์ ประมาณการว่า 45% ขององค์กรทั่วโลกจะประสบกับการโจมตีในห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์ภายในปี 2568 ซึ่งเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากปี…

ไม่เอาสุดโต่ง!! เยอรมันหลายแสนออกมาชุมนุมทั่วประเทศ ต่อต้านพรรคขวาจัดวางแผนเนรเทศผู้อพยพ

Loading

ชาวเยอรมนีหลายแสนคนออกไปแสดงพลังบนท้องถนนตามเมืองต่าง ๆ นับสิบแห่งทั่วประเทศช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อแสดงการประท้วงต่อต้านพรรคการเมืองขวาจัด โดยที่การชุมนุมในเมืองมิวนิก ทางตอนใต้ของแดนดอยช์เมื่อตอนบ่ายวันอาทิตย์ (21 ม.ค.)

ถกยึดทรัพย์คน “ด้อยค่า” กองทัพ สภารัสเซียจ่อออก กม.รับมือ “ข่าวปลอม”

Loading

  เวียเชสลาฟ โวโลดิน ประธานสภาผู้แทนราษฎรรัสเซีย ระบุเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (20 ม.ค.) ว่า รัฐสภารัสเซียจะพิจารณากฎหมายที่อนุญาตให้มีการริบเงิน ของมีค่า และทรัพย์สินอื่น ๆ จากผู้ที่ถือว่าเผยแพร่ “ข้อมูลเท็จโดยจงใจ” เกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย   โวโลดินระบุว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อพยายามลงโทษ “เหล่าผู้คดโกง” ที่ “สาดโคลน” ใส่รัสเซีย และทหารที่เข้าร่วมในสงครามในยูเครน ซึ่งกำลังจะครบรอบ 2 ปีในช่วงเดือน ก.พ.นี้ โดยร่างกฎหมายดังกล่าว จะถูกส่งเข้าสภาผู้แทนราษฎรรัสเซียในช่วงวันจันทร์ที่จะถึงนี้ (22 ม.ค.)   ประธานสภาผู้แทนราษฎรรัสเซียระบุว่า มาตรการในร่างกฎหมายจะบังคับใช้ต่อผู้ที่ยุยง “กิจกรรมสุดโต่ง” ในที่สาธารณะ หรือเรียกร้องให้มีการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย นอกจากนี้ กฎหมายจะบังคับยังใช้กับผู้ที่ “ทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง” ต่อกองทัพรัสเซีย ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาส่วนหนึ่ง ภายใต้กฎหมายที่บังคับใช้เพื่อการปราบปรามผู้เห็นต่างต่อรัฐรัสเซีย หลังจากที่รัสเซียส่งทหารเข้ารุกรานยูเครนในเดือน ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา   ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงตามกฎหมายดังกล่าว ยังอาจถูกถอดถอนตำแหน่งกิตติมศักดิ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยได้รับอีกด้วย   “ทุกคนที่พยายามทำลายรัสเซีย…

ศาลเยอรมนีสั่งปรับผู้แจ้งว่าบริษัทซอฟต์แวร์ว่าฝังรหัสผ่านฐานข้อมูลไว้ในโปรแกรมที่ส่งให้ลูกค้า

Loading

Hendrik H. นักวิจัยได้รับว่าจ้างจากบริษัทแห่งหนึ่งให้เข้าไปแก้ปัญหาซอฟต์แวร์เมื่อปี 2021 และพบโปรแกรม MSConnect.exe ของบริษัท Modern Solution นั้นมีรหัสผ่านฐานข้อมูล MariaDB ฝังอยู่ภายใน และเมื่อล็อกอินเข้าไปก็เห็นข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดของ Modern Solution

macOS ไม่ปลอดภัย แฮ็กเกอร์กำลังพัฒนามัลแวร์ Apple อาจตามไม่ทัน

Loading

โดยแฮ็กเกอร์กำลังพัฒนามัลแวร์ขโมยข้อมูลที่ใช้กับ macOS ซึ่งสามารถพัฒนาได้เร็วกว่าที่ Apple จะตามจับได้ มันจะส่งผลให้มัลแวร์หลายตัวเล็ดลอดระบบป้องกัน XProtect ของ macOS และขโมยข้อมูลสำคัญ รายงานนี้ยกตัวอย่างมัลที่สำคัญสองตัว ได้แก่ KeySteal และ Atomic Stealer