สายด่วน Hotline “I want to live” ทหารรัสเซียโทรศัพท์ขอสละสงคราม ปฏิบัติการทางจิตวิทยาของยูเครน
“ผมก็แค่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป” I want to live. ประโยคสั้น ๆ ของชื่อสายด่วนที่ยูเครนเปิดขึ้นมาเพื่อให้ทหารรัสเซียที่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ยกหูโทรหาขอสละหน้าทัพสงคราม และผลปรากฎว่ามีทหารรัสเซียโทรเข้ามาหลายสายขอยอมจำนน
“I want to live” คืออะไร ?
แปลเป็นไทยก็คือผมอยากมีชีวิตต่อไป นี่คือ Hotline หรือสายด่วนโทรศัพท์ที่จัดตั้งมาเพื่อทหารในกองทัพของรัสเซียผู้ซึ่งต้องการแปรพักตร์ สละสงคราม โดยสายด่วนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยทหารสืบราชการลับของยูเครน หรือ หน่วย GUR
รายการ world stories | หน่วย GUR
วิตาลีฟ มัตเวียนโก โฆษกของหน่วย GUR บอกกับ Financial Times ว่าการยอมจำนนของทหารรัสเซียนี้ถูกรู้จักกันในชื่อว่า “Operation Barynya” หรือปฏิบัติการบารินยา ซึ่งคำว่าบารินยาในภาษารัสเซียแปลว่าการเต้นรำแบบพื้นบ้านดั้งเดิม หรือเข้าใจง่าย ๆ ในอีกความหมายย่อ ๆ ก็คือ Homemade นั่นเอง
GUR ก่อตั้งสายด่วนนี้ขึ้นมาเมื่อเดือนกันยายนปี 2022 เพียงแค่ 3 วันก่อนคำประกาศระดมกำลังพลของประธานาธิบดีปูติน โดยพบว่ามีทหารประมาณ 190,000 นายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพยายามบุกไปยังทำเนียบเครมลินเพื่อจะก่อรัฐประหารต่อรัฐบาลของประธานาธิบดีปูตินด้วยภายใต้กลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์ ที่เคยเป็นข่าวใหญ่ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ในขณะที่ทางกองทัพรัสเซียเองก็ประกาศระดมทหารกองหนุนเพิ่มอีก 300,000 นาย และจากนั้นเองที่สายด่วนของ I want to live ก็ไม่เคยหยุดดังอีกเลย
สายด่วน I want to live เปิดตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง มี 10 คู่สาย ทำงานจากที่ลับในกรุงเคียฟของยูเครน ทีมงานประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่จิตวิทยาของกองทัพ จิตแพทย์ที่ซึ่งมัตเวียนโกได้รับการฝึกโดยเฉพาะเพื่อให้มาใช้สื่อสารกับทหารรัสเซีย เดือนธันวาคมปีที่แล้ว มีทหารรัสเซียมากกว่า 220 นาย ที่ติดต่อผ่านเข้ามายังสายด่วนนี้ และตอนนี้มากกว่า 1,000 เคสที่ยังคงค้างเติ่งอยู่ ชายชาวรัสเซียส่วนใหญ่ ไม่อยากไปออกรบทำสงคราม มัตเวียนโกยังบอกอีกด้วยว่าผู้ชายชาวรัสเซียหลายคนไม่อยากเป็นทหาร ไม่อยากไปรบ ไม่อยากทำสงคราม Financial Times เปิดเผยว่าได้ฟังบทสนทนาทางโทรศัพท์ที่ถูกบันทึกมาจากสายของทหารรัสเซียที่โทรเข้ามา โดยประโยคเริ่มต้นที่ทางโอเปอเรเตอร์พูดตอนรับสายคือ “สวัสดีครับ คุณโทรเข้ามายังสายด่วนของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของยูเครน คุณต้องการจะมีชีวิตอยู่ต่อไปใช่หรือไม่ครับ?” ส่วนปลายสายของทหารรัสเซียที่โทรเข้ามาจะพูดเป็นประโยคแนว ๆ เดียวกันว่า “ใช่ครับ มีคนให้เบอร์นี้กับผมมา คุณช่วยผมให้สละสงคราม ยอมจำนนได้มั้ย”
กระแสตอบรับ สายด่วนขอสละสงครามแทบไหม้
ไม่ถึงเดือนหลังสายด่วนนี้ถูกเปิดใช้งาน ก็ได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลามจริงๆ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทุกๆ สัปดาห์จะมีทหารรัสเซีย 3 นายเป็นอย่างน้อยที่โทรมาขอยอมจำนน และถูกรับตัวไปอยู่ในคุ้มครองของยูเครนในฐานะนักโทษจากสงคราม มาจนถึงตอนนี้ สายด่วยนี้รับสายมาแล้วมากกว่า 26,000 สายทั้งทางโทรศัพท์ และทางข้อความในระบบ chatbot ของเทเลแกรม ส่วนเว็บไซต์ที่ถูกตั้งขึ้นที่ชื่อว่า “hochuzhit.com” ก็มีคนเข้าเว็บมามากกว่า 48 ล้านครั้ง โดยพบว่า 46 ล้านครั้งมาจากรัสเซีย ซึ่งจริง ๆ แล้วเว็บไซต์นี้ถูกบล็อกไม่ให้ใช้ในรัสเซียเพียงไม่กี่วันหลังมีการเปิดการไลฟ์สดไป แต่กับบางผู้ให้บริการที่ซึ่งต้องซ่อนที่อยู่ของผู้ใช้งานอินเทอร์เนตยังคงให้เข้าใช้งานได้
รายการ world stories | ใบปลิว
ปฏิบัติการจิตวิทยา 2 ฝ่ายนิยมสร้างข่าว-ข้อมูลปั่นกระแส
หลายคนอาจคิดว่านี่คือการปั่นเป็นกระแสในแง่ลบทางทหารของยูเครน ซึ่งที่จริงแล้วใน Financial Times ก็ยังมีการบอกเล่าถึงสิ่งที่ทั้งยูเครนและรัสเซียทำ นั่นก็คือการว่าจ้างแคมเปญเพื่อการจัดทำข้อมูล มัตเวียนโกเรียกแคมเปญนี้ว่า “Psyops” ที่ย่อมาจากคำว่า “Psychological Operations” หรือปฏิบัติการทางจิตวิทยา โดยทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็พุ่งเป้าหมายไปยังฝ่ายตรงข้ามกัน กระทำการอย่างเช่น โปรยใบปลิวลงมา ส่งข้อความในหมู่กว้าง กระจายเสียงตามสายทางวิทยุ และโฆษณาทางโทรทัศน์ หรือแม้แต่ตะโกนผ่านสนามเพลาะ แต่ไม่ใช่ว่าทุกการกระทำเหล่านี้จะสำเร็จดั่งใจ แต่กลับปฏิบัติการสายด่วนสละสงคราม
ทำไมทหารรัสเซียถึงไม่อยากทำสงคราม?
ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ทหารยูเครนทั้งที่อยู่ในระดับผู้บัญชาการที่ออกมาให้ข้อมูลผ่าน Financial Times บอกกันว่าทหารรัสเซียตัวเล็กตัวน้อยเหล่านั้นไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอจากผู้บัญชาการกองทัพนั่นเอง รายงานหลายชิ้นที่มาจากบล็อกเกอร์ของกงอทัพรัสเซียในเทเลแกรม บอกเล่าถึงยุทธวิธีที่กองกำลังรัสเซียใช้คือคลื่นมนุษย์แห่งความเหี้ยมโหด ซึ่งนำไปสู่การทำลายขวัญและกำลังใจของทหาร ทหารรัสเซียที่จริงแล้วก็ไม่ต่างจากทหารของโซเวียต ในกองทัพของโซเวียต ราคาชีวิตของทหารเหล่านั้นคือเท่ากับ 0 และนี่คือสิ่งที่มัตเวียนโกกล่าวทิ้งท้าย
รายการ world stories | สายด่วน I want to live
———————————————————————————————————————————————————————————
ที่มา : PPTV Online / วันที่เผยแพร่ 26 ม.ค.2567
Link : https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/215689