ปะทะเดือด ตร.อินเดียใช้แก๊สน้ำตา สกัดผู้ประท้วงมุ่งหน้าสู่เมืองหลวง

Loading

กองกำลังความมั่นคงของอินเดียระดมยิงแก๊สน้ำตา รวมทั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง ใส่กลุ่มผู้ประท้วงเกษตรกรหลายหมื่นคน เพื่อสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มเกษตรกรเดินขบวนมุ่งหน้าสู่กรุงนิวเดลี หลังล้มเหลวในการเจรจากับรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ

สรุปเหตุกราดยิงในงานพาเหรดฉลองแชมป์ซูเปอร์โบวล์ที่แคนซัส ซิตี้

Loading

เกิดเหตุสะเทือนขวัญขึ้นอีกครั้งในสหรัฐอเมริกา หลังมีคนบุกกราดยิงประชาชนในช่วงท้ายขบวนพาเหรดฉลองชัยชนะซูเปอร์โบวล์ของทีมแคนซัส ซิตี้ ชีฟส์ ในเมืองแคนซัส ซิตี้ รัฐมิสซูรี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน และบาดเจ็บอีกหลายสิบคน

Google ยกระดับคุมเข้มการส่งอีเมลจำนวกมาก เริ่ม เมษายนนี้

Loading

มาตรการใหม่ของ Google น่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่ส่งอีเมลประชาสัมพันธ์ในปริมาณมากตั้งแต่ 5,000 ฉบับต่อวันขึ้นไป โดยจะมีการเพิ่มอัตราการปฏิเสธการส่งอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เมษายนนี้เป็นต้นไป

ระบบข้อมูลโรงพยาบาลในโรมาเนียถูก Ransomeware โจมตี ต้องปิดระบบกระทบ 100 โรงพยาบาล

Loading

ระบบข้อมูลโรงพยาบาล Hipocrate Information System (HIS) ในโรมาเนียถูกมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Backmydata โจมตี ส่งผลให้โรงพยาบาลจำนวนมากต้องปิดระบบจนกระทบการให้บริการ

ดักบึ้มทางเบี่ยงหวังสังหาร “ทหารหมวกแดง”

Loading

ลอบวางระเบิดทางเบี่ยงริมถนนสาย 42 อ.สายบุรี ปัตตานี หวังถล่มรถเจ้าหน้าที่ โชคดีรอดหวุดหวิด ด้านตำรวจหนองจิกเร่งล่ากระบะต้องสงสัย 2 คันขับแหกด่านตรวจเกาะหม้อแกง ส่วนที่นราธิวาส ทหารพรานพบเพิงพักชั่วคราวกลุ่มต้องสงสัยบนเขาบือเล็ง

‘ดีพเฟค’ เทคโนโลยีตัดต่อหน้า-เสียง โจทย์ใหญ่ศึกเลือกตั้งทั่วโลกปี 2024

Loading

พ่อค้าเร่ปั่นจักรยานผ่านป้ายแสดงภาพและรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ในกรุงจาการ์ตา เมื่อ 22 มกราคม 2024 (ที่มา:AP)   ภาพและเสียงสังเคราะห์จากเทคโนโลยีดีพเฟคกำลังสร้างความสับสนให้กับฐานเสียงในประเทศที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง จนนักวิเคราะห์จับตามองว่าปี 2024 ที่ประชาชนในกว่า 60 ประเทศจะต้องเข้าคูหา จะมีการใช้ AI สร้างข่าวลือข่าวลวงเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างแพร่หลาย   ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในอินโดนีเซียที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงต่างต้องเจอกับวิดีโอและเสียงของนักการเมืองหลายคน ซึ่งแท้ที่จริงถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เรียกกันว่า ดีพเฟค (Deepfakes) ยกตัวอย่างเช่นวิดีโอของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตที่เผยแพร่ในแอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok)   ซานตี อินดรา อัสตูตี จาก Mafindo ซึ่งเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงในอินโดนีเซีย ระบุว่า การใช้ AI สังเคราะห์เนื้อหาขึ้นมา เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี 2024 เทียบกับครั้งก่อน ๆ   อัสตูตีกล่าวว่า “ในการเลือกตั้งปี 2024 การโจมตีคู่แข่งในปีนั้นมักใช้ข่าวลวงกันเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2019 ข่าวลวงถูกใช้โจมตีผู้จัดการเลือกตั้ง ในขณะที่ปี 2024 เราเห็นการยกระดับที่พิลึกพิลั่นขึ้นไปอีกเพื่อโจมตีกระบวนการทางประชาธิปไตยทั้งองคาพยพ”…