ที่ปรึกษาประธาน กสทช. เผย กสทช.ผลักดันการ ฑูตไซเบอร์ มองภัยออนไลน์จากเอไอถือเป็นภัยที่เกิดขึ้นทุกระดับ ระบุรัฐ-เอกชนต้องทำงานร่วมกันระหว่าง ประเทศพันธมิตรในการ สร้างแนวป้องกันทางไซเบอร์แล้ว
นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำนพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการ กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช. เปิดเผยในเวทีสัมมนางาน Next Step Thailand 2024: Tech & Sustain ก้าวต่อไปของนวัตกรรมและความยั่งยืน ณ ห้องพญาไท 3-4 ชั้น 6 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ ว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีช่องว่างของ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งทางด้านเทคโนโลยี และบุคคลากร ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นภัยคุกคามระดับต้น ๆ ของประเทศที่สามารถ ทำลายเสถียรภาพของประเทศ ทางด้านความมั่นคง และ ทางด้านเศรษฐกิจ รวมถึงความน่าเชื่อถือของรัฐได้
นอกจากนี้ มองว่าประเทศไทย ยังไม่มีการแนวป้องกัน แบบบูรณาการและพัฒนาบุคคลากร ที่เข้าใจมิติของภัยไซเบอร์ ซึ่งมีทั้งหมด 4 มิติด้วยกัน ประกอบด้วย 1.การเมืองระหว่างประเทศ 2.ความมั่นคงของชาติ 3.การเมือง และ 4.สังคม
โดยรายงาน ของ WEF ปี 2024 ระบุถึงภัยไซเบอร์ 5 ใน 6 กรณีจะเกิดจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ หนึ่งในนั้นคือ การใช้ Generative AI สร้างเนื้อหาข้อมูลปลอมเพื่อโจมตีโครงสร้างทั้ง 4 มิติของประเทศ ภัยไซเบอร์จากเอไอจึงเป็นภัยที่เกิดได้ในทุกระดับเป้าหมายตั้งแต่บุคคลธรรมดาถึงระดับองค์กรรัฐ ทุกคนล้วนเป็นเหยื่อได้หมด
และผู้ก่อการไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อาจจะเป็นบุคคล กลุ่มคน หรือ องค์กรที่สนับสนุนโดยรัฐ ก็เป็นได้ โดยบางครั้งประเทศที่ไม่มีเกราะหรือภูมิคุ้มกัน เป็นแค่เหยื่อทางผ่าน หรือ สนามทดลองของคนเหล่านี้เพื่อ พิสูจน์ความสามารถตัวเองในการก่อการ ภัยที่เราเห็นบ่อยคือ การเข้าควบคุมระบบเพื่อเรียกค่าไถ่หรือแรนซัมแวร์ ภัยจากการโจรกรรม รวมถึงการทำให้ทุกอย่างล่มเพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวาย เช่นการปิดระบบไฟฟ้า การสื่อสาร ประปา หรือระบบสาธารณสุข
นอกจากความพยายามที่พัฒนา บุคคลากร การสร้างเกราะป้องกันทางเทคโนโลยี นายพชร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ได้ผลักดันการฑูตไซเบอร์ผ่านปฎิญญาบูคาเรสต์และการทำงานร่วมกันระหว่าง ประเทศพันธมิตรในการ สร้าง แนวป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันในการ ภูมิคุ้มกันให้กับประเทศ รัฐบาลจึงต้องมีนโยบาย และ การออกแบบเพื่อความปลอดภัยตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะการจะเป็นสังคมดิจิทัลเต็มรูปแบบ สิ่งเหล่านี้ต้องมีการบูรณาการตั้งแต่ออกแบบ และเข้าถึงพฤติกรรมผู้ใช้ด้วย
————————————————————————————————————————————-
ที่มา : Bangkokbiznews / วันที่เผยแพร่ 11 มี.ค.67
Link : https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1117136