Facebook ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์บ่อยครั้งเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านข้อมูล รวมถึงการดูกิจกรรมออนไลน์ของยูเซอร์ เพื่อปรับแต่งและส่งโฆษณาไปยังบัญชีนั้น แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีเอกสารที่น่าเชื่อถือเปิดเผยว่าแพลตฟอร์มโซเชียลที่โด่งดังที่สุดได้แอบสอดแนมแอปอื่น ๆ เช่น Snapchat, YouTube และ Amazon ด้วย มันจะเกินไปไหมเนี่ย?
ปฏิบัติการณ์สอดแนมนี่เริ่มต้นในปี 2559 และมีชื่อว่า “Project Ghostbusters” โดยได้รับแรงบันดาลใจจากโลโก้ Snapchat พวกเขาทำมันผ่าน VPN ชื่อ Onavo ซึ่ง Facebook ซื้อจากบริษัทอิสราเอลเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2013 ซึ่งโดยปกติแล้ว จุดประสงค์ของ VPN คือการเข้ารหัสข้อมูลและที่อยู่ IP อย่างไรก็ตาม Facebook ใช้ VPN เพื่อประโยชน์ของตน และด้วยมาตรการทางเทคโนโลยีที่เต็มไปด้วยการแข่งขันอันดุเดือด พวกเขาจึงได้ “ชุดคิท” ที่สามารถติดตั้งบน iOS และ Android ได้ และจะพยายามสกัดกั้นและถอดรหัสการรับส่งข้อมูลที่มีการป้องกัน SSL เพื่อรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้จากคู่แข่ง
SSL ย่อมาจาก Secure Sockets Layer ซึ่งใช้สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการขโมยข้อมูล
การกระทำนี้ไม่เพียงแต่เป็นการละเมิดกฎหมาย Wiretap Act ของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเต็มใจที่จะทำมากเพียงใดเพื่อก้าวนำหน้าคู่แข่ง
ภายใน Facebook พนักงานเช่น Jay Parikh และ Pedro Canahuati ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการตั้งแต่เริ่มต้น โดย Canahuati เขียนในอีเมลที่รวมอยู่ในสำนวนศาลว่า
“ฉันไม่สามารถคิดหาข้อโต้แย้งที่ดีได้ว่าทำไมเรื่องนี้ถึงโอเค ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคนใดสบายใจกับสิ่งนี้ ไม่ว่าเราจะได้รับความยินยอมจากสาธารณชนทั่วไปก็ตาม ประชาชนทั่วไปไม่รู้ว่าสิ่งนี้ทำงานอย่างไร”
ท้ายที่สุด Onavo ถูกปิดตัวลงในปี 2019 เนื่องจากการสอบสวนของ TechCrunch พบว่า Facebook จ่ายเงินให้วัยรุ่นใช้ VPN เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงกิจกรรมบนเว็บของพวกเขาได้ ณ ขณะนี้ มีการฟ้องร้อง Facebook ในปี 2020 โดย Sarah Grabert และ Maximilian Klein โดยให้เหตุผลว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่พวกเขา “ดึงมาอย่างหลอกลวง” และใช้พวกเขาเพื่อต่อสู้กับ Snapchat, YouTube และ Amazon อย่างไม่ยุติธรรม
———————————————————————————————————————————————————————————
ที่มา : มติชนออนไลน์ / วันที่เผยแพร่ 28 มี.ค. 2567
Link : https://www.matichon.co.th/economy/news_4498411